Tag: Thailand

  • แถลงการณ์จากเครือข่ายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ไอ พี พี (26 ก.ย. 2552) #IPP #powerplant

    [ทดลองจัดเก็บเอกสาร] แถลงการณ์จากเครือข่ายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ไอ พี พี ถึง ฯพณฯนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน และพี่น้องประชาชนชาวไทย วันที่ 26 กันยายน 2552 เครือข่ายติดตามผลกระทบโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินตำบลเขาหินซ้อน (คตฟ.) เครือข่ายพลังงานสีเขียวอำเภอสนามชัยเขต (คพข.) กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดฉะเชิงเทรา เครือข่ายผู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้า ไอ พี พี ขอประณามการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม คุกคามและลิดลอนสิทธิเสรีภาพของประชาชาชนในการชุมนุมเรียกร้องโดยสันติวิธี ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและฯพณฯนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ เวชชาชีวะต้องรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหา คืนอิสระภาพและความเป็นธรรมให้แก่แกนนำและกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรีอย่างจริงจังโดยเร่งด่วน หยุดมองประชาชนเป็นศัตรู เคารพสิทธิของประชาชน ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ดาวน์โหลดแถลงการณ์: PDF | OpenDocument technorati tags: Nong Saeng, Saraburi, protest, combined cycle, power plant, human rights, environment, Thailand

  • Thai laws and regulations on official document/information administration and archives

    กฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการทำลายเอกสาร – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 — มี หมวด 3 ว่าด้วย การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548— แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พ.ศ. 2526 ที่สำคัญคือ: เพิ่มนิยามคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น) และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) ลดอายุเอกสารก่อนที่จะให้ส่วนราชการส่งหนังสือเข้าหอจดหมายเหตุ จากเดิม 25 ปี เหลือ 20 ปี (=จัดส่งเข้าหอฯเร็วขึ้น)…

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • เมื่อหยุด เมื่อเพลงชาติบรรเลง

    เพื่อเป็นการไม่กีดขวางการสัญจรผู้ร่วมใช้เส้นทาง ผู้ประสงค์ยืนเคารพธงชาติ กรุณายืนชิดขวาด้วยครับ 🙂 จากใจคนเดินถนน technorati tags: pedestrian, street, city

  • หนีตามกาลิเลโอ / ผู้มาก่อนกาล / ที่เมืองไทยไม่ต้องการ

    หาก คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย ในสังคม คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ไม่ไหว ทางหนึ่งคือ หนีตามกาลิเลโอ ไปเป็น ยิปซี ร่อนเร่ เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ พิสูจน์ความเชื่อของตัว … แต่ทุกอย่างไหม ที่ทำแบบนั้นได้ มีอะไรบ้างไหม ที่จำเป็นต้องสู้ที่นี่ สู้จากข้างใน — ข่าวเมืองไทยต้อนรับแสดงความยินดีกับ เภสัชกร กฤษณา ไกรสินธุ์ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทนี้: พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ คุณจะทำดีทำเด่น ทำอะไรก้าวหน้าก็เถอะ ถ้ามันเข้ากับระบบเก่า ระบบที่มีอยู่เดิมไม่ได้ คุณก็จะไม่ได้รับการยอมรับ – โชคยังดี ที่ในโลกสมัยนี้ โอกาสในการออกนอกประเทศหนึ่งไปทำงานที่อื่น มันเปิดกว่าเดิม โดยเฉพาะถ้าเป็นงานที่ไม่ได้ติดกับพื้นที่ ทำให้คนที่ทำงานจริงจัง สามารถได้รับการยอมรับในที่อื่น แม้บ้านเกิดที่เขาอยากทำงานให้ จะไม่เหลียวแล (แต่ขอเฮด้วยตอนดังแล้ว) — ใน Another week of trying to comprehend fuzzy politics บทความโดย…

  • ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล – "เฮ็ดในสิ่งเซื่อ เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด"

    ผมไม่ได้รู้จัก ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด เป็นการส่วนตัว วันนี้ตอนเช้า ผมไปศาลอาญา รัชดา ซึ่งศาลจะอ่านคำพิพากษาดารณี (คดีเลขที่ อ.3959/2551 อัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ฟ้อง ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) คดีนี้การพิจารณาคดีถูกทำเป็นการลับ ไม่เปิดเผยดังปกติ ผมไม่ได้อยู่ในห้อง พิจารณาคดี ที่เขาจะอ่านคำพิพากษา ห้องมันเล็กมาก เต็ม ไม่มีที่ ผมยืนอยู่ข้างนอก กับนักข่าวมากมาย ผมอยากรู้ ว่าบ้านเมืองนี้กำลังเป็นอะไรกันอยู่ โชคดีที่บ้านไม่ได้ไกลมาก พอจะไปได้ ก็ไป ดารณี ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ในคดีนี้ 10:36น. เธอเดินออกจากห้องพิจารณาคดี 904 ทั้งสองมือชูสองนิ้ว ให้กับช่างภาพสื่อมวลชน ก่อนจะเดินไปยังห้องพิจารณาคดี 908 เพื่อเป็นพยานให้ตัวเอง ในอีกคดีที่ถูกฟ้อง (อ.4767/2551 หมิ่นประมาท…

  • อันล่วงละเมิดมิได้ the Untouchable ?

    จาก ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกดัน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (มีกฎหมายจำนวนมากถูกนำเข้าสนช.ในช่วงนั้น กฎหมายจำนวนมากที่ผ่านออกประกาศใช้จากการนำเข้าพิจารณาในช่วงนั้น เป็นกฎหมายที่ในเวลาปกติน่าจะผ่านออกมาลำบาก จะต้องมีการอภิปรายหรือถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างมากแน่) มีอยู่ร่างหนึ่งจาก พ.ศ. 2551 มีมาตรานี้: มาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใด ๆ ด้วยภาพ ตัวอักษร หรือข้อความที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือกระทำการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศโดยวิธีอื่นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายต่อพระพุทธศาสนา หรือเป็นเหตุให้พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี แล้วแต่กรณี เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลายร่างจากหลายองค์กร ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บ phrathai.net หลายมาตราถูกเพิ่มเข้าเอาออกหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรา 40 อย่างในร่างข้างต้น สุดท้ายจะไปโผล่ในกฎหมายฉบับจริงหรือไม่ แต่มันก็สะท้อนได้ว่า…

  • หวัด 2009 และ อคติในการยกตัวอย่าง

    ช่วงนี้ หวัด 2009 ระบาด รักษาสุขภาพด้วย หลีกเลี่ยงการเอามือมาสัมผัส ตา จมูก ปาก (ทีโซน T-zone) — ลดเสี่ยงทั้งหวัด ทั้งสิว สิ่งที่งานสาธารณสุขห่วงตอนนี้ ไม่ใช่ว่ากลัวมันระบาด มันระบาดไปแล้ว ไม่ต้องกลัว ที่กลัวคือกลัวคนเป็นพร้อม ๆ กันเยอะ ๆ แล้วไปโรงพยาบาลพร้อม ๆ กันคราวเดียว โรงพยาบาลจะรับไม่ไหว คนป่วยโรคอื่น ๆ ก็กระทบไปด้วย เจ้าหน้าที่และทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะรับ peak แบบนั้น แต่ถ้าชะลอการติดเชื้อออกไปได้ ให้มันเกลี่ย ๆ ไม่เป็นพร้อม ๆ กันหมด ระบบสาธารณสุขก็จะรับมือไหว มีอาการ คิดว่าเป็นหวัด หยุดอยู่บ้านเลย ไม่ต้องใส่หน้ากากออกมาเพ่นพ่าน รับข่าวสารได้ทางทวิตเตอร์ @flu2009th และเว็บไซต์ www.flu2009thailand.com … มีโอกาสไปได้ยินผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ แสดงความห่วงใยเรื่องดังกล่าว ขอความร่วมมือให้ช่วยกัน … ก็น่ายินดี มีอะไรช่วยเหลือได้ก็แน่นอน จะทำเต็มที่…

  • Anti-censorship website got blocked by Thai university and ISPs

    Reports from Thai netizens to Thai Netizen Network‘s mailing list showing yet another attempt from Thai authorities to shut down any media that’s not on their side. Unsurprisingly (and that’s sad to say so), the time comes to Freedom Against Censorship Thailand (FACT). Two commercial ISPs and one university have been reported that they blocked…

  • on the flip side of Hero

    ไม่ว่าการพยายามฆ่าหรือจองล้างจองผลาญ ทักษิณ องคมนตรี หรือ สนธิ ก็น่าหดหู่พอกัน เพราะมันหมายความว่า ในสังคมเรายังมีคนคิดว่า การกำจัดคนหนึ่งคนออกไป จะสามารถแก้ปัญหาอะไรได้ แต่ความคิดนี้คงไม่แปลกอะไร ในสังคมง่อยเปลี้ย-ธุระไม่ใช่-ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง ที่เรียกหา ฮีโร่-พระเอกขี่ม้าขาว อยู่ตลอดเวลา (ไม่ว่าจะในรูปผู้นำเผด็จการอันเข้มแข็ง ราชาผู้ทรงธรรม กำนันผู้อาทร หรือคณะรัฐประหารผู้เมตตา) ก็คงจำเป็นอยู่เอง ที่พวกเขาจะต้องสร้างด้านตรงข้าม ตัวโกง-ผู้ร้ายมีเขาแหลมในผ้าคลุมสีดำ ให้เป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายทั้งปวง เพื่อผ่อนคลายย้ายเทความผิดบาปให้พ้นไปจากตัวพวกเขา ฉันไม่ผิด มันผิด ฉันกลัว ไม่อยากยุ่ง ฮีโร่ ช่วยฉันที หนังซูเปอร์ฮีโร่ที่เต็มโรงตอนนี้ อาจจะบอกภาวะอะไรบางอย่างของสังคม แต่อย่าลืมว่า เมื่อยอดมนุษย์เข้าตาจนเปลี่ยนใจ อะไรจะรับประกัน ว่าเขาจะไม่กลายเป็นผู้ร้ายเสียเอง ? อะไรจะรับประกัน ว่ายอดมนุษย์จะไม่กลายเป็นผู้ร้ายเสียเอง ? จอม เพชรประดับ: นับจากนี้ไป “ประเทศไทย” จะไม่เหมือนเดิม technorati tags: hero, Thailand, politics

Exit mobile version