Tag: political rights

  • ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี (และการควบคุมที่ดีและการควบคุมไม่ดี)

    ถ้าเราเอาแต่มองที่คน วันนี้เราก็อาจจะได้คนดีไปปกครอง แต่ลืมคิดถึงกระบวนการว่า ถ้าวันนึงคนเหล่านี้เลิกดีขึ้นมา แล้วจะทำไง จะเอาเขาออกจากตำแหน่งปกครองได้ยังไง หรือถ้าคนดีเลิกเป็นคนแล้ว (คือตายห่าไปแล้ว) แล้วเราจะหาคนต่อไปมาปกครองต่อยังไง หรือใช้กระบวนการหรือกลไกอะไรในการจะบอกว่าคนนี้ ดีพอ กับตำแหน่งหน้าที่หนึ่งๆ

  • Destroy political party system … for democracy !? This is Thailand.

    ชู-พิดคิดตามวัน: บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา ตอนใหม่มาแล้ว ยุบพรรค.. เพื่อประชาธิปไตย ? ถ้านับว่า พรรคการเมือง คือที่รวมของบุคคลที่มีอุดมการณ์ความคิดความเชื่อในทางเดียวกันแล้ว แม้ถึงที่สุดเราจะยุบพรรคการเมืองได้ แต่เราไม่สามารถยุบอุดมการณ์ความคิดความเชื่อเหล่านั้นได้ และกลุ่มบุคคลเหล่านั้นก็มีสิทธิในการรวมกลุ่มกันอีก-ในชื่อใหม่ คำถามคือ แล้วเราจะต้องตาม (จองล้างจองผลาญ) ยุบพรรคการเมือง (ชื่อใหม่-อุดมการณ์เดิม) นั้นไปอีกกี่ครั้ง ? ทำราวกับว่าต้องการทำลาย/จำกัดอุดมการณ์ความคิดความเชื่อบางอย่าง (ที่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้มีอำนาจ) ออกไปจากสังคม หรือในรธน.ฉบับนี้ ไม่ได้มองว่าพรรคการเมืองเป็นที่รวมกลุ่มอุดมการณ์อย่างว่า ? ถ้าอย่างนั้นรธน.ฉบับนี้ มองพรรคการเมืองเป็นอะไร ? พรรคการเมืองเป็นอะไร-อยู่ตรงไหน-มีหน้าที่อะไรใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ในสายตาของรธน.50 ? 5 อาจารย์นิติ มธ. ออกแถลงการณ์ค้านการยุบพรรค แถลงการณ์ เรื่อง การตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ๒. พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในนานาอารยะประเทศ การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้ว ยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวกันเพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองจึงไม่สามารถทำได้โดยการอ่านกฎหมายแบบยึดติดกับถ้อยคำเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบด้วยเสมอ สมาคมหัวไม้ ตอนใหม่ก็มาแล้ว ข่าวเก่า: ใครบอกว่าประชาธิปไตยพม่ากับไทยเทียบกันไม่ได้ (ร่างรธน.พม่า…

  • your feet, also very count

    ประภาส ปิ่นตบแต่ง แนะ บางทีการโหวตด้วย ‘มือ’ อย่างเดียวคงไม่พอ คงต้องโหวตด้วย ‘ตีน’ กันบ้าง 😛 (ส่วนทหารและอภิทหาร เขาโหวตด้วย ‘ปืน’ กันอยู่แล้ว .. แต่หลัง ๆ เริ่มซับซ้อน มีโหวตด้วย ‘ตุลาการ’ และ ‘การร่างรัฐธรรมนูญ/กฎหมาย’ ด้วยนะ .. เนียน เนียน) โซ่มนุษยปิดสนช. พุธ 19 ธ.ค. 8.00 – 19.00 น. หากไม่สะดวกร่วม ยังไงก็ไปลงชื่อปิดสภากันได้ออนไลน์ [ ลิงก์ ประชาไท | ผ่าน พลวัต (ยุคใหม่) ] technorati tags: Thailand, democracy

  • 10th Anniversary – Right to Know

    หนึ่งทศวรรษ สิทธิที่จะรู้ คอลัมน์ “ข้าราษฎร” โดย “สายสะพาย” หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10861 (หน้า 26) ดร.นคร เสรีรักษ์ เขียนบทความ ในโอกาสที่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มีอายุครบ 1 ทศวรรษ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จึงมีอายุครบ 10 ปี ในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ “หน่วยงานของรัฐ” มีหน้าที่ “เปิดเผย” ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ข้าราชการจึงต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบและโปร่งใสมากขึ้น เพราะเอกสารต่าง ๆ อาจถูกตรวจสอบได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นกฎหมายที่มีอายุเพียง 10 ปี แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชน และส่งผลให้สะเทือนอย่างมากในกระบวนการพัฒนาธรรมาภิบาล ในฐานะกลไกขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ แม้หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูล…

  • pronounce it /Kha-na Rat-sa-don/

    เมื่อวันอาทิตย์ งาน YouFest ทำผิดพลาดไปอย่างหนึ่ง (ในหลายอย่าง) คือ ออกเสียง คณะราษฎร ไปว่า /คะ-นะ-ราด/ ที่ถูกคือ /คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน/ โดย ราษฎร /ราด-สะ-ดอน/ ในที่นี้ ก็คือ “ไม่ใช่เจ้า” นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากในวงเล็บที่เน้นย้ำในตอนท้ายของหลักข้อที่ 4 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่ว่า: “จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)” ขอบคุณ อ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ที่ได้กรุณาเตือน โดยอาจารย์ได้กล่าวเตือนอีกด้วยว่า นี่คือการทำให้ความหมายมันเลือนหายไป เมื่อ /คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน/ (ราษฎร) กลายเป็น /คะ-นะ-ราด/ (ราข?) ความหมายมันก็เสียไปแล้ว — จะระมัดระวังยิ่งขึ้นครับ อาจารย์ย่ายังได้ให้ความต่ออีกด้วยว่า ในหลายประเทศนั้น แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญยิ่งกว่าและเป็นที่มาของ “รัฐธรรมนูญ” ก็คือ “คำประกาศสิทธิ” ต่าง ๆ (bill of rights [เช่น…

  • "Civil and Political Rights" – we have it, well, at least on the paper!

    กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งแปรข้อบทใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 technorati tags: human rights, civil rights, political rights