อีเม


ราศีเมษ (อ่าน รา-สี-เมด) — ไม่สะกด ราศีเมษ์ (เพราะไม่อ่านว่า รา-สี-เม)

อีเมล (อ่าน อี-เมล) — ไม่สะกด อีเมล์ (เพราะไม่อ่านว่า อี-เม)

Google ท่านพบ:

  • ราศีเมษ 4,330 หน้า;
    ราศีเมษ์ 0 หน้า
  • อีเมล 57,100 หน้า;
    อีเมล์ 931,000 หน้า (มากกว่า 16 เท่า)

ตัวสะกดชื่อราศีนี่ไม่มีผิดเลย, แต่พอเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนี่ … น่าตกใจแฮะ

ที่เค้าว่าคนไทยส่วนใหญ่เชื่อเรื่องโชคลางคงจะจริง 😛

ตัวอย่างที่ยกมานี่ ยกมาขำ ๆ .. ประชด – จริง ๆ คำที่สะกดถูกมันก็มีเยอะแยะแหละ ผมแค่ยกอะไรขึ้นมา ‘จับผิด’ + ให้มันจำง่าย ๆ น่ะ


อ่านเต็ม ๆ ที่ bact.gotoknow.org: อีเม

(เค้าไม่ยอมแก้คำว่า อีเมล์ ซะทีน่ะ เลยขอกระทุ้งหน่อย เหอะ ๆ .. ไม่น่าเล้ย เสียไปหนึ่งชั่วโมงกว่า ๆ -_-“)


24 responses to “อีเม”

  1. ผมอ่านบทความของ bact' แล้วเข้าใจอย่างนี้น่ะ ถ้าเข้าใจผิดเดี๋ยววันหลังจะมาลบอ่านออกเสียงผิดกันเอง ดันไปบอกว่าเค้าเขียนผิดดูคำว่า แบล็กเมล์ ก็ได้ คนไทนค่อนประเทศอ่านผิดเป็นแบล็กเมล ทั้งที่ต้องอ่านแบล็ก-เมhttp://rirs3.royin.go.th/riThdict/ลองค้นคำว่า เมล์ ดูน่ะ

  2. คำว่า รถเมล์ เรือเมล์ ก็มาจาก mail เหมือนกันน่ะครับ(เข้าใจว่ามาจาก ถุงเมล์ อีกที เป็นเรือ/รถประจำทาง – ซึ่งพาหนะพวกนี้จะใช้ขนถุงเมล์ติดไปด้วย)เราออกเสียงว่า รด-เม เรือ-เมแล้วเราก็เขียนตามที่เราอ่าน (โดยใช้การันต์ช่วยด้วย เพื่อให้ยังเก็บ ล ไว้ได้)จุดประสงค์ที่ผมเขียนไม่ได้จะให้สะกด เมล์ หรือ เมล อย่างเดียวทั้งหมดแต่จุดประสงค์คือ จะบอกว่า ออกเสียงแบบไหน ก็ให้สะกดแบบนั้นอย่าออกเสียงอย่างนึง สะกดอย่างนึงจะสะกด อีเมล์ ก็ได้ ถ้าออกเสียงกันว่า อี-เมอันนี้เป็นความคิดเห็น: ผมคิดว่า การออกเสียงคำว่า e-mail โดยผู้พูดภาษาไทย มีมาก่อนการสะกดคำนี้เป็นอักษรภาษาไทยคือเดี๋ยวนี้คำต่างภาษาใหม่ ๆ มันเข้ามาถึงผู้พูดภาษาไทยในวงกว้างได้โดยตรงเลย ทางนสพ. หนังสือ ทีวี หนัง เพลง อินเทอร์เน็ตไม่ต้องรอผ่านเจ้า ผ่านช่าง ผ่านพ่อค้า อะไรต่าง ๆ ซึ่งก็ทำให้ระยะเวลา ที่การออกเสียงจะถูกกร่อน ให้เหลือเสียงแบบไทย ๆ แบบสมัยก่อนเนี่ย มันน้อยลงไป + คนไทยเดี๋ยวนี้ก็รู้ภาษาต่างชาติเยอะ/ออกเสียงกันได้เยอะให้คนสมัยก่อนออกเสียง รถเมล์ ว่า รด-เมล อาจจะน้อยคนที่รู้สึกคุ้น(เราคงไม่มี "แม่กล" มั้ง มีแต่ "แม่กน")แต่เดี๋ยวนี้เราก็ชินกับคำต่างภาษาไปแล้ว (ยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ ชื่อดารานักร้อง สารพัด)เราก็เลยออกเสียงคำอย่าง e-mail ว่า อี-เมล ได้(ส่วนคำเก่า ๆ ที่เคยใช้กันมา ก็คงไม่มีใครไปเปลี่ยนการออกเสียงมัน มันกลายเป็น"คำไทย"ไปเรียบร้อยแล้ว)ทีนี้ ในขณะที่เราชินกับการออกเสียงภาษาต่างชาติระดับนึง เราออกเสียง อี-เมล ได้อย่างไม่ขัดเขินแต่ปรากฏว่า เราก็ยังชินกับการสะกดแบบเก่า ๆ อยู่เหมือนกัน (แบล็กเมล์ รถเมล์ เรือเมล์)พอความเคยชินสองอย่างรวมกันเราก็เลยออกเสียง อี-เมล แต่ สะกด อีเมล์ (และอ่านว่า อี-เมล) ซะงั้นน่ะโดยไม่รู้สึกแปลก ๆ ด้วย (ก็มันชิน) —-ป.ล.- แบล็กเมล์ ผมออกเสียง แบล็ก-เม นะครับ … อืม เท่าที่เคยได้ยิน ก็ไม่มีใครออกเสียงอย่างอื่นนา- เออ จะว่าไป ผมอ่าน ถุงเมล์ ว่า ถุง-เมล แฮะ แย่แ้ล้ว (ต้องอ่านว่า ถุง-เม สิ)ป.ล. 2ไม่ต้องลบหรอกครับ ทิ้งไว้งั้นแหละ1) เป็นตัวอย่างให้คนอื่นดูด้วย2) เดี๋ยวคนอื่นหาว่าผมบ้า คุยกับใครไม่รู้ (ไม่มีอะไรให้อ้างอิงว่าคุยเรื่องอะไรอยู่)

  3. เอ้อ บางคนก็ออกเสียงว่า อี-เมว นะ(สัดส่วนเทียบกับ อี-เมล นี่เท่าไหร่ไม่รู้ แต่เยอะกว่า อี-เม แน่ ๆ ล่ะ)ถ้าจะออกเสียงอย่างนั้นก็ไม่รู้จะทำไงเหมือนกันเพราะตามรูปศัพท์แล้ว มันถอดรูปสะกดออกมาได้แค่ไม่ อีเมล ก็ อีเมล์ น่ะครับ—-สรุป:- คำเก่า ๆ ที่การสะกดเป็นที่ชัดเจนมานานแล้ว ก็ต้องอ่านออกเสียงตามการสะกดนั้น- คำใหม่ ๆ ที่การสะกดยังไม่ชัดเจน ก็น่าจะกำหนดให้ตรงกับที่ ออกเสียง (เพื่อที่ว่า เวลามาอ่าน, ตามหลักการอ่านที่ถูกต้อง ,จะได้ออกเสียงได้เหมือนกัน)

  4. ลองเปิด Dictionary ดูแล้วblackmail ออกเสียงว่า แบล็กเมล นะครับต้องออกเสียงตัวสะกด "ล" ด้วยแต่บางคนไม่ยอมออกเสียงตัวสะกด "ล" กันเองe-mail ก็ต้องออกเสียงว่า อีเมล ครับคือคนบางคน อ่านออกเสียงถูก แต่เขียนผิดเป็นนิสัย ด้วยความไม่รู้หรือเคยชินหรืออะไรก็ตาม ก็ไม่ได้แก้แต่บางคนก็ ทั้งเขียนผิด และออกเสียงผิด ก็เลยผิดมันอยู่อย่างนั้นอย่างเช่น แบล็กเมล นี่เป็นต้นคือภาษาไทยบางคำ ประเทศเราเอามาออกเสียงไม่เหมือนประเทศที่เป็นเจ้าของคำศัพท์อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะออกเสียงแบบไหนน่ะแหละครับ

  5. อ้าว พจนานุกรมตีกันทำไงดี ของกาเมะฮิโระเปิดฉบับไหนอ่ะ ?เค้าสะกดว่า แบล็กเมล ด้วยเหรออ้าว นี่เราก็สะกดผิดเหมือนกันดิเนี่ย – เขิน

  6. เปิดทั่ว ๆ ไปหลายอันอ่ะแล้วก็ลอง search pronunciation ของคำว่า blackmail ดูแต่โดยส่วนตัวก็ชอบออกเสียงตามที่เจ้าของภาษาออกเสียงไม่ว่าพจนานุกรมไทยเล่มไหนจะบอกว่ายังไง

  7. กาเมะ:จะเอาแบบ คนที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ และไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ออกเสียงช่วงของการของเสียงได้ ของผู้พูดแต่ละภาษามีไม่เท่ากัน(เช่น ผู้พูดภาษาไทยรับรู้เรื่องวรรณยุกต์ได้ ในขณะที่ผู้พูดภาษาอื่นอาจจะทำไม่ได้ หรือ ผู้พูดภาษาจีนมีความสามารถในการออกเสียงคำควบกล้ำ "แปลก ๆ" ได้สารพัด อย่างที่พวกเราผู้พูดภาษาไทยได้แต่ทำหน้าเหวอ ๆ)

  8. และ การสะกดคำ ก็สะท้อนข้อจำกัดในการออกเสียงนั้นออกมาด้วยเช่น กรณีถอดภาษไทย ไปเป็นรูปอักษรโรมัน (romanization / transliteration โดยใช้อักษรโรมัน)แม่น้ำแคว กับ แม่น้ำควาย มันก็ออกมา river kwai เหมือนกัน

  9. จริงๆ แล้ว เมล น่ะไม่มีตำราภาษาไทยที่ไหนอ่าน เม-ลว หรอกน่ะ มาตราแม่ กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกดได้ เช่น โกรก เลข อัคนี เมฆมาตราแม่ กง ใช้ ง สะกด เช่น หมาง ยุงมาตราแม่ กด ใช้ จ ฎ ฏ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ ซ ส ศ ษ สะกดได้แก่ อัจฉรา บงกซ กฎ ปรากฏมาตราแม่ กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกดได้แก่ กัน กัญญา ญาณมาตราแม่ กบ ใช้ บ ป พ ฟ ภ สะกดได้แก่ อบ บาปมาตราแม่ กม ใช้ ม สะกด เช่น กรรมมาตราแม่ เกย ใช้ ย สะกด เช่น ขวย รวยมาตราแม่ เกอว ใช้ ว สะกด เช่น วาวที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ล อยู่ในแม่ กน ดังนั้น ถ้าเขียน อีเมลตามหลักภาษาไทยก็ต้องอ่าน อีเมน ไม่ใช่ อีเมว ทีนี้ถ้าเราไปย้าย ล ให้ไปอยู่ในแม่เกอว เราก็ต้องอ่านคำว่ากล เป็น เกอว ไม่ใช่ กน เค้าถึงต้องมีการัตน์น่ะ

  10. ก็อย่างที่บอกไว้ในความเห็นที่สองน่ะครับผมคิดว่า ช่วงเสียงที่คนไทยออกเสียงได้ มันกว้างขึ้นกว่าแต่ก่อนและมาตราแม่ทั้งหลายนั้น ก็ถูกกำหนดมานานแล้ว (ไม่รู้เหมือนกันว่านานแค่ไหน)ผมเห็นว่า "กฏ" ควรจะ อธิบาย ปรากฏการณ์ในภาษาไม่ใช่ จำกัด ความเป็นไปได้ของภาษา(prescriptive grammar vs descriptive grammar ถ้าพี่เชื่อว่า เราควรออกเสียงตามมาตราที่มีอยู่ อันนั้นคือพี่เชื่อในแนวคิดของค่ายแรก ส่วนตัวผมน่ะเชื่อค่ายหลัง)

  11. อือ เราอ่าน Mel Gibson ว่าอะไรล่ะครับ(ตัวสะกดภาษาไทยที่เป็นที่นิยมคือ "เมล กิ๊บสัน" – กูเกิลเจอ "เมล์ กิ๊บสัน" 3 หน้า, ไม่เจอ "เมน กิ๊บสัน" เลย )ชื่อดารายังทำได้

  12. หลัก ๆ คือผมออกเสียงตามเจ้าของศัพท์ครับประเทศไหนออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ ก็ช่างประเทศไหนพูดออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ ก็ช่างแต่ผมพูดคำว่า แบล็ก-เมล ตามเจ้าของศัพท์ได้ ผมก็พูดอ่านยังไง ก็เขียนอย่างนั้น

  13. (ตัวสะกดภาษาไทยที่เป็นที่นิยมคือ "เมล กิ๊บสัน" – กูเกิลเจอ "เมล์ กิ๊บสัน" 3 หน้า, ไม่เจอ "เมน กิ๊บสัน" เลย )หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ๑. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย ๒. การวางหลักเกณฑ์ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แต่ละภาษาไป ๓. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต, เชิ้ต, ก๊าซ, แก๊ส ๔. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Victoria = วิกตอเรีย Louis = หลุยส์ (พี่จอย ควรออกเสียงว่า ลูอิส) Cologne = โคโลญ ๕. ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็นแต่ใครจะไปเรียกเค้าว่า เมน กิ๊บสัน ว่ะ่ ส่วนคำว่า เมล กิ๊บสัน นั้น สื่อมวลชนเขียนกันไปเองน่ะครับ ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติ แล้วก็คงไปตรงกับข้อ 4 ส่วนคำว่า สเกล ไม่อ่านว่า สะเกน ก็เป็นไปตามข้อ 3 คือออกเสียงผิดไม่ตรงกับการเขียน (มีในศัพท์บัญญัติ แต่ไม่มีในพจนานุกรม) ส่วน เมล์ นั้นยังไงก็ต้องอ่าน เม แน่นอน พี่จะอ่านแบล็กเมว เฉพาะตอนที่คุยกับคนต่างชาติเท่านั้นว่าแต่ เช็คบิล หรือเก็บบิลด้วยน้อย ออกเสียงอย่างไรหล่ะ

  14. คืออย่าให้ภาษาไทยเราเป็นแบบภาษาเยอรมันเลยครับมีกฏเป็นร้อยๆ ข้อ ในแต่ละกฏก็มีข้อยกเว้นเต็มไปหมด ถามเจ้าของภาษาก็ได้แต่บอกว่าจำๆ กันมา ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม ดังนั้นการยอมให้มีได้ในภาษาไทยนั้น ต้องยอมอย่างมีเหตุผล เช่น โค้ก ทำไมถึงยอมให้มีวรรณยุกต์ได้ ทั้งๆ ที่หลักภาษาเค้าไม่ยอม ก็ลองเรียก โค้ก ว่า โคก เดะ เมล ไม่อ่านเมน ก็คงเหมือนกัน พี่ก็เชื่อว่า อีกหน่อย ล คงจะปรากฎอยู่ในทั้งสองแม่ เป็นข้อยกเว้นไป เพราะราชบัณฑิตคงจะยอมในที่สุดถ้าจนด้วยเหตุและผล และหลังจากนั้นเราถึงจะเขียน อีเมล ได้ หรือจะเขียน อีเมล์ แต่อ่าน อี-เมว ก็ได้ แต่ถึงตอนนี้เราไม่ควรจะสอนคนอื่นตามใจที่ฉันคิด เพราะท้ายที่สุดข้อสรุปที่ได้คือ กูจะเชื่อแบบนี้ ใช้แบบนี้ เรื่องของกู ทั้งที่มันควรจะเป็นว่า ที่คุณคิดก็มีส่วนถูก แต่ตอนนี้เป็นที่รู้กันตามหลักที่ราชบัณฑิตได้กำหนดมาเพื่อให้คนไทยใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ก็ควรจะใช้ตามนั้นไปก่อน วันหลังได้เป็นราชบัณฑิตเมื่อไหร่ค่อยเข้าไปแก้เน้อ ก็เหมือนกับนิยามของในคณิตศาสตร์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลายครั้งเหลือเกิน

  15. งั้นก็แสดงว่าเราเล่นกันตามสะดวกจริง ๆจะเขียน อีเมล์ และ เมล กิ๊บสัน พร้อม ๆ กันกับออกเสียง "อี-เมล" และ "เมล กิ๊บ-สัน"(เขียนไม่เหมือน แต่อ่านเหมือน !!)ถ้ามีใครสะกด เมล์ มา ผมก็อ่าน "เม" แน่นอนครับแต่ถ้าผมออกเสียง "เมล" (ที่ไม่ใช่ "เมน") ผมก็ต้องสะกดว่า เมล จะไปเขียน เมน หรือ เมล์ ได้ยังไง ?คำถามของผมทั้งหมด นั้นก็คือ คนส่วนใหญ่นั้น ออกเสียง กับ สะกด ตรงกันรึเปล่า ?หรือ ออกเสียงอย่าง สะกดอย่าง ?ผมออกเสียง "เช็ก-บิน" – เหมือนกับที่ผมออกเสียง "เครื่อง-กน", "พะ-หน-โย-ทิน"แต่ รูป ล ที่ผมมองตอนนี้ มันกำกับเสียงได้มากกว่าจะจับมันอยู่แค่ แม่กน แล้ว จากการทะลักเข้ามาของคำต่างภาษา"ฮอล-ลี-วู๊ด", "เมล กิ๊บ-สัน", "อี-เมล", "ดีล-เล่อ", …จะไปบอกว่า ล ต้อง ออกเสียง "น" เท่านั้น หรือไม่ก็ต้องไม่ออกเลย (แล้วเก็บมันไว้ด้วยการทำให้เป็นการันต์ไปซะ)ผมว่าอันนั้นมันก็ "มุบมิบ" ไปไม่ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในภาษาแล้วมันก็เลยทำให้เรา มีการสะกด อีเมล์ แต่ไม่ได้อ่านว่า "อี-เม"(ถึงจะอ่านว่า "อี-เมน" ตามมาตราแม่ .. มันก็ไม่ได้อยู่ดี เพราะถ้าเป็นตัวการันต์แล้ว มันต้องไม่ออกเสียงเลยต่างหาก)

  16. "หรือจะเขียน อีเมล์ แต่อ่าน อี-เมว ก็ได้"พี่อ่านเรื่องการันต์ที่ผมเน้นตอนท้ายนะครับถ้ามีทัณฑฆาตกำกับอยู่ อ่านได้แค่อย่างเดียว คือ อี-เม

  17. เรื่องสะกด อีเมล จะออกเสียงว่า "อี-เมล" หรือ "อี-เมน" หรือ "อี-เมว" อันนี้ถกเถียงกันได้ส่วนเรื่องสะกด อีเมล์ จะออกเสียงว่าอะไร … มันออกเสียงได้แค่อย่างเดียวครับ คือ "อี-เม"(ทัณฑฆาตฆ่า ล ตายไปแล้ว ไม่ว่า ล นั้นจะเป็น ล อะไรก็เถอะ)

  18. "หรือจะเขียน อีเมล์ แต่อ่าน อี-เมว ก็ได้"พี่อ่านเรื่องการันต์ที่ผมเน้นตอนท้ายนะครับถ้ามีทัณฑฆาตกำกับอยู่ อ่านได้แค่อย่างเดียว คือ อี-เมพี่เน้นคำหนาในย่อหน้านั้นแล้วไม่ใช่เหรอ หลักราชบัณฑิตเค้าเป็นหลักการเขียนน่ะ ไม่ใ่ช่การอ่าน การอ่านจะอ่านตามภาษาต่างประเทศได้ เพราะรู้ว่าเป็นคำภาษาต่างประเทศ อ่านคำเหล่านี้ดูเดะ Jan Peter, Volkswagen, von Neumann

  19. ถ้าสะกดด้วยแม่ กน ก็อ่านได้อย่างเดียว(ถ้าเป็นภาษาไทย) เมล ต้องอ่านว่า เมน ยิ้ม

  20. แต่มันเป็น แม่กล น่ะสิไม่มีพจนานุกรมในมือ ส่วนที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตนั้น ก็เป็นของรุ่น พ.ศ. ที่ผมเกิด(รุ่นชำระล่าสุดน่าจะเป็น 2542 มั้ง) หาไม่พบแต่มีคนที่ทีม L10n OpenTLE เค้าไปหามาได้ว่า"ลองตรวจสอบกับราชบัณฑิตฯ แล้วค่ะ ว่าคำนี้เขียนได้อย่างเดียวคือ "อีเมล" ค่ะ และคำว่า "อินเทอร์เน็ต" สะกดแบบนี้ได้อย่างเดียวค่ะ"

  21. เหมือนหลัก ทัณฑฆาต มันสำคัญกว่า มาตราแม่ มั้งครับ คือ มาตราแม่นี่ยังผ่อน ๆ ให้อ่านตามต่างภาษาได้บ้างแต่ทัณฑฆาตจะเข้มงวดกว่า ฆ่าก็ฆ่า ไม่ปราณี—-การใช้ทัณฑฆาตเอง ก็ต้องจำเหมือนกัน ว่าจะฆ่ากี่ตัวใครจะไปรู้ได้เองว่า สิริกิติ์ นี่ ทัณฑฆาตฆ่าเฉพาะ สระอิ นะแต่ กษัตริย์ ทัณฑฆาตฆ่า ริย ได้ทั้งยวงเลย

  22. นั่นแหละสิ่งที่พี่ต้องการ

Leave a Reply to fat dog fatherCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.