(Nearly) Free Speech hosting


เมืองไทยมีอะไรแบบนี้ไหม ? แล้วใครเคยใช้บ้าง จริงไหม ?

กด ๆ ดู invisiblog.net (ซึ่งเหมือนจะหยุดให้บริการไปแล้ว)
ก็ไปเจอบริการเว็บโฮสต์นี้เข้า
NearlyFreeSpeech.Net
น่าสนใจ

นี่นโยบายความเป็นส่วนตัวของเขา: Privacy Policy

ก็ประมาณว่า

  • ไม่ขายข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้ (คำว่า ข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้ แปลจาก personally identifiable information ซึ่งเป็นคนละอย่างกับ ข้อมูลส่วนบุคคล personal information — อย่าง IP address บางคนอาจจะว่ามันไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล แต่มันเป็นข้อมูลที่จะระบุตัวตนได้แน่ ๆ)
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้บริการ (เว้นว่ากฎหมายกำหนดไว้)
  • จะพยายามแจ้งเตือนผู้ใช้บริการทุกครั้ง ที่มีการบังคับให้เปิดเผยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้ (เว้นว่ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ)
  • จะให้ความร่วมมือในการสืบสวนกับหน่วยงานรัฐของสหรัฐอเมริกา เมื่อตามกฎหมายจำเป็นต้องทำ
  • การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับกฎหมายจากประเทศอื่น และการร่วมมือในกรณีที่ตามกฎหมายแล้วมันไม่จำเป็น
    จะอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ให้บริการ – โดยจะพิจารณาสนับสนุน เสรีภาพและความยุติธรรม และไม่สนับสนุน การกดขี่และความรุนแรง
  • ผู้ให้บริการจะแจ้งผู้ใช้บริการถึงการร่วมมือใด ๆ ที่ผู้ให้บริการมอบให้กับหน่วยงานบังคับกฎหมายใด ๆ (เว้นว่ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ)

นอกจากนี้ เขายังแจ้งเรื่องการใช้คุกกี้ (ไฟล์เล็ก ๆ ที่เครื่องของเรา เว็บไซต์ต่าง ๆ เอาไว้จำข้อมูลของเรา) ไว้อย่างชัดเจนด้วยว่า:
ผู้ให้บริการใช้ session cookies บนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
คุกกี้เหล่านี้ไม่ควรจะถูกบันทึกอย่างถาวรบนเครื่องของผู้ใช้บริการ
ผู้ให้บริการใช้คุกกี้เหล่านั้นเพื่อประโยชน์เหล่านี้ เท่านั้น:

  1. จัดการเรื่องล็อกอินในส่วนสมาชิก (ต้องใช้)
  2. ให้คุณปรับแต่งการใช้งานกระดานสนทนาได้ (ไม่ต้องใช้ก็ได้)
  3. ใช้เพื่อใช้กับ phpMyAdmin (ต้องใช้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้บริการใช้ phpMyAdmin)

บางทีเราในฐานะผู้ให้บริการเว็บไซต์ อยากจะคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการของเรา ก็น่าจะต้องระวังเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวของเว็บโฮสต์ที่เราใช้บริการด้วย ไม่งั้นก็อาจจะเป็นไปได้ว่า แม้เราจะไม่ละเมิด แต่เว็บโฮสต์อาจจะมาละเมิดผู้ใช้บริการของเราได้ …แบบนี้เป็นไปได้ไหม ?

—-

อยากขออธิบายย้ำตรงนี้หน่อยว่า
แม้จะมีข้อถกเถียงว่า ที่อยู่ไอพี (IP address) เป็น หรือ ไม่เป็น “ข้อมูลส่วนตัว” (personal information)
แต่ที่อยู่ไอพีนี้ (เมื่อประกอบกับข้อมูลอื่น ๆ) เป็น “ข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้” (personally identifiable information) แน่ ๆ

และเมื่อที่อยู่ไอพีสามารถนำไปใช้ระบุตัวบุคคลได้แล้ว มันจึงเกี่ยวข้องกับเรื่อง ความเป็นส่วนตัว (privacy) อย่างแน่นอน

ไม่ใช่ว่า ถ้าไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัวแล้ว ก็ไม่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว

คลิปเสียงนี้ เป็นความเห็นจากวิทยุ OUT-LAW.COM ที่พูดคุยกับกลุ่มเฝ้าระวังเรื่องความเป็นส่วนตัวของอียู เกี่ยวกับเรื่อง IP address และ privacy : Can your internet address be protected under privacy law? (แถมในคลิป มีเรื่องเว็บไซต์เครือข่ายสังคม social network ทั้งหลาย ที่ไม่สนใจผู้ใช้ที่พิการเอาซะเลย) (ลิงก์จากคุณหมวย)

technorati tags:
,


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.