Tag: Ministry of Information and Communication Technology

  • ประวัติกฎหมายลงทะเบียนซิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ (2548 – ยุคก่อนประกาศกสทช.)

    ประวัติกฎหมายลงทะเบียนซิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ (2548 – ยุคก่อนประกาศกสทช.)

    ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ออกกฎหมายควบคุมซิม ถ้าหากกทช.เห็นว่าทำไม่ได้ ให้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 ของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดให้รัฐสามารถควบคุมโภคภัณฑ์เพื่อสวัสดิภาพของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ

  • media and information literacy & citizen science: พลเมืองที่อ่านเขียนสารสนเทศเป็นกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่าน “วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง”

    คำแปล “literate” ในภาษาไทย มีใช้กันอยู่ว่า “อ่านออกเขียนได้” เทียบได้อย่างตรงไปตรงมากับภาษาอังกฤษที่นิยามว่า “literacy” คือ “ability to read and write” คำว่า “รู้เท่าทัน” มันตก “การเขียน” ไป / ถ้าอำนาจในสังคมปัจจุบัน มาจาก ข้อมูล และ วิธีการให้เหตุผล พลเมืองเจ้าของอำนาจ ก็ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมได้มากขึ้น ในการสร้างข้อมูลและวิธีการให้เหตุผลพวกนั้น

  • นิธิ เอียวศรีวงศ์: กระทรวงไอซีที

    มุมมองนิธิน่าสนใจ ที่ว่า “กระทรวง” ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ให้คุณก็ได้ ให้โทษก็ได้ แต่ถ้าเรามองมันแบบพ.ร.บ.คอมฯ เราคงต้องปิดกระทรวงไอซีที (และกระทรวงอื่น ๆ ทั้งหลาย) ทิ้ง แบบที่ปิดอินเทอร์เน็ต เพราะเมื่อมองด้วยสายตาที่เห็นแต่โทษ มันก็จะไม่เจออะไรดีเลย สรุปศักยภาพของอินเตอร์เน็ตเท่าที่ผมมองเห็นจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่สามด้าน 1.คือการเปิดตลาดใหม่ให้แก่สินค้าและบริการ 2.เปิดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในแนวใหม่ 3.เปิดพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่ ทั้งสามอย่างนี้อาจเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมและบุคคลได้ไพศาล แต่เอาไปใช้ในทางที่เป็นโทษของสังคมก็ได้ไพศาลเหมือนกัน ไม่ต่างจากตลาด, โรงเรียน, และพื้นที่การเมืองแบบเก่า ซึ่งใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ก็ได้ โทษก็ได้ พื้นที่ทางการเมืองกลายเป็นเรื่องหลักที่กระทรวงไอซีทีให้ความสนใจที่สุด แต่ก็เป็นความสนใจด้านลบมากกว่าด้านบวก (ตามเคย) นั่นคือจะกำกับควบคุมพื้นที่ใหม่ทางการเมืองนี้ ซึ่งเปิดรับคนแปลกหน้าเข้ามาจำนวนมาก ให้สยบยอมต่อโครงสร้างอำนาจตามประเพณีต่อไปได้อย่างไร เขาหวั่นวิตกแต่ว่าของดีๆ อย่างอินเตอร์เน็ตจะถูกนำไปใช้ในทางเสียหาย (แก่ใครและอะไร… ไม่ทราบได้) ฉะนั้น จึงต้องเข้าไปบังคับควบคุมจนกระทั่งจะทำอะไรดีๆ กับอินเตอร์เน็ตได้ยากขึ้นทุกที กระทรวงไอซีที โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนออนไลน์, 26 เม.ย. 2554 ความคิดเห็นจากทีมผู้ร่างกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง จากการสัมมนาที่เนชั่น [ซึ่งผมไปร่วมด้วย] เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่: เรื่องวุ่นๆ (อีกรอบ)…

  • Anti-censorship website got blocked by Thai university and ISPs

    Reports from Thai netizens to Thai Netizen Network‘s mailing list showing yet another attempt from Thai authorities to shut down any media that’s not on their side. Unsurprisingly (and that’s sad to say so), the time comes to Freedom Against Censorship Thailand (FACT). Two commercial ISPs and one university have been reported that they blocked…

  • Nipples and the Citizen Power

    … ในฐานะที่เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีในอดีต <คุณสุวิทย์ คุณกิตติ> ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า “ คุณต้องยอมรับว่า ไม่ว่าคุณจะพยายามบล็อกอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีใดก็ตาม คุณไม่มีวันทำได้สำเร็จ ถ้าเราปิดเว็บไซต์ไปสักแห่งหนึ่ง ใครๆ ก็สามารถหาพร็อกซี่เพื่อเข้าถึงมันจนได้ การเซ็นเซอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำร้ายประชาชน ทำร้ายรัฐบาล และยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ” ท่านยังกล่าวด้วยว่า แทนที่จะเซ็นเซอร์ ทางที่จะแก้ปัญหา [การใช้อินเทอร์เน็ตแบบผิดๆ] เป็นทางแก้ทางสังคม – ให้การศึกษา, ศีลธรรม, สำนึกทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจอย่างรอบรู้เอง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ได้ดีเพียงไร ข้อสรุปอันแรกที่ผมอยากย้ำไว้ก็คือ คนไทยต้องเลี้ยงลูกเอง เลิกคิดที่จะให้รัฐเลี้ยงลูกแทนเสียที เพราะถ้าคิดอย่างนั้นหอบลูกไปทิ้งไว้หน้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐดีกว่า นอกจากนี้ควรเข้าใจด้วยว่าอำนาจที่รัฐได้มาจากการปกป้องสายตาเด็กจากหัวนมผู้หญิงนั้น รัฐได้ใช้มันไปในทางฉ้อฉลเพื่อบดบังความรับรู้ของประชาชนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐ หรือข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นภัยต่อกลุ่มอำนาจด้วย เว็บที่ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกนั้นไม่ได้มีแต่เว็บโป๊ แต่รวมถึงเว็บอื่น ๆ ที่มีข้อความซึ่งผู้มีอำนาจเห็นเป็นอันตรายต่อตัวด้วย ดาบศีลธรรมนั้นบั่นรอนทั้งศีลธรรมและเสรีภาพทางอื่น ๆ ไปพร้อมกัน บั่นรอนศีลธรรมเพราะทำให้มนุษย์ไม่พัฒนาตนเองให้ใช้วิจารณญาณของตนเอง จึงไม่อาจศีลธรรมได้จริง บั่นรอนเสรีภาพเพราะข้อมูลข่าวสารที่เรารับรู้ถูกตัดตอนจนทำให้เสรีภาพเหลือเพียงเสรีภาพที่จะทำตามคำสั่งของเบื้องบน ผมไม่ได้หมายความว่ารัฐไม่มีประโยชน์นะครับ ตรงกันข้าม รัฐสามารถช่วยครอบครัว, โรงเรียน, สื่อ, ชุมชน และสังคมได้มาก (เพราะกระจุกทรัพยากรจำนวนมากของเราทั้งหมดไว้จัดการเอง) ในอันที่จะเพิ่มสมรรถภาพทางหัวใจของเราก็จะเผชิญกับโลกที่เป็นจริง แต่ต้องไม่ปล่อยให้รัฐถือดาบศีลธรรมเที่ยวฟาดฟันอย่างโง่ๆ…