5 อาจารย์นิติ มธ. แถลงคัดค้านยุบพรรค
“ กล่าวเฉพาะการตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกับการยุบพรรคการเมืองที่กล่าวมาข้างต้น หากตีความตามถ้อยคำหรือตีความตามความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน ก็เท่ากับว่าการกระทำความผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนมากได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ถึงแม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้มีส่วนผิดในการกระทำนั้น เท่ากับตีความกฎหมายเอาผิดบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำความผิดซึ่งขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง การตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป และเท่ากับทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในประเทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือนกับกฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อันเป็นการฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยะประเทศด้วย หาใช่ความน่าภูมิใจดังที่มีบางท่านกล่าวอ้างไม่ ”
ทรรศนะประชาชนต่อข่าวการยุบพรรค (สวนดุสิตโพลล์)
45.45% มองว่าผลเสียมากกว่าดี
27.44% มองว่าผลดีมากกว่าเสีย
27.11% มองว่าผลดีและผลเสียพอ ๆ กัน
technorati tags:
laws,
politics,
political party
3 responses to “Dissolution will harms Thai legal system … but who cares?”
ผมอ่านใน นสพ. มีคำพูดของ อ. ปริญญาว่า กฏหมายข้อนี้มีปัญหาตั้งแต่ตอนร่างแล้วว่าคนเดียวทำผิดจะส่งผลถึงทั้งก๊กเลยหรือ แต่มันก็ยังอุตส่าห์ผ่านออกมาได้นะ แถมพอจะแก้ก็กลายเป็นแก้เพื่อตัวเองอีก
มีความเห็นว่า ก็รู้อยู่แล้วว่า "ห้ามทำผิด" (มีกฎออกมา) แต่ก็ยังหาช่องจะทำพอโดน "แท่ง" ชนกบาลเข้าไปก็ร้องโวยวาย (ไม่พูดนะว่า "แท่ง" อันนี้ถูกเลื่อนขึ้นเลื่อนลงหรือไม่) บอกว่ากฎไม่เป็นธรรม ไม่เอาๆผมไม่เข้าใจว่าคนพวกนี้เขาคิดอย่างไรกับบ้านเมือง แล้วคนอื่นๆ เขาึคิดอย่างไรกับพฤติกรรมแบบนี้? ถ้าชอบที่จะผิดแล้วจับไม่ได้ไม่เป็นไร ทีหลังจะได้หาช่องทำผิดกฎหมายกันเยอะๆ แล้วก็มาโวยวายว่ากฎไม่เป็นธรรม ต้องแก้กฎปล. ไม่ขอแสดงความคิดเห็นเรื่องว่าปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งเข่งนะ เพราะมันอาจจะมีข้อถกเถียงกับทับซ้อนของผลประโยชน์ (และก็การหลบเลี่ยงแบบศรีธนญชัย) ผมแค่สนใจผลของการเดินเข้าไปชน "แท่ง" เท่านั้น
ก๊อปมาให้อ่านเล่นๆ จาก ไทยโพสต์มีบ้างหรือไม่ที่นายสมัคร และแกนนำพรรคประชาชน จะยอมรับหรือเชื่อว่าลูกพรรคตัวเองมีความผิด ที่ไปทำอีท่าไหนถึงถูก กกต.ให้ใบแดง-ใบเหลือง ตัวอย่างกรณีนายยงยุทธ ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค ถูก กกต.ให้ใบแดง และก็อาจจะนำไปสู่การยุบพรรคนั้น ตรงนี้ทุกพรรคการเมืองก็รู้อยู่ไม่ใช่หรือว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่เขาเข้มงวดขนาดไหน แล้วพรรคพลังประชาชนปล่อยให้มีการประพฤติตัวที่เสี่ยงกับการยุบพรรคทำไม แต่ถึงวันนี้คนของพรรคพลังประชาชนก็ยังยืนยันว่านายยงยุทธ์บริสุทธิ์ผุดผ่อง แล้ว โยนความผิดไปที่รัฐธรรมนูญทั้งหมด…ประชาชนไปใช้สิทธิเสรีภาพในการไปลงประชามติรับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นตรรกะเดียวกับ "การรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันขาดเสียมิได้" แต่อาจารย์กลุ่มดังกล่าวกลับบอกว่าเป็นการ "บีบบังคับโดยเทคนิคทางกฎหมาย" แต่หากเมื่อมีการยุบพรรคการเมือง อาจารย์กลุ่มนี้กลับระบุว่า "การยุบพรรคการเมือง นอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้วยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการวมตัว" เลยสงสัยว่าตามความหมายของอาจารย์กลุ่มนี้ สิทธิเสรีภาพประเภทไหนถึงจะเป็นรากฐานในการพัฒนาประชาธิปไตยกันแน่มีเปลวสีเงินอีกผมไม่ใช่ผู้ชำนาญกฎหมาย แต่ต้องรับโทษทัณฑ์จากกฎหมายในฐานะ "กรรมการบริหารบริษัท" อันเป็นนิติบุคคลมาจนพอรู้แล้วละครับว่า พรรคการเมืองก็เป็น "นิติบุคคล" คือเหมือน "บริษัท-จำกัด" บริษัทหนึ่งกก.บห.ไปทำนิติกรรมอะไรในนามบริษัทไว้ มีเรื่องขึ้นมา ทั้งบริษัท ทั้ง กก.บห.นั่นแหละ จะเกี่ยงว่า "ข้าไม่รู้-ข้าไม่ได้ทำ" ไม่ได้ ขั้นต้น ต้องรับผิดชอบเป็นโจทก์ เป็นจำเลยตาม "ขั้นตอนกฎหมาย" ก่อน ซึ่งทั้งโลกเขาก็เป็นอย่างนี้แหละครับ ไม่ได้มีเฉพาะเมืองไทยอย่างที่เฉไฉพูดกัน! ส่วนบริษัท กรรมการบริหารบริษัท จะแพ้-ชนะ, ผิด-ไม่ผิด จากเรื่องราวนั้นๆ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบแห่งการรู้เห็น แห่งเจตนา แห่งการกระทำ และแห่งพฤติกรรม ที่ศาลท่านจะไต่สวนทวนความ แล้วตัดสินไปตามข้อเท็จจริงนั้นๆ อย่างบริษัทไทยโพสต์นี่ ทุกตัวอักษร "บรรณาธิการ" เป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย แต่ถูกฟ้องทีไร นอกจากฟ้องบริษัท ฟ้องบรรณาธิการแล้ว"กรรมการบริหาร" ซึ่งไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่มีอำนาจไปยุ่งเกี่ยว แต่ต้องเป็นเรือพ่วง เข้าคอกจำเลยเป็นพวงด้วยทุกทีไป! ผมซะอีก ทั้งที่ข่าวนั้นๆ คอลัมน์นั้นๆ ทั้งไม่ใช่คนเขียน และทั้งไม่มีส่วนรู้เห็นในการนำมาลง แต่ในฐานะกรรมการบริหารบริษัท ก็ต้องคอตก-ตกเป็นจำเลย "ขึ้นศาล" ด้วยทุกคดีไปเหมือนกัน!