Tag: translation

  • ร้อยภาพ-พันคำ

    “ในเวียดนาม มีช่างภาพเพียงไม่กี่คนที่มีการรวบรวมผลงานออกตีพิมพ์ในชื่อของตน แม้ผมจะใช้ความพยายามอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่เคยพบเห็นวางขายในร้านหนังสือท้องถิ่นเลย ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ผมพอจะนึกออกก็คงมาจากการที่รัฐบาลเวียดนามยังคงเข้มงวดกับภาพลักษณ์ของสงครามที่ต้องการให้ปรากฏต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งว่ากันอันที่จริงแล้ว พวกเราชาวอเมริกันก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน …” (จากย่อหน้ารองสุดท้ายของบทความ ภาพถ่ายที่ล้างด้วยน้ำจากลำธาร, คอลัมน์ ร้อยภาพ-พันคำ, หน้า 52, เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 872 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552) ผมอ่านบทความดังกล่าวมาเรื่อย ๆ ก็สนุกดี มางงเอาตอนท้ายนี่แหละ คือคิดไปได้สองอย่าง อย่างแรกคือ คุณบัญชร ชวาลศิลป์ ผู้เขียน เป็นชาวอเมริกัน (ซึ่งเป็นไปได้) หรือไม่บทความนี้ก็เป็นบทความแปล (แต่ในหน้าคอลัมน์ทั้งหน้า ก็ไม่มีส่วนไหนที่ระบุไว้ว่าเป็นบทความแปลเลย) แล้วก็ทำนึกถึงเรื่องที่ได้ผ่านตาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากทวิตเตอร์ เรื่องหนังสือถ่ายภาพ (ถ่ายภาพให้ได้อย่างมือโปร) โดยคุณอนันต์ จิรมหาสุวรรณ (เลขาธิการ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2550-2552) ที่ดูเหมือนจะแปลมาจากภาษาอังกฤษทั้งเล่ม (Learning to See Creatively: Design, Color & Composition…

  • Science Culture in Thailand – Translators as Cultural Workers

    นักแปล คือ ผู้ทำงานทางวัฒนธรรม (ผมยืมมาจากชื่อหนังสือ “ครูในฐานะผู้ทำงานทางวัฒนธรรม” – Teachers as Cultural Workers) เป็นผู้เชื่อมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเข้าหากัน ไม่ว่าจะแปลจากภาษาฝรั่งเศสไปเป็นเยอรมัน เยอรมันไปเป็นอังกฤษ หรือภาษาเฉพาะกลุ่มไปเป็นภาษาทั่วไป (จริง ๆ ก็ไม่ใช่แค่“นักแปล” ทุกคนที่แปลนั่นแหละ – การแปล คือ กิจกรรมทางวัฒนธรรม จะว่าแบบนี้ก็ได้) สำคัญนะครับ แนวคิดจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ไหลเวียนหากันนี่ มันทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์ของแนวคิด และเปลี่ยนแปลงโลกในทุกยุคสมัย แนวคิดปรัชญาธรรมชาติจากยุครู้แจ้งของสกอตแลนด์ พวกฮูม ไหลเข้าสู่เยอรมนี แนวคิดสัญญวิทยาจากฝรั่งเศส ไหลไปสู่เยอรมนี (จากที่ก่อนหน้านี้งานของพวกนิทเช่หรือคานท์ ก็ไปมีอิทธิพลต่อแนวคิดของฟูโกต์) แนวคิดของมาร์กซจากเยอรมนีไหลกลับไปสู่อังกฤษ (จากที่ก่อนหน้านี้แนวคิดของ อดัม สมิธ ก็ไหลไปมีอิทธิพลต่อแนวคิดของมาร์กซ) การไหลเวียนพวกนี้มันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิทยาการทั้งนั้น มันมีการนำเข้าและปรับใช้เกิดขึ้นตลอดเวลา เฟืองเล็ก ๆ ที่สำคัญในกระบวนการนี้ คือการแปลครับ การแปลข่าววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก ยิ่งได้ลองทำแล้วยิ่งได้รู้ว่ามันยาก เอาแค่เรื่องเดียวคือเรื่องศัพท์เทคนิค ที่พอไปค้นความหมายมาแล้ว เข้าใจว่ามันคืออะไรแล้ว ก็ยังต้องค้นต่อไปว่า เขาเรียกว่าอะไรในภาษาปลายทาง เช่น…

  • Bangalore -> Bengaluru

    ‘บังกาลอร์’ เปลี่ยนชื่อเป็น ‘เบนกาลูรู’ ชื่อใหม่นั้น เป็นภาษาท้องถิ่น คือภาษา Kannada (คานาดา?) update: คุณ phisite ให้ความเห็นเกี่ยวกับชื่อเมืองใหม่/ชื่อภาษา — ตัวสะกด/การออกเสียง: ชื่อภาษา ถ้าใช้วิธีเทียบตัวอักษรของภาษานี้กับอักษรไทยตัวต่อตัว (ถ่ายอักษร) จะสะกดว่า กันนฑะ แต่เจ้าของภาษาน่าจะออกเสียงใกล้เคียงกับตัวสะกดอักษรโรมัน (กันนะดะ) มากกว่า ชื่อใหม่ของเมืองตามวิธีถ่ายอักษร ถ้าไม่เป็น เบงคะฬูรุ ก็เป็น เบงคะลูรุ แต่น่าจะเป็นชื่อแรกมากกว่า (ดูจากผังอักขระ ภาษานี้มีเสียงสระสั้น-ยาว และมีตัวอักษรที่ออกเสียงใกล้เคียง ล อยู่สองตัว) tags: Bangalore, Bengaluru, change