Tag: Thailand

  • On National Security Act (1)

    “ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ” — นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย “ ขณะนี้รัฐบาลมีกฎหมายความมั่นคงอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่แก้ไขเมื่อปี 2546 เพิ่มเติมเรื่องภัยคุกคาม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพูดตรงไปตรงมาคือการเปิดบทบาทให้กองทัพเข้ามาจัดการบ้านเมืองได้หลายเรื่อง เช่น มาตรา 9 ให้จัดตั้งกอ.รมน. มาตรา 10 ให้กอ.รมน.จัดการเรื่องความมั่นคงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีกฎหมายที่จะประกาศใช้ตรงไหนก็ได้ ห้ามการชุมนุมได้อยู่แล้ว ขอบเขตความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือภัยคุกคามกว้างมาก เป็นความมั่นคงในทรรศนะที่แปลก ให้มีอำนาจจัดการทั้งในยามปกติและไม่ปกติ ซึ่งพ.ร.บ.นี้สร้างบทบาทให้กองทัพมีอำนาจล้น และตรวจสอบไม่ได้ ถือว่าท้าทายหลักนิติธรรมของประเทศอย่างมาก ขัดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน หากโครงการของรัฐที่ประชาชนได้รับความเสียหายมาเรียกร้องจะถือว่ากระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ยังขัดกับการกระจายอำนาจ เป็นสิ่งย้อนยุค ผบ.ทบ.เป็นผู้มีอำนาจและใช้ดุลยพินิจสูงมาก แม้นายกฯจะเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน แต่ไม่มีอำนาจ จึงไม่ควรออกกฎหมายในยุคนี้ ควรประเมินการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่าใช้ได้หรือไม่ ไม่ใช่รวบอำนาจให้กอ.รมน. กองทัพบก เพราะเป็นการสร้างอำนาจซ้อนรัฐ ยิ่งรัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอเพราะเป็นรัฐบาลผสม กอ.รมน.จะมีบทบาทสูงเรื่องความมั่นคง ผมไม่เห็นด้วยที่จะออกกฎหมายนี้ ” — นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์…

  • Red for NO

    “แดงไม่รับ” รณรงค์เชิงสัญลักษณ์ ‘ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550’ นัดสวมเสื้อสีแดง เที่ยงตรง เสาร์ 4 ส.ค. 50 (พรุ่งนี้) กรุงเทพ — สยามเซ็นเตอร์ และ สยามสแควร์ เจอกัน และช่วยกันแจกเอกสาร สติ๊กเกอร์ และโปสเตอร์รณรงค์ จากสยามสแควร์ ไปตามเส้นทางสุขุมวิท เชียงใหม่ — ร้านเคเอฟซี ในห้างเซ็นทรัลแอร์พอร์ต พลาซ่า เจอกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน เชียงราย — ร้านเคเอฟซี ในห้างบิ๊กซี จ.เชียงราย เจอกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน (เชียงราย และ เชียงใหม่ ยังอยู่ในกฎอัยการศึก งดแจกเอกสาร) จังหวัดอื่น ๆ สามารถร่วมใส่ได้เช่นกัน 🙂 ทำไมไม่รับ ? … ดูเนื้อหาการดีเบตรัฐธรรมนูญ 2550 มีอะไรหมกเม็ดไว้บ้าง ? technorati tags: red,…

  • Constitution Debate – Livecast this Friday

    ประชาไท ถ่ายทอดสด ดีเบต ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 3 ส.ค. 2550 9:00 – 12:.00 น. ผู้ร่วมรายการ จรัล ภักดีธนากุล v นิธิ เอียวศรีวงศ์ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง v จาตุรนต์ ฉายแสง สมคิด เลิศไพฑูรย์ v วรเจตน์ ภาคีรัตน์ http://www.prachatai.com/live/20070803/ technorati tags: livecast, constitution, debate

  • Thongchai Winichakul Reader

    รวมงานเขียนของ ธงชัย วินิจจะกูล โดย BioLawCom.de technorati tags: Thai, history, Thongchai Winichakul

  • Freedom (as defined by somebody else…)

    ข่าวดี รัฐธรรมนูญปี 50 ให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ เต็มที่ แล้วข่าวร้ายล่ะ ? ทั้งนี้ ตามแต่ ผอ.กอ.รมน. จะกำหนด … [ ลิงก์ ประชาไท ] technorati tags: freedom

  • Thailand Punkcore

    Thailand Punkcore punk scene ส่วนหนึ่งในเมืองไทย, Oi!Merry แนะนำมาทางเอ็ม มีเพื่อนคนนึงที่เบอร์ลิน ชื่อ “แฮ็ค” ประกาศตัวชัดเจนด้วยเสียงอันดังว่า เป็นพังค์ (พังค์ที่ตาตี่ที่สุดในโลก) วัยรุ่นยุโรปดูจะเป็นพังค์กันเยอะ ดูน่ากลัวในทีแรก แต่ส่วนใหญ่พวกเขารักสันตินะ – peace punk เป็นพังค์ ไม่จำเป็นต้องเป็นอนาธิปัตย์ (anarchist) เป็นอนาธิปัตย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นพังค์ แต่สองสิ่งนี้ ก็มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง และมีอิทธิพลต่อกันและกัน เพราะ พังค์ ไม่ได้เป็นแค่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือ พังค์ร็อก นี่นา ในบทเพลง หากเราไม่ได้ยินเรื่องราว มันก็คงเป็นเพียงเสียงหนวกหูเท่านั้น Anarcho-punk (อนาธิป-พังค์ ? :P) ที่ ประชาไท มีเรื่อง Anarcho-Punk ให้อ่านกัน (พร้อมแนะนำอัลบั้มของวง Anti-Flag, อ่ะฮ่า นสพ.ออนไลน์ฉบับนี้มีแนะนำเพลงด้วยนะ!!) (via สถาบันต้นกล้า) “ มาถึง Anarcho-punk…

  • National Security – Nation of Who ?

    พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยังเป็นร่างอยู่ กำลังจะผ่าน) จะสร้าง ‘ความถูกต้องและชอบธรรมทางกฎหมาย’ ให้กับกองทัพ ในการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน ซึ่งรวมถึง: อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ อำนาจในการจับใครคุมขังก็ได้โดยไม่ต้องพึ่งหมายศาล — โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน รวมถึงขยายเวลาควบคุมต่อได้อย่างไม่สิ้นสุด อำนาจในการห้ามมิให้มีการชุมนุม อำนาจในการกักกันบริเวณ “ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หากประชาชนไม่สามารถต้านทานพลังทหารและพวกเชลียร์ทหารได้ในอนาคตอันใกล้ ใครก็ตามหากถูกทหารจับไปซ้อมสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็อาจสามารถพูดอะไรก็ตาม ที่ทหารอยากให้ ‘สารภาพ’ ก็ได้ ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกและคาดไม่ถึง และคงจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ ” — ประวิตร โรจนพฤกษ์ กลุ่มผู้ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นี้ อ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้ และประเทศทั้งสองก็ดู ‘สงบเรียบร้อย’ ดี (หากรู้ไหมว่า ความสงบเรียบร้อย(ราบคาบ) ของสองประเทศนี้ อยู่บนพื้นฐานของการกดขี่ ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง) และข้อแตกต่างสำคัญ ระหว่างร่างของเรา กับกฎหมายของเขาที่อ้างมานั้น ก็คือ อำนาจตามกฎหมายของเขานั้น อยู่กับ นายกรัฐมนตรี (พลเรือน,…

  • Why NO ?

    19 สิงหาใกล้มา หลายคนอาจมีข้อกังขาเหล่านี้อยู่ในใจ … โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายหรือไม่ ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ จะได้อะไร ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ร่วมกับใคร ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ เลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ อาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ถอยหลังกว่าเดิม ? รับฟังข้อมูล หาคำตอบ และตัดสินใจให้ตัวคุณเอง ที่เว็บ wevoteno.net [ ลิงก์ wevoteno.net | ผ่าน wonam ] technorati tags: constitution, Thailand

  • Democracy under Martial Law ?

    “….ใน ภาวะของการประกาศกฎอัยการศึก จะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสได้คุยกันและทำความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และปล่อยให้ สสร. ได้รณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่แต่ฝ่ายเดียว…มิพักต้องกล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ล้มไปได้เลย….” “ภายใต้กฎอัยการศึก เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้” – สมบัติ บุญงามอนงค์ ฐิตินบ โกมลนิมิ, สำนักข่าวชาวบ้าน อัยการทหารที่ “รวบและกักตัว” นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ อ้างว่าใช้อำนาจตาม พ.ร.บ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 (โปรดสังเกตว่า ประเทศของเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 !) ประชาธิปไตย … อธิปไตยจะเป็นของประชาได้อย่างไร หาก(เรายังยอมให้)ทหารหรือใครมีอำนาจเหนือประชา เพียงเห็นต่าง ก็ถูกจับกุม และเราจะคุยกันยังไง ? และเมื่อคุยกันไม่ได้ แล้วจะหาข้อตกลงร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกันยังไง ? [ ลิงก์ สำนักข่าวชาวบ้าน | ผ่าน ประชาไท ]…

  • "Civil and Political Rights" – we have it, well, at least on the paper!

    กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งแปรข้อบทใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 technorati tags: human rights, civil rights, political rights