-
ททบ.5 นี่มันททบ.5 จริงๆ ครับ
สาระประโยชน์เพียบครับ “ทีวีบริการสาธารณะ” ของไทย เราจะได้ดูแบบนี้นี่แหละในทีวีดิจิทัล ดูกันไปอีก 15 ปีครับ แหม่ กว่าเขาจะจัดสรรใบอนุญาตกันใหม่v
-
Man of His Words สรรเสริญ แก้วกำเนิด
“ผมอยากขยายความหลักการทำงานนิดหนึ่ง สสารทุกอย่างในโลกมนุษย์ จะมีสนามแม่เหล็กของมัน ซึ่งจะแตกต่างกัน หลักการของการใช้เครื่อง GT200 ก็คือ เราจะตรวจหาอะไร เราก็เอาสารชนิดนั้นมาทำเป็นเซ็นเซอร์การ์ดแล้วใส่เข้าไปในนี้ ซึ่งก็จะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น สมมติว่าเราใส่เรื่องของยาเสพติด ยาไอซ์เข้าไป เมื่อเครื่องทำงานก็จะไปตรงกับยาไอซ์ ซึ่งอยู่ในภูมิประเทศที่เรากำลังหา เนื่องจากมีสนามแม่เหล็กที่ตรงกัน ตัวเสาสัญญาณจะเบนไปหา” — สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก
-
ปฏิรูปกองทัพ ขยายงานบริการ สร้างรายได้ เพิ่มดาวน์ไลน์ คุณเองก็ทำได้
(บันทึกจากการไปนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ลำปาง เมื่อหลายเดือนก่อน) ที่พักที่อยู่นี่ มีพลทหารสองนายดูแลด้วย ประมาณว่าเจ้าของเป็นทหาร (ขับรถมีสติกเกอร์ กอ.รมน.) เลยมาเรียกมา “ปฏิบัติราชการ” ช่วยนายเสียหน่อย ปัดกวาดเช็ดถู ยกเก้าอี้ และเสิร์ฟเบียร์ลูกค้า :p คนนึงบอกว่าช่วงเมษาปีที่แล้ว ถูกเรียกไปอยู่ในราบ 11 ด้วย คือถูกเรียกหมด ไม่รู้ว่าจากไหนจากไหนมั่ง ไม่รู้จักเลย แล้วก็เฮลิคอปเตอร์ รถถัง ฯลฯ เพียบ แต่ปกติเขาอยู่ภาคใต้ กำลังคิดว่า ไอ้ที่กองทัพบอกว่าลดกำลังพลไม่ได้นู่นนี่นั่น เวลามีคนไปกระทุ้งว่าต้องปฏิรูปกองทัพ ลดกำลังพล (และลดตำแหน่งนายพลกินเงินตำแหน่ง) ชะรอยจะเป็นเพราะว่าเดี๋ยวจะขาดแคลน “แรงงานนอกระบบ” เหล่านี้ — เจ๋งกว่าแรงงานพม่าอีกอ่ะ ค่าจ้างก็ถูกกว่า (i.e. ประชาชนจ่ายให้) ไม่บ่นไม่งอน (อย่าหือกะผู้บังคับบัญชานะฮะ ) ไม่ต้องปวดหัวเรื่องใบอนุญาต แถมเป็นบุญเป็นคุณกันอีกอ่ะ อุตส่าห์ดึงตัวมานะเนี่ย จะได้ไม่ต้องไปทำงานหนักฝึกหนักในกองทัพ มาอยู่สบาย ๆ กะนาย :p นึกถึงธุรกิจห้องจัดเลี้ยงของกองทัพนะ…
-
รักทหาร รัฐทหาร
ข่าวร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ…. คปส. รายงาน วุฒิฯผ่านกม.คลื่น-เปิดทหารคุม กสทช. วุฒิสภาไม่ถึงครึ่งผ่านร่างพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพิ่มกสทช.ฝ่ายความมั่นคง ศาสนา จาก 11 เป็น 15 คน เปิดให้องค์กรรัฐ-เอกชนด้านความมั่นคงและบริหารราชการคัดเลือกกันเอง และต้องจัดคลื่นเพื่อความมั่นคงอย่างพอเพียง ความเห็นจาก สุภิญญา กลางรณงค์ นอกเหนือจากความเป็นห่วงอย่างมากเรื่องการครอบงำของกองทัพ ยังมีเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการขนาด 15 คน ที่พบจากประสบการณ์ว่า นอกจากจะไม่คล่องตัวและสิ้นเปลืองงบประมาณเพิ่มแล้ว คณะกรรมการขนาดใหญ่ ยังนำไปสู่การจับขั้วแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย ล็อบบี้กันภายในคณะกรรมการเอง เกิดการลงคะแนนต่างตอบแทน ทำให้กรรมการแต่ละคนตัดสินใจได้เป็นอิสระน้อยลง เมื่อเทียบกับคณะกรรมการขนาดเล็ก technorati tags: media reform, military
-
A Coup for the Rich, Creative Thailand, #GT200
ตอนนี้ในเน็ตมี ใบปลิวตั้งคำถามหลายข้อถึงความชอบธรรมในการจัดซื้อจัดจ้างงานต่าง ๆ ในห้วงระยะเวลาที่คมช.ครองอำนาจสูงสุด (จาก ไทยอีนิวส์) หนึ่งในคำถามเหล่านั้น ตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ของ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข รักษาการประธาน คมช. / รองหัวหน้าคปค.คนที่ 1 กับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ / สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และ นายอนุวัฒน์ วัฒนกิจ เจ้าของบริษัท เอ วิ เอ แซทคอม จำกัด (ผู้แทนจำหน่าย เครื่องตรวจจับระเบิด GT200) ในใบปลิวระบุว่า นอกจาก บริษัท เอ วิ เอ แซทคอม (AVIA SATCOM – www.groupavia.com) จะเป็นผู้จัดหาเครื่อง GT200 แล้ว ยังเป็นผู้จัดหาเครื่องบินขับไล่ GRIPEN, โครงการ RTADS Phase…
-
Thailand’s Corruption Perceptions Index 2002-2009: Thaksin, Coup, Military, Abhisit
อัปเดต: คำอธิบายกราฟงบประมาณกองทัพ: แก้ไขหน่วยเงินเป็นเหรียญสหรัฐ (USD), เดิมใส่ผิดเป็นบาท (THB). เพิ่มลิงก์ เอแบคโพลล์, นายกตอบคำถามเรื่องปัญหาคอร์รัปชัน (วิดีโอ) จากข้อมูลของ Transparency International นี่คือกราฟแสดงดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) จากปี 2545-2552: เครดิต: กราฟพล็อตโดย คุณหนูเอง โดยใช้ข้อมูลจาก Corruption Perceptions Index 2009 อ่านทื่อ ๆ ตามกราฟได้ว่า: ดัชนี CPI ชี้ว่า ช่วงปี 2545-2548 ระหว่างสมัยรัฐบาลทักษิณ ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันลดลงตามลำดับ. กระทั่งปี 2549 ปีที่รัฐประหาร ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันกลับมาขยายตัวอีกอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องถึงปี 2550. พอปี 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันลดลงอีกครั้ง (อภิสิทธ์เป็นนายก 17 ธ.ค. 2551, หลังการประกาศ CPI 2008/2551). ปี 2552…
-
Burmese Anti-Blogging Measures
Niknayman (ต้องลงฟอนต์พม่าก่อน ถึงจะอ่านได้) บล็อกพม่าที่รายงานเหตุการณ์ลุกฮือในพม่าเมื่อกันยาปีที่แล้ว รายงานว่า: รัฐบาลทหารพม่า ใช้เทคนิควิธีหลายอย่าง เพื่อสกัดกั้นบล็อกเกอร์/ผู้สื่อข่าวพลเมืองในอินเทอร์เน็ต วิธีมีตั้งแต่การปิดกั้นให้เข้าบล็อกไม่ได้ การแทรกคำต่าง ๆ เข้าไปในบล็อก การเปลี่ยนทางลิงก์ในบล็อก (ไปโผล่เว็บโป๊แทน) ไปจนถึงการพยายามทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลง เพื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้เข้าถึงบล็อกและเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ Committee to Protect Bloggers: Report on Anti-Blogging Measures from Burmese Blogger Irrawaddy: Burmese Regime Attacks Bloggers (รายงานเข้า iReport) เพิ่มเติม (2008.01.26): จากที่เพื่อนชาวพม่าเล่าให้ฟัง รัฐบาลทหารได้ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพม่าอย่างเข้มงวดมากขึ้น หลังเหตุการณ์ลุกฮือดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรายงานสถานการณ์ใด ๆ ไปยังนอกประเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของพม่ายังไม่ทั่วถึง การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จึงทำที่ร้านอินเทอร์เน็ต ซึ่งรัฐบาลทหารก็มีคำสั่งให้ร้านอินเทอร์เน็ตทุกร้าน ห้ามไม่ให้ผู้ใช้นำอุปกรณ์ใด ๆ มาใช้กับคอมพิวเตอร์ของร้าน เพื่อป้องกันการส่งไฟล์ภาพหรือข้อมูลใด ๆ (จากกล้องหรือแฟลชไดรว์) และบังคับให้ร้านอินเทอร์เน็ตจะต้องจับภาพหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทุก ๆ 15…
-
On National Security Act (1)
“ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ” — นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย “ ขณะนี้รัฐบาลมีกฎหมายความมั่นคงอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่แก้ไขเมื่อปี 2546 เพิ่มเติมเรื่องภัยคุกคาม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพูดตรงไปตรงมาคือการเปิดบทบาทให้กองทัพเข้ามาจัดการบ้านเมืองได้หลายเรื่อง เช่น มาตรา 9 ให้จัดตั้งกอ.รมน. มาตรา 10 ให้กอ.รมน.จัดการเรื่องความมั่นคงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีกฎหมายที่จะประกาศใช้ตรงไหนก็ได้ ห้ามการชุมนุมได้อยู่แล้ว ขอบเขตความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือภัยคุกคามกว้างมาก เป็นความมั่นคงในทรรศนะที่แปลก ให้มีอำนาจจัดการทั้งในยามปกติและไม่ปกติ ซึ่งพ.ร.บ.นี้สร้างบทบาทให้กองทัพมีอำนาจล้น และตรวจสอบไม่ได้ ถือว่าท้าทายหลักนิติธรรมของประเทศอย่างมาก ขัดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน หากโครงการของรัฐที่ประชาชนได้รับความเสียหายมาเรียกร้องจะถือว่ากระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ยังขัดกับการกระจายอำนาจ เป็นสิ่งย้อนยุค ผบ.ทบ.เป็นผู้มีอำนาจและใช้ดุลยพินิจสูงมาก แม้นายกฯจะเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน แต่ไม่มีอำนาจ จึงไม่ควรออกกฎหมายในยุคนี้ ควรประเมินการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่าใช้ได้หรือไม่ ไม่ใช่รวบอำนาจให้กอ.รมน. กองทัพบก เพราะเป็นการสร้างอำนาจซ้อนรัฐ ยิ่งรัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอเพราะเป็นรัฐบาลผสม กอ.รมน.จะมีบทบาทสูงเรื่องความมั่นคง ผมไม่เห็นด้วยที่จะออกกฎหมายนี้ ” — นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์…
-
National Security – Nation of Who ?
พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยังเป็นร่างอยู่ กำลังจะผ่าน) จะสร้าง ‘ความถูกต้องและชอบธรรมทางกฎหมาย’ ให้กับกองทัพ ในการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน ซึ่งรวมถึง: อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ อำนาจในการจับใครคุมขังก็ได้โดยไม่ต้องพึ่งหมายศาล — โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน รวมถึงขยายเวลาควบคุมต่อได้อย่างไม่สิ้นสุด อำนาจในการห้ามมิให้มีการชุมนุม อำนาจในการกักกันบริเวณ “ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หากประชาชนไม่สามารถต้านทานพลังทหารและพวกเชลียร์ทหารได้ในอนาคตอันใกล้ ใครก็ตามหากถูกทหารจับไปซ้อมสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็อาจสามารถพูดอะไรก็ตาม ที่ทหารอยากให้ ‘สารภาพ’ ก็ได้ ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกและคาดไม่ถึง และคงจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ ” — ประวิตร โรจนพฤกษ์ กลุ่มผู้ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นี้ อ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้ และประเทศทั้งสองก็ดู ‘สงบเรียบร้อย’ ดี (หากรู้ไหมว่า ความสงบเรียบร้อย(ราบคาบ) ของสองประเทศนี้ อยู่บนพื้นฐานของการกดขี่ ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง) และข้อแตกต่างสำคัญ ระหว่างร่างของเรา กับกฎหมายของเขาที่อ้างมานั้น ก็คือ อำนาจตามกฎหมายของเขานั้น อยู่กับ นายกรัฐมนตรี (พลเรือน,…
-
Democracy under Martial Law ?
“….ใน ภาวะของการประกาศกฎอัยการศึก จะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสได้คุยกันและทำความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และปล่อยให้ สสร. ได้รณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่แต่ฝ่ายเดียว…มิพักต้องกล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ล้มไปได้เลย….” “ภายใต้กฎอัยการศึก เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้” – สมบัติ บุญงามอนงค์ ฐิตินบ โกมลนิมิ, สำนักข่าวชาวบ้าน อัยการทหารที่ “รวบและกักตัว” นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ อ้างว่าใช้อำนาจตาม พ.ร.บ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 (โปรดสังเกตว่า ประเทศของเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 !) ประชาธิปไตย … อธิปไตยจะเป็นของประชาได้อย่างไร หาก(เรายังยอมให้)ทหารหรือใครมีอำนาจเหนือประชา เพียงเห็นต่าง ก็ถูกจับกุม และเราจะคุยกันยังไง ? และเมื่อคุยกันไม่ได้ แล้วจะหาข้อตกลงร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกันยังไง ? [ ลิงก์ สำนักข่าวชาวบ้าน | ผ่าน ประชาไท ]…