-
Netizen Unite!
ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ (ปุ๊ก) เว็บมาสเตอร์ 212cafe.com ได้ประกันตัวแล้ว — หลังนอนในห้องขังหนึ่งคืน อ่านบล็อกของปุ๊ก: 212cafe.com เป็นข่าว! เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ มติชน ออนไลน์ และ ผู้จัดการ ออนไลน์ ลงข่าวชวนเข้าใจผิด และตัดสินปุ๊กไปแล้วในข่าว-โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ปรากฎ มติชนพาดหัวว่า “จับเว็บมาสเตอร์เว็บโป๊ แพร่ภาพคลิปลับว่อนเน็ต” ถ้านักข่าวมติชนใช้เวลาสักหนึ่งนาทีดูเว็บไซต์ 212cafe.com เสียหน่อย ก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เว็บโป๊ (เว็บไซต์ที่มีแต่ภาพโป๊หรือเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ผู้จัดการพาดหัวว่า “ปดส.จับเจ้าของเว็บลามก แพร่ภาพเริงรักหนุ่มสาว” พร้อมลงรูปประกอบข่าว รูปหนึ่งเป็นภาพจับหน้าจอจากเว็บโป๊แห่งหนึ่ง-ซึ่งไม่ใช่ 212cafe.com ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่านั่นเป็นภาพที่จับหน้าจอมาจากเว็บ 212cafe.com (ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแล้ว-แต่ไม่ได้แจ้งว่ามีการเปลี่ยนเกิดขึ้น) อันนั้นเป็นเรื่องของการนำเสนอในสื่อ-การตัดสินโดยพาดหัว อีกเรื่องก็คือ มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีหรือการ “ขอความร่วมมือ” เรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมาการ “ขอความร่วมมือ” มีในลักษณะด้วยจาวาทางโทรศัพท์บ่อย ๆ คำถามคือ มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม กับการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อีกฝากหนึ่งของโทรศัพท์ ที่ขอความมือมานั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น…
-
In Quotes
“The job of a citizen is to keep his mouth open.” “หน้าที่ของพลเมือง คือการเปิดปากของเขาอยู่ตลอด” — Günter Grass “I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it” “ฉันไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ฉันจะรักษาสิทธิ์ในการพูดของคุณด้วยชีวิต” — Evelyn Beatrice Hall’s The Friends of Voltaire “Think for yourselves and let others enjoy the privilege to do…
-
Safe is Unsafe
“We reject every form of legislation” “เราปฏิเสธการออกกฎหมายทุกรูปแบบ” — Mikhail Bakunin บิดาแห่งลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่ ไม่มีป้าย ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีถนน ไม่มีทางเท้า และไม่มีกฎ — ผู้ใช้เส้นทางเคารพซึ่งกันและกัน เมือง 7 เมืองในยุโรป ปลดป้ายจราจรทิ้ง “กฎหลายอย่างได้ฉวยเอาสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งไปจากเรา: ความสามารถในการ คิดถึงความคิดของผู้อื่น. เราได้สูญเสียความสมรรถภาพในการมี พฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม” ฮานส์ มอนเดอร์มาน ผู้เชี่ยวชาญการจราจรชาวดัตช์, หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ, กล่าว “จำนวนคำสั่งที่ยิ่งมาก ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตัวเองของผู้คนยิ่งหดลง” ผลลัพธ์ก็คือ ผู้ขับขี่พบว่าตัวพวกเขานั้นถูกล้อมรอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ที่บีบรัด, ดังนั้นพวกเขาจึงได้พัฒนา “สายตาแบบท่อ” [tunnel vision – อาการพิการทางสายตา มองไม่เห็นสิ่งรอบข้าง]: พวกเขาจะค้นหาช่องทางที่จะได้เปรียบอยู่เสมอ และความประพฤติที่ดีก็จะไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา แนวคิดเรื่องไม่มีป้ายจราจรนี้ เคยอ่านเจอเมื่อสองสามปีก่อน ในหนังสือชื่อ Emergence: The Connected Lives of…
-
Self-Organized Commuting
น่าสนใจดี Slugging
-
Future Search
new blog: ตามหาอนาคต Cells บัญชาการ ม็อบ 26 ก.พ. : กำเนิดโครงสร้างเครือข่าย | หมากนอกกระดานและการแฮกค์เกมส์ | ความแตกต่าง และพัฒนาการสู่ก้าวใหม่ | แตกต่างหลากหลาย คือความงาม | ประกายไฟ | ความซับซ้อนแห่งยุคสมัยกับพาราไดม์เดิม | มองหาอนาคต ของแถม: วิทยาลัยวันศุกร์ | FTA Watch
-
อัตคม = Self-organisation
ที่บทความนี้ การก่ออัตคม คือการทอนความซับซ้อน ที่นอกกรอบ.คอม เค้าใช้คำว่า “ อัตคม ” สำหรับคำว่า self-organisation แหละ สั้นดี เดี๋ยวต่อไปจะใช้คำนี้ละกัน (คงใช้ในลักษณะ “อัตคม (ระบบที่จัดการตนเอง – self-organising system)” อะไรทำนองนี้ ในครั้งแรกที่พูดถึง แล้วหลังจากนั้นก็ใช้แต่คำว่า “อัตคม”) ใครสนใจเรื่องทำนองนั้น รวมทั้งเรื่องความซับซ้อน (complexity), ปัญญาประดิษฐ์, เซลลูล่าร์ออโตมาตา, มีม, ทฤษฎีความอลวน และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้ไปด้อม ๆ มอง ๆ ที่เว็บนั้นบ่อย ๆ มีบทความน่าสนใจมาให้อ่านเรื่อย ๆ แถม: (ได้จากนอกกรอบ.คอม) วิกิระบบซับซ้อน (Distributed and Complex Systems Wiki)
-
decentralised, again
เสน่ห์ของระบบไร้ตัวแทน ที่สวนลุมฯ ทฤษฎีเกม + เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมสังคม สองบทความจาก Thai Friend Forum “ตัวนำ” หรือ “ตัวแทน” ? “ปกครอง” หรือ “คุ้มครอง” ? “เปลี่ยนแปลง” หรือแค่ “เปลี่ยนอำนาจ” ? บทความเกี่ยวกับ ระบบที่จัดการตัวเอง (self-organizing system) โดยไม่ต้องมีผู้นำหรือศูนย์กลาง แม้ไม่มีหลักประกันว่าจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (optimal) แต่ด้วยความเป็นระบบที่มีพลวัตรสูง เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย จึงมีความทนทาน สามารถรับมือกับปัญหาได้หลากหลาย รวมทั้งปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน และมีความเป็นไปได้สูงที่จะแก้ปัญหาใดใด ได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้จุดสูงสุด (near-optimal) เมื่อระบบสามารถปรับตัวได้แล้ว ถ้าวันนี้เราทำได้แค่ “เปลี่ยนอำนาจ” จากคนนึง ไปอยู่ที่มืออีกคนนึง อีกไม่นาน เราก็คงต้องทำแบบนี้อีก ซ้ำไปซ้ำมา ไม่รู้จักจบจักสิ้น จนกว่าเราจะสามารถ “เปลี่ยนแปลง” ให้อำนาจนั้นกลับมาอยู่กับทุกทุกคนอย่างแท้จริง “การกระจายอำนาจ” ไม่ใช่การที่ ผู้ปกครองยอมแบ่งอำนาจการตัดสินใจเล็ก ๆ…