-
ตัวแบบอันน่าเกลียด: ทำไมเหล่าเสรีนิยม จึงประทับใจเหลือเกินกับระบบการศึกษาของจีนและสิงคโปร์?
แปลจาก The Ugly Models: Why are liberals so impressed by China and Singapore’s school systems? เขียนโดย Martha C. Nussbau ผู้นำอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งประทับใจในความสำเร็จทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์และจีน มักกล่าวอย่างอิจฉาเสมอ ๆ เมื่อพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศเหล่านั้น. ประธานาธิบดีโอบามาอ้างถึงสิงคโปร์ในสุนทรพจน์เมื่อมีนาคม 2009 โดยกล่าวว่านักการศึกษาในสิงคโปร์นั้น ให้เวลาน้อยลงในการสอนสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และให้เวลามากขึ้นในการสอนสิ่งที่เป็นสาระ พวกเขาเตรียมนักเรียนของพวกเขาไม่เพียงสำหรับโรงเรียนมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัย แต่ยังสำหรับอาชีพการงาน พวกเราไม่ได้ทำเช่นนั้น. นิโคลัส คริสทอฟ (Nicholas Kristof) คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ยกย่องจีนอยู่เสมอ เขาเขียน (ในช่วงก่อนโอลิมปิกที่ปักกิ่ง) ว่า “วันนี้ มันเป็นกีฬา ที่พุ่งทะยานขึ้นจนทำเราประหลาดใจ แต่จีนจะทำสิ่งมหึมาเดียวกันนี้ในศิลปะ ในธุรกิจ ในวิทยาศาสตร์ ในการศึกษา” ซึ่งโดยนัยคือการสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในระบบการศึกษาของจีน แม้กระทั่งในบทความที่เขาวิจารณ์รัฐบาลจีนอย่างรุนแรง ถึงสิ่งที่จีนได้กระทำอย่างโหดร้ายกับผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง. แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่า โอมาบา คริสทอฟ และชาวอเมริกันอื่น ๆ…
-
liberal arts education .. for liberal society ?
การศึกษาแนวเสรี: เป้าหมายในอุดมคติของการศึกษาไทย? โดย สฤณี อาชวานันทกุล (คนชายขอบ) วันนี้ open online ตีพิมพ์ open feature เรื่องใหม่ของเธอ … ‘การศึกษาแนวเสรี: เป้าหมายในอุดมคติของการศึกษาไทย?’ เป็นการตีพิมพ์ในวันที่ เธอกำลังเดินทางข้ามขุนเขาอันคดเคี้ยวอยู่ที่ภูฐาน ซึ่งเธอประกาศกร้าวผ่านเว็บไซต์คนชายขอบของเธอก่อนออกเดินทางแล้วว่า “จะกลับมาเล่าเรื่องเป็นหนังสือให้ได้!” เป็นการตีพิมพ์บทความวิพากษ์วิจารณ์ ยกประสบการณ์ และเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ภายใต้ทิศทางการศึกษาเสรี (Liberal Arts Education) โดยผู้เขียนซึ่งมีประสบการณ์ตรงจากการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อันมีหลักสูตรการศึกษาเสรียอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เป็นการตีพิมพ์บทความเรียกน้ำย่อย เสียก่อนที่บทความพิเศษชุด ‘การศึกษา’ ชิ้นอื่นๆ ของเธอจะตามมาให้อ่านกันเป็นระลอก โปรดอย่ารอช้า รีบคลิกอ่านโดยพลัน ! – มิเช่นนั้น อาจอ่านงานสฤณีไม่ทัน! (ฮา) อ่านไม่ทันจริง ๆ แหละ – – ค้างอยู่เพียบเลย แล้วยังมีที่ OPEN ที่ นอกกรอบ ที่มติชน ฯลฯ อีก –…
-
Plan to live in the Netherlands ? Practice your liberal side.
ต่อไปนี้คนที่จะไปอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ (immigrant) ต้องสอบภาษากับวัฒนธรรมดัชต์ หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า citizenship test ให้ผ่านก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าคนคนนั้น จะสามารถอยู่ในสังคมเค้าได้อย่างปกติสุข เรื่องภาษานี่ก็คงปกติ แต่เรื่องวัฒนธรรมนี่ หนึ่งในการทดสอบของเค้าก็คือ ให้ดูวีดิโอที่มีฉากอย่าง เกย์จูบกัน หรือ ผู้หญิงเปลือยอกเดิน ถ้ารับได้ ก็ยินดีต้อนรับ รับไม่ได้ ก็ไม่ต้องมา แน่นอน มีผู้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายและการทดสอบนี้อย่างมาก บ้างก็บอกว่าเป็นการกีดกันเกินไป แถมข้อสอบบางข้อ แม้แต่คนดัชต์เองก็อาจจะยังไม่รู้ (มีข้อสอบข้อหนึ่งถามว่า เครื่องเทศชนิดนี้มาจากอาณานิคมดัชต์แห่งไหน) บ้างก็บอกว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมดัชต์ ผู้ที่มาใหม่ต้องเข้าใจ “liberal Dutch” (เสรีชนดัชต์) ด้วย จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา จากข่าวเค้าว่า โดยปกติแล้ว สังคมดัชต์เป็นสังคมที่เปิดเผยและเสรีมาก และที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1960-1970 ก็ได้เปิดรับผู้อพยพเข้าไปเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้ มีโมรอคโคและตุรกีเป็นสองชนชาติหลัก ซึ่งบางส่วนก็กลายเป็นปัญหาสังคม อย่างปัญหาอาชญกรรม หรือการว่างงาน ประมาณกันว่า คนว่างงานในเนเธอร์แลนด์นั้น มีสัดส่วนเป็นผู้อพยพถึง 33% ในขณะที่ประชากรผู้อพยพนั้นมีเพียง 20%…