Maptaphut, congratulations!


ขอแสดงความยินดีกับบริษัทต่าง ๆ ในมาบตาพุด

สำนักข่าวแห่งชาติ 11 พ.ย. 2552, ภาคเอกชน ขานรับรัฐบาลแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ไขปัญหามาบตาพุด:

นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายขึ้นมาแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นมาเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าว เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถหาแนวทางในการดำเนินการต่อไปได้ ขณะที่ภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลที่จะออกมา ขอเพียงรัฐบาลร่วมกันหาแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนเท่านั้น ซึ่งจะทำให้การลงทุนในระยะยาวของประเทศมีทิศทางที่ชัดเจน

วิกิพีเดียภาษาไทย 11 พ.ย. 2552, อานันท์ ปันยารชุน:

นายอานันท์ หันมาทำงานด้านธุรกิจ ร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จนกระทั่งเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หนังสือพิมพ์ข่าวสด 11 พ.ย. 2552, ปปช.สั่งโรงไฟฟ้า คืนหาดบ้านกรูด:

ป.ป.ช.ชี้ให้บริษัทยูเนี่ยน เพาเวอร์ฯ อดีตเจ้าของโรงไฟฟ้าบ้านกรูด คืนที่ดินสาธารณะชายทะเลให้ชาวบ้าน ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ หลังรังวัดที่ดินมั่วฮุบที่ดินชายหาดไปกว่า 4 ไร่ หวังผุดโรงไฟฟ้าหินกรูด ผลการไต่สวนระบุ 4 จนท.ที่ดิน-เจ้าท่าผิดวินัยร้ายแรง มีมูลความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อีก 2 รายคือที่ดินจังหวัดประจวบฯ-นอภ.บางสะพาน ผิดวินัยไม่ร้ายแรง พร้อมสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินทันที

[…]

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ส่วนกรณีบริษัทยูเนี่ยน เพาเวอร์ฯ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ราชบุรี เพาเวอร์ จำกัด ครอบครองที่สาธารณประโยชน์หาดทรายชายทะเลมาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ประกอบมาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ เป็นความผิดฐานกระทำให้สิ่งอื่นใดล่วงล้ำบนหาดทรายชายทะเล ตามพ.ร.บ.การเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 นั้น ให้แจ้งตำรวจภูธร จ.ประจวบฯ และกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พิจารณาดำเนินการตามอำนาจต่อไปด้วย

หนังสือพิมพ์ข่าวสด 22 เม.ย. 2543, “อานันท์”ปิดไมค์ ช่วยโรงไฟฟ้า เบรค”บ้านกรูด”แฉในที่ประชุมยูเนี่ยน:

แกนนำต้านโรงไฟฟ้าหินกรูดบุกสหยูเนี่ยน บริษัทแม่ของโครงการโรงไฟฟ้า แฉกลางวงประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นบริษัทท่ามกลางสมาชิกหลายร้อยคน ถึงความไม่โปร่งใสของโรงไฟฟ้าสารพัดเรื่อง แต่ยังไม่ทันได้พูดรายละเอียดก็โดนเบรก จนเกิดความวุ่นวายไปทั้งห้องประชุม เมื่อสมาชิกแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย มีทั้งค้านและหนุนให้ แกนนำชาวบ้านกรูดเปิดโปงข้อมูล สุดท้ายก็ทำได้แค่ยื่นหนังสือให้ผู้บริหาร เพราะโดนสั่งปิดประชุมดื้อๆ

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ที่สำนักงานใหญ่ บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ยูพีดีซี) เจ้าของโครงการ “โรงไฟฟ้าหินกรูด” หมู่ 9 ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 7 ของบริษัท สหยูเนี่ยนฯ โดยมีคณะกรรมการบริหารนำประชุม รวมทั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานที่ปรึกษา และกรรมการบริหาร บริษัท สหยูเนี่ยนฯ ท่ามกลางสมาชิกผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของการประชุม เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามข้อสงสัยต่างๆ นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหินกรูด และนายจีรวุฒิ แจวสกุล นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกรูด แกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้าหินกรูด ซึ่งได้ซื้อหุ้นบริษัท ยูเนี่ยนฯ เพื่อมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมด้วย ได้ลุกขึ้นถามในที่ประชุมถึงความไม่ชอบมาพากลและผลกระทบด้านลบที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า โดยถามถึงการขออนุญาตซื้อที่ดินที่ใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งมีการล้อมรั้วที่สาธารณะ และถามถึงความมั่นใจในโครงการ แต่ยังไม่ทันที่จะมีการตอบคำถาม นายอานันท์พูดตัดบทขึ้นมาว่าการประชุมครั้งนี้เป็นเรื่องภายในของบริษัท ยูเนี่ยนฯ จะไม่ขอพูดถึงเรื่องนี้ในที่ประชุม นางจินตนากล่าวว่า บริษัทมีหุ้นส่วนอยู่ในโรงไฟฟ้าถึง 10% คิดเป็นเงินสูงถึง 4.5 พันล้านบาท จะมาบอกว่าไม่ใช่เรื่องภายในบริษัทไม่ได้

จากนั้นนางจินตนากล่าวกับผู้ถือหุ้นที่อยู่ในห้องประชุมว่า โครงการนี้มีปัญหาหลายอย่างและได้รับการต่อต้านอย่างมาก ขอให้ผู้ถือหุ้นใคร่ครวญให้ดีถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า อย่างไรก็ตามนายอานันท์พยายามจะพูดตัดบทไม่ให้นางจินตนาและนายจีรวุฒิพูดถึงข้อเสียของโรงไฟฟ้า นางจินตนาจึงนำจดหมายเปิดผนึกเรื่องขอให้บริษัท สหยูเนี่ยนฯ ถอนตัวจากโรงไฟฟ้า ยื่นให้นายอานันท์ในที่ประชุม แต่นายอานันท์ไม่ยอมรับ บอกว่าให้ไปยื่นกับนายกมล คูสุวรรณ กรรมการบริหาร บริษัท สหยูเนี่ยนฯ พร้อมกับแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกเรื่องขอให้บริษัทถอนตัวจากโรงไฟฟ้าแก่ผู้ถือหุ้นจำนวนกว่า 100 ชุด เนื้อหาระบุถึงผลเสียของโครงการอย่างละเอียด

ต่อมาผู้ถือหุ้นบางคนลุกขึ้นพูดในเชิงตำหนินางจินตนาที่พูดเรื่องนี้ออกมา แต่ก็มีผู้ถือหุ้นบางคนเห็นควรให้พูด ทำให้เกิดความชุลมุนกันขึ้นมา จังหวะนั้นนายอานันท์สั่งให้เลิกการประชุมทันที แล้วรีบเดินออกจากห้องประชุม พร้อมด้วยกรรมการบริหารคนอื่นๆ แต่ผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งยังถกเถียงกันไม่เลิกถึงเรื่องที่สมควรให้นายจีรวุฒิและนางจินตนาพูดในที่ประชุมหรือไม่ การถกเถียงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ถือหุ้นหลายคนต้องมาช่วยกันห้ามปราม เหตุการณ์จึงเริ่มสงบ หลังจากนั้นนางจินตนาและนายจีรวุฒินำจดหมายเปิดผนึกที่จะยื่นถึงนายอานันท์มอบให้นายกมล

ทางด้านนายกมล คูสุวรรณ กล่าวว่า กรรมการบริหารบริษัทมีนโยบายดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ถ้าเป็นธุรกิจที่สุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม บริษัทจะแสวงหามาทำ ดังเช่นโครงการโรงไฟฟ้า ไม่ว่าจะเกิดประโยชน์กับใครหรือไม่ แต่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นแน่นอน

มาบตาพุด…สิ่งชำรุดของการพัฒนา

technorati tags:
,
,



Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.