Tag: Thailand

  • Chulalongkorn Department of History Seminar 2/2551

    (บล็อกไม่ค่อยได้อัป ก็แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ไปพลาง ๆ ก่อนนะครับ :p) สัมมนาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาคการศึกษาปลาย 2551 สถานที่ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 13.00-16.00 น. จันทร์ 24 พฤศจิกายน 2551 “สถานะทางความรู้ของหนังสือการเมืองภายหลังการปฏิวัติ 2475 (2475-2484)” โดย ณัฐพล ใจจริง นิสิตระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จันทร์ 15 ธันวาคม 2551 “ประวัติศาสตร์และการเมืองของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จันทร์ 26 มกราคม 2552 “สถานะของพุทธศาสนาในสังคมไทย หลัง 14 ตุลา” โดย มโน เมตตานันโท เลาหวณิช ประธานมูลนิธิ ชีวันตารักษ์…

  • oh your highness "highly educated" PAD

    จากข่าว พันธมิตรฯ ฮุสตัน ต้อนรับ “หมัก” อบอุ่น, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พ.ย. 2551 : “… ทั้งนี้ เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัสถือเป็นเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีพันธมิตรฯ หนาแน่นมากเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่มีการศึกษา เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ พนักงานบริษัท เป็นต้น” หรือพูดง่าย ๆ ว่า เป็นเมืองที่ไม่ค่อยมี “บาบูน” นั่นเองครับ (เหมาะแก่การอยู่อาศัยของพันธมิตรเป็นอย่างยิ่ง) technorati tags: PAD, education, language

  • "Nothing To Say" "ไม่มีอะไรจะพูด" silent films screening – 31 Oct at Pridi Institute

    ไม่มีอะไรจะพูด โครงการพิเศษเกิดขึ้นโดยกลุ่มศิลปินแขนงต่าง ๆ มากกว่าห้าสิบคน อาทิ ผู้กำกับหนัง (ทั้งในระบบและอิสระ), นักวาดภาพประกอบ, ศิลปินภาพถ่าย, นักเรียนหนัง, ครูหนัง, นักวิชาการ, นักเขียน, นักวิจารณ์หนัง, บล็อกเกอร์, นักแสดง, นักดนตรี, ผู้กำกับละครเวที, ศิลปินทัศนศิลป์และสื่อผสม จัดฉายวิดีโอเงียบบนกำแพงตึก เกี่ยวข้องกับสังคม และการเมือง เพื่อสะท้อนภาพความคิดของศิลปินในฐานะประชาชนชาวไทย ที่มีต่อสภาพบ้านเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยได้รับความร่วมมือจาก สถาบันปรีดี พนมยงค์ และมูลนิธิหนังไทย โดยในครั้งที่ 1 นี้ จะแสดงบนกำแพงภายในตึกสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์: ศิลปกับสังคม ครบรอบ 35 ปี 14 ตุลาคม 2516 (เทศกาลนี้มีวันที่ 18 ต.ค. – 2 พ.ย. 2551) โดยโครงการ ไม่มีอะไรจะพูดนี้ จะจัดแสดงครั้งแรก ในวันที่ 31 ต.ค.…

  • Dino talks Baboon

    ปูพื้น: ‘พี่ตู้’ จรัสพงษ์ สุรัสวดี, peetoo.com, คัมภีร์กู้แผ่นดินฉบับ ‘พี่ตู้’ (3 ก.พ. 2549), ตั้ง พรรคถวายจริง, เคยเป็นผู้ดำเนินรายการ “เกาะติดรัฐธรรมนูญ” ช่อง 11 ช่วงร่างรธน.2550 หลังรัฐประหาร ตัวอย่าง สนทนา: พี่ตู้ทอล์กโชว์ ‘กรุงไม่แตก ก็เลี้ยงไม่โต’ให้สัมภาษณ์ใกล้รัฐสภา 7 ตุลา (ต.ค. 2551) บาบูนเอฟเฟค บทสัมภาษณ์ทัศนะคติของบาบูนที่มีต่อไดโนเสาร์ไทย (25 ต.ค. 2551) ปฏิกริยา: pittaya.com, pantip (1), pantip (2), pantip (3), บอร์ด ฟ้าเดียวกัน, บอร์ด ประชาไท สารภาพบาป: ผมเคยทำเว็บบอร์ด geegen.com/peetoo ให้พี่ตู้เขา เมื่อหลายปีมาแล้ว เคยโต้เขาในบอร์ดอันนั้นเรื่องการันต์ไม่การันต์ แล้วผมก็เงียบ ๆ หายไป (พร้อมกับลืมต่ออายุชื่อโดเมน geegen.com…

  • special status instantly makes you a majority in Thailand

    ขอเรียนก่อนว่า ผมเห็นด้วยกับที่สมคิดเตือนให้ระวังการรัฐประหารเงียบ-ตั้ง “รัฐบาลแแห่งชาติ” ซึ่งตามความเห็นของสมคิดจะยิ่งเป็นภัยต่อระบบประชาธิปไตย ซึ่งผมก็เห็นด้วยอีก ที่แตกต่างในความคิดเห็นก็คือ ผมไม่เห็นว่าพอเรากลัวสิ่งนั้น แล้วจะต้องยอมที่ผู้นำเหล่าทัพออกมากดดัน ที่ว่าถ้าไม่ออกไม่ยุบ จะทำให้ทหารต้องทำมากกว่านี้ “เพราะถ้าไม่ทำต่อก็จะเสียชื่อ จะเสียหายกว่าเดิม” ผมว่าถ้าจำเป็น ก็คงต้องปล่อยผู้นำเหล่าทัพเขาเสียชื่อกันหน่อย (ให้สมชายชาติทหาร กล้าทำกล้ารับ) และที่ว่าเสียหายนี่ ก็ไม่แน่ใจว่า สมคิดหมายถึง บ้านเมืองเสียหาย หรือ ชื่อเสียงทหารเสียหาย … นี่เราต้องเลือกจริง ๆ หรือนี่ ? สมคิดกลัวว่าถ้าไม่ออกไม่ยุบ ทหารจะรัฐประหารโดยไม่ใช้กำลังด้วยการบีบนายกให้ออก แล้วตั้งรัฐบาลกลางขึ้นมาพร้อมกับอาจงดใช้รัฐธรรมนูญ (ที่คมช.ผลักดันเอง) บางมาตรา ดังนั้น “ถ้านายสมชายยังต้องการรักษาระบอบประชาธิปไตย รักษาประเทศ รักษารัฐธรรมนูญเอาไว้ ควรจะลาออกหรือยุบสภาโดยเร็ว” … เอ่อ แล้วทำไมไม่ไปบอกให้ทหารเลิกกดดันบ้างครับ ? แต่ไม่เป็นไร ก็คิดกันได้ ความคิดของใครของมัน เรื่องของความเห็นต่างทางการเมืองนี้ เป็นเรื่องปกติ และเป็นสิ่งที่ผมโอเค ใครจะเห็นอย่างไรก็ได้ ก็ต้องเคารพกัน ให้พื้นที่กันและกันแสดงได้ แต่ที่ผมไม่โอเคในบทวิเคราะห์ของสมคิดนั้นคือ นิยามคำว่า “ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม” ที่สมคิดใช้ ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นเรื่องมุมมองทางสังคมที่มากไปกว่าการเมืองแล้ว…

  • Democrat, the Consistent

    “ปรีดีฆ่าในหลวง!” — เสียงตะโกนของ ‘ไอ้โม่ง’ ในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง พ.ศ. 2489 20 พ.ค 2551 – เทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ระบุ ‘หมิ่นเบื้องสูง’ เรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ 29 พ.ค. 2551 – เสียงตอบจากพลเมืองเน็ต: “ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง” 1 ต.ค. 2551 – พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) กำกับและติดตามการป้องกันและปราบปรามการกระทำและเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ใน กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร เตรียม เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้เจ้าหน้าที่ไอซีทีฟ้องร้องคดีหมิ่นฯ ได้ทันที ไม่ต้องรอคำสั่งรัฐมนตรี เพิ่มบทลงโทษจำคุก 3-20 ปี ปรับ 3-8 แสนบาท — หนักกว่ากฎหมายอาญา…

  • rule of who ?

    หลังจากคนเริ่มเบื่อกับผลิตภัณฑ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไทยแลนด์แกรนด์อินโนเวชั่นขอเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่! ที่จะช่วยให้คุณกระชวยหัวใจ… “อัยการภิวัฒน์ 2.0” มาแล้วครับพี่น้องงงง…. (เอ้า ปรบมือ! แก๊ก ๆ ๆ ๆ) อัยการรุ่นใหม่ที่จะช่วยทำหน้าที่แทนศาลให้คุณ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ผสมสารพิเศษอ่านใจคนได้ คนชั่วจะหมดไปจากแผ่นดินไทยอย่างหมดจด ไร้กลิ่นตกค้าง คนดีจะได้ปกครองบ้านเมือง ฮูเรรร!… (เอ้า ปรบมือ! แก๊ก ๆ ๆ ๆ) ด่วน! สั่งซื้อวันนี้ แถมข้าวโพดคั่วเหลือใช้รีไซเคิลทันที อินเทรนด์สุด ๆ กับข้าวโพดคั่วลดโลกร้อนน่ารัก ไม่ฝ่าฝืนมารยาททางสังคมแถมยังรักษาสิ่งแวดล้อมอันดีงามอีกด้วย! อ่าน ไม่ฟ้อง ?! โดย เชกูวารา BioLawCom.de technorati tags: Thailand, law

  • History of TLWG and LTN, by Ott

    ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม Thai Linux Working Group (TLWG) และเว็บไซต์ Linux.Thai.Net (LTN) เขียนโดยพี่อ็อท ภัทระ เกียรติเสวี (Ott) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มจัดทำเว็บไซต์ดังกล่าว พี่อ็อทมีส่วนร่วมกับการพัฒนาลีนุกซ์ในเมืองไทยตั้งแต่ช่วงแรก ๆ คือ Linux-SIS เอกสารนี้คัดลอกมาจาก http://linux.thai.net/plone/about/history ซึ่งปัจจุบันส่วน Plone ซึ่งเป็น CMS ตัวเดิมของ Linux.Thai.Net นั้นเลิกใช้แล้ว ด้วยความกลัวว่าจะสูญหายไป จึงขออนุญาตคัดลอกมาไว้ ณ ที่นี้ครับ ตามบันทึกเอกสารนี้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 ลิงก์ต่าง ๆ ด้านล่างนี้ เป็นไปตามเอกสารต้นฉบับ ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ (บางลิงก์ก็ตายแล้ว เช่น http://linux.thai.net/old-proposal.html) รวมถึงตัวสะกดทุกอย่างก็คงไว้อย่างเดิมด้วย เพื่อเหตุผลในการอ้างอิง — สำหรับลิงก์ที่ผมคิดว่าน่าจะเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อประโยชน์ในค้นคว้าเพิ่มเติม จะรวบรวมเอาไว้ด้านท้ายเอกสารทั้งหมดครับ (หลังคำว่า [จบเอกสาร]) [เริ่มเอกสาร] History of TLWG…

  • bbs, modem people, hackerdom in Thailand, call for history…

    If you have any info/pointer you think it may (or may not) related, please do send them to me at arthit # gmail,com or just leave a comment below. Thank you. The finished work will be published online under Creative Commons License, for the benefits of everyone. ผมกำลังทำการบ้านอยู่ครับ จะทำเรื่องวัฒนธรรมแฮกเกอร์ในเมืองไทย ใครมีข้อมูลบอกมาเลยนะครับ ผมอาจจะขอสัมภาษณ์ด้วยใครอยู่ในยุคบีบีเอส ยุค ZzzThai, LTN, TLWG…

  • Debatastic Four

    ปรับปรุง 2008.09.12 01:14: ขอแก้ไขชื่อ “พันธมิตรเด็ก” เป็น “เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ” ทั้งนี้เพราะชื่อเดิมอาจมีอคติแฝงอยู่ และตัวผมสะเพร่าไม่ได้ไตร่ตรองให้ดี — ทั้งนี้ต้นฉบับประกาศจากผู้จัดงาน ใช้ชื่อ “Young PAD” — ขอขอบคุณคุณธนัยที่ได้ท้วงติงครับ ดีเบต 4 ขั้ว เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ vs สนนท. vs อมธ. vs กปก. : “บทบาทนักศึกษาในสถานการณ์วิกฤตการเมือง” เสาร์ 13 กันยายน 2551 — 13:30-16:30 น. ห้อง 101 ชั้น 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ถ่ายทอดช่องไทยพีบีเอส) ดีเบต 4 ขั้ว โดย ศตวรรษ อิทรายุท ตัวแทนนักศึกษาเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ (Young PAD) อาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย…

Exit mobile version