จากรีวิวที่ I am what I am
แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม
“การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่”
อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ)
รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ.)
หนังสือที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม หลังสมัยใหม่ เมืองเอเชีย และสิงคโปร์ โดย วิลเลียม ลิม
- Architecture Art Identity in Singapore; Is There Life After Tabula Rasa (2004)
- Alternative (Post) Modernity (2003)
- (บรรณาธิการ) Postmodern Singapore (2002)
- Alternatives in Transition: The Postmodern, Glocality and Social Justice (2001)
- Asian New Urbanism; And Other Essays (1998)
- (กับ Tan Hock Beng) Contemporary Vernacular: Evoking Traditions in Asian Architecture (1998)
- Cities for People: Reflections of a Southeastasian Architect (1990)
[ผ่าน I am what I am]
ต่อเนื่อง: Pet Architecture
technorati tags:
architecture,
Asia,
postmodern
One response to “Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective”
ได้มาแล้วไปซื้อที่คณะถาปัดมธ.เองเลย(ชั้น 7 ตึกวิศวะ ห้องการเงิน)เล่มละ 200