CiteULike serious-crash course


ในชั้นเรียนเมื่อวันพุธแรกของวิชา อาจารย์แนะนำให้ใช้ EndNote สำหรับเก็บเอกสารอ้างอิง และช่วยเขียนอ้างอิง citation ทำบรรณานุกรม

ผมเองซึ่งใช้ EndNote (ของบริษัท Thompson Reuters) ไม่ได้ เพราะมันรันได้เฉพาะบน Windows และ Mac OS X ไม่มีลีนุกซ์ ก็เลยเสนอไปว่า มันมีทางเลือกอย่าง CiteULike (www.citeulike.org) อยู่นะ ซึ่งก็มีความสามารถพวกนั้นเหมือนกัน อาจจะสะดวกไม่เท่าในแง่การผนวกกับ Microsoft Word แต่ก็โอเคนะ

(มานั่งนึก ๆ ทีหลัง บางทีทางเลือกนี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่า EndNote … ถ้าพูดในแง่ราคา ตราบใดที่ยังเป็นนักศึกษาหรือทำงานในมหาวิทยาลัย เขาก็มีสัญญาอนุญาตของมหาวิทยาลัยให้ใช้อยู่แล้ว … ถ้าพูดในแง่ความสะดวกที่อยู่บนเว็บ เดี๋ยวนี้มันก็มี EndNoteWeb ให้ใช้ … แต่ถ้าคิดถึงเรื่องว่า สักวันหนึ่งเราก็คงไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยต่อไป แล้วอยากจะใช้ข้อมูลเก่า ๆ ที่เราเก็บไว้ล่ะ คิดว่าคุ้มไหมที่จะซื้อ EndNote ในตอนนั้น หรือว่าใช้ CiteULike ไปเสียตั้งแต่ตอนนี้เลย ?)

เว็บ CiteULike นี้ หลายคนก็คงรู้จักกันอยู่แล้ว แต่ในชั้นเรียนประมาณ 15 คนนั้น รวมอาจารย์เป็น 16 มีผมรู้จักอยู่คนเดียว — ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับผมเรียนคอมพิวเตอร์มาคนเดียวรึเปล่า ที่เหลือเขาเรียนสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์กันหมดเลย

วิธีใช้อย่างละเอียด รวมถึงวิธีใช้งานกับ EndNote โดยห้องสมุดของโคโลราโด เดนเวอร์ (ภาษาอังกฤษ)

จะใช้ CiteULike ต้องสมัครสมาชิกก่อนถึงจะใช้ได้ สมัครฟรี ใช้ฟรี

แต่ละคนก็จะมีหน้าของตัวเอง มีประมาณว่าห้องสมุดของตัวเอง นี่ตัวอย่างหน้าของผม
http://www.citeulike.org/user/arthit/

จะเห็นมีรายการเปเปอร์อยู่ยาว ๆ นั่นคือที่ผมใส่เข้าไปเอง
พร้อมกับรายละเอียดสั้น ๆ เช่น ชื่อคนเขียน เราอ่านไปรึยัง
มีคนอื่นอ่านอยู่มั๊ย-กี่คน ฯลฯ

เราใส่ป้ายเพื่อแบ่งหมวดหมู่ได้ด้วย เช่น anthropology ethnography thai อะไรก็ว่าไป

แต่ละอันกดเข้าไปดูได้ เช่น อันนี้

ที่สะดวกคือ สำหรับคนที่จะเขียนเอกสารวิชาการ
เราสามารถเลือกรูปแบบการอ้างอิงได้ด้วย ว่าจะเอาแบบไหน
ตรงใต้ชื่อบทความ ลองกดเปลี่ยนจาก Plain เป็นอย่างอื่นดู
เช่น APA, Elsevier, Harvard, Oxford ฯลฯ

ถ้าใครใช้โปรแกรมอย่าง EndNote หรือ LaTeX
สามารถสร้าง RIS record หรือ BibTeX record เพื่อเอาไปใช้ในโปรแกรมพวกนั้นได้ด้วย

แล้วถ้าเรามีแฟ้ม pdf เราสามารถอัพโหลดไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วย
ก็จะช่วยจัดการเรื่องเก็บเปเปอร์ให้เราได้ (มันเปลี่ยนชื่อแฟ้มให้ด้วย เป็นรูปแบบ ชื่อคน ปี ให้ดูง่าย ๆ)
ไปใช้เครื่องไหนที่ไหนก็ยังมีเปเปอร์ที่เราเคยเก็บไว้อยู่
(ตัวแฟ้ม pdf ส่วนตัวนี่แชร์ไม่ได้ เว้นว่าเรามีสิทธิเผยแพร่)

ส่วนเวลาเพิ่มเปเปอร์นี่ไม่ยาก แค่กด ๆ ไม่กี่ที ลองไปที่ post
จะมีอธิบายอยู่ (ต้องล็อกอินก่อน)

นอกจากก็เก็บไว้ดูเองคนเดียวแล้ว
ก็ยังสามารถสร้างกลุ่มได้ด้วย เอาลิงก์มาแบ่ง ๆ กันได้
เช่นในห้องสมุดของกลุ่มนี้
จะเห็นว่ามีหลาย ๆ คนเอาลิงก์มาใส่

เช่นผมลองสร้างกลุ่มของรุ่นไว้ เอาไว้เก็บเปเปอร์ที่พวกเราต้องอ่านกัน
หรือว่าที่มันเกี่ยว ๆ

สำหรับคนที่จะตามงานในวารสารต่าง ๆ สามารถค้นหาได้ที่หน้า Journals: Current Issues

ค้นหาได้ด้วย เช่นค้นคำว่า “cultural studies” ก็จะเป็นรายการวารสารต่าง ๆ ที่มีคำว่า cultural และ studies

แต่ละอันเลือกกดเข้าไปดูได้ ว่าล่าสุดมีบทความอะไรตีพิมพ์แล้วบ้าง
เช่นลองกด “Cultural Studies”
ก็จะเป็นรายการบทความในวารสาร Cultural Studies

ถ้าดู ๆ แล้ว มีอะไรน่าสนใจ สามารถเพิ่มบทความที่ต้องการ ลงในห้องสมุดของเราเองได้ โดยการกดที่ลิงก์ [copy]

(ปรับปรุงจากอีเมลที่ส่งหาเพื่อน ๆ และอาจารย์ ในชั้นเรียน)

technorati tags:
,
,


7 responses to “CiteULike serious-crash course”

  1. ช่วงนี้เริ่มต้อง reference management อีกเหมือนกัน นอกจาก citeulike กำลังลอง connotea อยู่ด้วย แล้วอีกซักพักคงจะเลือกว่าอันไหนดี (จริงๆ อาจตัดสินใจได้จากที่ citeulike ใ้ห้ upload private pdf ได้นี่แหละ)Zetero (ชื่อเหมือนออกมาจาก Hunter X Hunter) เดี๋ยวจะลองดูWikipedia มีตารางเปรียบเทียบ เคยเห็นยัง?

  2. Jabref (กรณีไม่ online) ดีที่สุดแล้ว ใช้มาสี่ปีแล้ว ใช้ข้ามเครื่องก็เอาตัว bibtex ใส่ usb stick ไป เล็กนิดเดียวอยู่แล้ว อีกหน่อยคงจะครองตลาดเหมือน beamerจัดหมวดหมู่ เลือกกลุ่มเฉพาะ paper ก็ง่าย แถว export เป็นเว็บได้อีก แต่รู้สึกว่า Endnote จะมีความเกี่ยวข้องกับค่าตัวเลขแสดงความเจ๋งมากกว่า คนเลยให้ความสำคัญมากกว่า 2collab จะเป็นอีกตัวที่อนาคตสดใสนะhttp://www.fauskes.net/nb/bibtools/เป็น review ในแง่ผู้ใช้

  3. โห สุดยอด ขอบคุณทุกคนมากครับเดี๋ยวจะลองที่แนะนำกันมาZotero นี่น่าสนใจดี ชอบที่ตัดเว็บคลิปได้

  4. สำหรับผม Zotero นั้นไม่ค่อยเหมาะกับ LaTeX และค่อนข้างน่ารำคาญนะ เคยใช้ครึ่งวัน

Leave a Reply to ChrisCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.