-
จลาจลในสิงคโปร์
สองวันก่อน คนอินเดียถูกรถเมล์ชน ในย่านลิตเติ้ลอินเดียของสิงคโปร์ คนแถวนั้นซึ่งจำนวนมากเป็นแรงงานเชื้อสายเอเชียใต้โกรธ ก่อจลาจล เผารถในบริเวณนั้นไปห้าคัน และคว่ำรถตำรวจไปสองคัน
-
[5 Oct] Seedcamp Singapore – apply now [deadline: 19 Sep]
Seedcamp ครั้งแรกในเอเชีย 5 ตุลาคม 2553 ที่สิงคโปร์ Seedcamp เป็นกองทุนตั้งต้นกิจการขนาดเล็ก เน้นธุรกิจเทคโนโลยี เงินลงทุนมาตรฐานอยู่ที่ราว 30,000-50,000 ยูโร บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนไปอยู่ลอนดอน 3 เดือน เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากทีมเมนเตอร์ ที่มีทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ นักทรัพยากรบุคคล นักการตลาด นักกฎหมาย และนักหนังสือพิมพ์ ข้อมูลกองทุนและการลงทุนของ Seedcamp จาก CrunchBase / ตัวอย่างบริษัท Seedcamp ลงทุน และผมรู้จัก คือ Zemanta สนใจ สมัครภายในวันที่ 19 กันยานี้ – ข่าวว่ามีบริษัทจากเมืองไทยไปสมัครแล้วพอสมควร technorati tags: Seedcamp, Singapore, investment
-
ตัวแบบอันน่าเกลียด: ทำไมเหล่าเสรีนิยม จึงประทับใจเหลือเกินกับระบบการศึกษาของจีนและสิงคโปร์?
แปลจาก The Ugly Models: Why are liberals so impressed by China and Singapore’s school systems? เขียนโดย Martha C. Nussbau ผู้นำอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งประทับใจในความสำเร็จทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์และจีน มักกล่าวอย่างอิจฉาเสมอ ๆ เมื่อพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศเหล่านั้น. ประธานาธิบดีโอบามาอ้างถึงสิงคโปร์ในสุนทรพจน์เมื่อมีนาคม 2009 โดยกล่าวว่านักการศึกษาในสิงคโปร์นั้น ให้เวลาน้อยลงในการสอนสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และให้เวลามากขึ้นในการสอนสิ่งที่เป็นสาระ พวกเขาเตรียมนักเรียนของพวกเขาไม่เพียงสำหรับโรงเรียนมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัย แต่ยังสำหรับอาชีพการงาน พวกเราไม่ได้ทำเช่นนั้น. นิโคลัส คริสทอฟ (Nicholas Kristof) คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ยกย่องจีนอยู่เสมอ เขาเขียน (ในช่วงก่อนโอลิมปิกที่ปักกิ่ง) ว่า “วันนี้ มันเป็นกีฬา ที่พุ่งทะยานขึ้นจนทำเราประหลาดใจ แต่จีนจะทำสิ่งมหึมาเดียวกันนี้ในศิลปะ ในธุรกิจ ในวิทยาศาสตร์ ในการศึกษา” ซึ่งโดยนัยคือการสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในระบบการศึกษาของจีน แม้กระทั่งในบทความที่เขาวิจารณ์รัฐบาลจีนอย่างรุนแรง ถึงสิ่งที่จีนได้กระทำอย่างโหดร้ายกับผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง. แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่า โอมาบา คริสทอฟ และชาวอเมริกันอื่น ๆ…
-
Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective
จากรีวิวที่ I am what I am แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม “การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่” อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ) รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ…
-
New Asian Colonisation ?
SembCorp Industrial Parks สวนอุตสาหกรรมที่บริหารงานโดย SembCorp ใน Wuxi (ใกล้เซี่ยงไฮ้), โฮจิมินห์ซิตี้, Batam (อินโดนีเซีย) และ Bintan (อินโดนีเซีย) วันนี้ไปยืนอ่าน The Economist ฉบับล่าสุด (23 มี.ค. 2549) เค้ามีบทความวิเคราะห์เล็ก ๆ (ครึ่งหน้า) เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ซึ่งมีสองปัจจัยที่ฉุดไม่ให้มันฉิวอย่างที่ศักยภาพของสิงคโปร์ทำได้จริง หนึ่งก็คือ แรงงานมีน้อยและราคาแพง สองก็คือ ที่ดินมีจำกัด แพง ทำให้ต้นทุนการมาตั้งโรงงานตั้งกิจการใหม่ ๆ ในประเทศเค้าเนี่ยสูง จนแข่งกับอื่นในเอเชีย อย่างจีนและอินเดียได้ลำบาก ทางออกของสิงคโปร์ตอนนี้ก็คือ รัฐจะสนับสนุนให้บริษัทเอกชน (ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ถือหุ้นใหญ่โดยรัฐอีกที) เข้าไปลงทุนเปิดสวนอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างในข่าวนี่ เป็นกรณีของเกาะ Bintan ของอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากสิงคโปร์ นั่งเรือเฟอร์รี่ไปมาหากันได้ โดยสิงคโปร์ได้เจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซีย จะให้การช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน สร้างถนน ไฟฟ้า ประปา ระบบการสื่อสารให้ รวมทั้งระบบการบริหารจัดการด้วย…
-
เบียร์ช้าง รับเทียบเชิญเข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์
“เบียร์ช้าง” รับเทียบเชิญเข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์ เอากันไปให้หมดเล้ย เฮ่อ…
-
ทุนสิงคโปร์ ฮุบสุวรรณภูมิ ?
“ชัยนันท์-พงษ์ศักดิ์” เรียกทอท. แจงรายละเอียด ยกงานบริหารเขตปลอดอากร สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมศูนย์โลจิสติกส์นาน 10 ปี ให้กลุ่มทุนสิงคโปร์พรุ่งนี้ ทำไมถึงมีการว่าจ้างบริษัทแท็กส์ โดยตรงโดยไม่มีการเปิดประมูล ทั้ง ๆ ที่บริษัทแท็กส์ ก็เป็นบริษัทเอกชนและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งทอท.ถือหุ้นอยู่เพียง 28.5% ขณะเดียวกัน ยังมีบริษัทต่างชาติถือหุ้นรวมอยู่ประมาณ 56.5% ดังนั้น เมื่อธุรกิจเกิดมีกำไรขึ้นกำไรต่าง ๆ ต้องออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันบริษัทแท็กส์ มีผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างชาติ และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในสิงคโปร์เป็นหุ้นส่วนใหญ่ (บริษัทโฟรบิเชอร์ พีทีอี) และการที่บริษัทต่างชาติดังกล่าวมามีสิทธิแต่ผู้เดียวในการบริหารคลังสินค้าที่เปรียบเสมือน “หัวใจในการทำธุรกิจของประเทศ” เหมาะสมหรือไม่ และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินการในอนาคต คู่แข่งอันดับหนึ่งของสนามบินสุวรรณภูมิในภูมิภาคนี้ ก็คือสนามบินชางงีของสิงคโปร์ แล้วนี่จะจ้างบริษัทสิงคโปร์มาดูแล .. so cool ฮะ -_-” เปิดโปง “แท็กส์” ฮุบสุวรรณภูมิ