-
“ลายเซ็น” ทวิตเตอร์คนดัง
ถ้าเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ @PM_Abhisit* มักลงท้ายด้วย (ทีมงาน) ถ้าเป็น กรณ์ จาติกวณิช @KornDemocrat จะลงท้ายเป็นระยะ ๆ ด้วย (กรุณา RT) หรือ (pls RT) ส่วน ทักษิณ ชินวัตร @ThaksinLive ไม่ได้มีอะไรเป็นแพตเทิร์นขนาดนั้น มักพิมพ์อะไรยาว ๆ ต่อเนื่อง 3-4 ทวีตติด ๆ ต้องดูแล้วไปต่อเอาเอง ไม่ได้บอกว่าจะต่อจะจบตอนไหน เทียบกับ (ทีมงาน) @PM_Abhisit จะมีบอกว่า (ต่อ) นะ ทาง หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ @nuling นี่ก็ไปเรื่อย ส่วนใหญ่แซวสถานการณ์บ้านเมือง คุยกับคนนั้นคนนี้ อัปเดตกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง มีปล่อยมุขเป็นระยะ ๆ * ทวิตเตอร์ของอภิสิทธิ์ เพิ่งเปลี่ยนเป็น @Abhisit_DP จากของเดิม @PM_Abhisit หลังยุบสภา…
-
Fuck เย็ด
ชื่อบทความวิชาการนิติศาสตร์: เย็ด บทคัดย่อ: บทความนี้เรียบง่ายและยั่วยุอารมณ์ดังที่ชื่อมันบอกเป็นนัย: มันสำรวจความหมายโดยนัยในทางกฎหมายของคำว่า เย็ด (fuck). จุดที่คำว่าเย็ดและกฎหมายนั้นบรรจบกันได้ถูกพิจารณาในสี่อาณาบริเวณหลัก: บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับที่หนึ่ง (ว่าด้วยสิทธิในความเชื่อและการแสดงออก), กฎข้อบังคับการกระจายเสียง, การละเมิดทางเพศ, และการศึกษา. ความเกี่ยวพันทางกฎหมายจากการใช้คำว่าเย็ดนั้นหลากหลายอย่างมากตามบริบท. แหล่งอำนาจของคำว่าเย็ดที่นอกเหนือจากทางกฎหมายได้ถูกพิจารณา เพื่อจะเข้าใจอำนาจทางกฎหมายของคำว่าเย็ดได้อย่างเต็มที่. บนฐานของการวิจัยโดยนักศัพทมูลวิทยา (etymologist) นักภาษาศาสตร์ นักพจนวิทยา (lexicographer) นักจิตวิเคราะห์ และนักสังคมศาสตร์อื่น ๆ ปฏิกริยาตอบสนองโดยสัญชาตญาณต่อคำว่าเย็ด สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งต้องห้ามทางวัฒนธรรม (cultural taboo). เย็ด เป็นคำต้องห้าม. ต้องห้ามเสียจนบังคับให้คนจำนวนมากต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง. กระบวนการทำให้เงียบนี้ ได้อนุญาตให้คนส่วนเล็ก ๆ ของประชากรทั้งหมด จัดการยักย้ายสิทธิของพวกเราโดยอ้างว่าสะท้อนเสียงส่วนใหญ่. จากนั้นสิ่งต้องห้ามจึงได้ถูกทำให้เป็นสถาบันผ่านกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ตึงเครียดกับสิทธิทางกฎหมายอื่น ๆ. ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและสิ่งต้องห้ามนี้ ในที่สุดได้ทำให้เกิดหลักวิชา เย็ดนิติศาสตร์ (fuck jurisprudence) คำสำคัญ: Cohen, Pacifica, First Amendment, psycholinguistics อ่านฉบับเต็มที่: Fairman, Christopher M., Fuck…
-
นักข่าว 0.8: กรณีการจับผู้อำนวยการนสพ.ประชาไท และข่าวที่กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงาน #freejiew
[เพิ่มเติม 2010.09.27 14:21: ผมเขียนบล็อกโพสต์นี้ เพราะตระหนักว่า เนื้อหาในการฟ้องนั้นก็เรื่องหนึ่ง ส่วนภาพที่ถูกสร้างให้ปรากฏต่อสาธารณะ-ทางสื่อ-นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง การนำเสนอภาพกระบวนการการจับกุมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงอย่างมีนัยยะนี้ ส่งผลต่อภาพประทับในหัวของคน และให้โทษกับผู้ถูกกล่าวหา นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย] [เพิ่มเติม 2010.09.27 14:54: เพื่อความสะดวกในการ(ไม่)อ่าน ขอแจ้งว่าโพสต์นี้ไม่มีข้อมูลใหม่หรือการวิเคราะห์อะไรเกี่ยวกับคดีของจีรนุชเลย. เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ตอน: 1) วารสารศาสตร์ (อันเป็นที่มาของชื่อ นักข่าว 0.8 ที่เทียบกับ เว็บ 2.0); 2) ข้อเสนอในเรื่องความรับผิดของตัวกลางและการดำเนินคดี; 3) ข้อสังเกตต่อสมาคมวิชาชีพสื่อ] เมื่อเย็นวันศุกร์ (24 กันยา) ผมมีเหตุให้ต้องไปขอนแก่นเป็นครั้งแรก กลับมาก็ได้อ่านข่าวเกี่ยวกะเหตุการณ์นั้นตามสื่อต่าง ๆ ก็ตรงบ้าง คลาดเคลื่อนบ้าง นิด ๆ หน่อย ๆ เป็นอันเข้าใจได้ เพราะจำนวนหนึ่งรายงานในระหว่างที่เรื่องยังไม่ชัดเจนหรือยังไม่จบดี แต่วันนี้ได้อ่านข่าวฉบับของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พบว่ามันคลาดเคลื่อนจนน่าตลก ขำเสียจนไม่รู้จะพอเพียงอย่างไรไหว เนื้อความหรือก็ราวกับนิยายเพื่อความปรองดอง คือไม่รู้จะพูดอย่างไรดี นอกจากนึกภาพ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองกอดคอกะนักข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ แล้วร้องว่า ร่วมกัน เราทำได้!…
-
(เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.
เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…
-
[review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)
การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…
-
discourse/information/communication people
จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis
-
Noam Chomsky: Collateral Language
เราเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ว่า เราสามารถควบคุมความคิดของสาธารณชนได้ เราสามารถควบคุมทัศนคติและความคิดเห็น ตรงนี้แหละที่ลิปป์มันน์บอกว่า “เราสามารถปั้นแต่งมติมหาชนได้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ” ส่วนเบอร์เนย์ส์บอกว่า “สมาชิกในสังคมที่มีสติปัญญามากกว่าสามารถต้อนประชาชนไปในทิศทางไหนก็ได้ตามต้องการ” ด้วยสิ่งที่เขาเรียกว่า “วิศวกรรมมติมหาชน” เขาบอกว่า นี่แหละคือ “หัวใจของประชาธิปไตย” บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี : ภาษาชวนเชื่อ “เกี่ยวกับสื่อ การโฆษณาชวนเชื่อ และการจูงใจให้ทำสงคราม เทคนิคที่สหรัฐอเมริกันเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสูง” เหมือนกับเหตุการณ์ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมารึเปล่า ? … จริง ๆ แล้วก็ตลอดช่วงอายุการเมืองไทย , และที่อื่น ๆ ล่ะ “หาเสียง” นอม ชอมสกี นี่เป็นคนที่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ทำได้ดีไปหมด และไม่ใช่ดีธรรมดา แต่ดีถึงขั้นมีอิทธิพลต่อสาขานั้น ๆ เลยทีเดียว เรียกว่าเป็น จอห์น ฟอน นอยมันน์ ของวงการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รึเปล่า ? แนว ๆ นั้น