Tag: postmodern

  • เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ

    วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…

  • Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective

    จากรีวิวที่ I am what I am แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม “การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่” อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ) รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ…

Exit mobile version