-
How to write good
How to write a plain language.
-
“or less able to stand”
Priority seat For people who are disabled, pregnant or less able to stand
-
"webmaster" คำเจ้าปัญหา สิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์
เว็บมาสเตอร์ (webmaster) เป็นคำจากประวัติศาสตร์ที่มีปัญหา เมื่อตอนเว็บเริ่มต้น ระบบยังไม่ซับซ้อน ยังมีขนาดเล็ก เว็บไซต์ส่วนใหญ่ คนเดียวทำทุกอย่าง ทั้งลงทุน จดทะเบียน เตรียมการเทคนิค ออกแบบหน้าตา ใส่เนื้อหา ดูแลส่วนต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ว่า ทำทุกส่วน รู้ทุกอย่าง ควบคุมได้ทั้งหมด เราจึงเรียกบุคคลคนเดียวนี้ว่า เว็บมาสเตอร์ ซึ่ง master มีความหมายทั้ง ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ(ในการสร้างเว็บไซต์) เป็นผู้มีอำนาจ(ดูแลปกครองเว็บไซต์) และเป็นเจ้าบ้าน(เจ้าของเว็บไซต์) แต่ตอนนี้ลักษณะดังกล่าว ไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเว็บไซต์มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น จึงมีการแบ่งงานกันทำ แยกตามความเชี่ยวชาญ ตามความสามารถและทรัพยากร บางคนเป็นเจ้าของลงทุน บางคนจัดการเรื่องเทคนิคโครงสร้างพื้นฐาน บางคนดูแลเซิร์ฟเวอร์ บางคนออกแบบหน้าตา บางคนดูแลเนื้อหา ฯลฯ การใช้คำว่า เว็บมาสเตอร์ เพียงอย่างเดียว จึงกำกวม ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ทำหน้าที่อะไร และต้องรับผิดชอบในส่วนใดกิจกรรมใดของเว็บไซต์ดังกล่าว เนื่องจากหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว มีผลตามมาทางกฎหมายด้วย เราจึงควรจะระมัดระวังการใช้คำดังกล่าว และระบุหน้าที่ให้ชัดเจน ไม่พูดคำว่า เว็บมาสเตอร์…
-
Lao44 – Free the Lao documents
Lao44 or Coalition for Lao Information, Communication and Knowledge is the largest repository of documents in Lao language. The number 44 in Lao44 refers to Article 44 in the Constitution of Lao PDR, which says: Lao citizens have the right and freedom of speech, press and assembly; and have the right to set up associations…
-
hey, you!
จะมีซักกี่ชาติในบ้านที่เรียกคนแปลกหน้า เหมือนคนในบ้าน ห่า มึงจะบ้ารึ เอาง่ายๆ ภาษาอังกฤษนี่คำว่า you นี่มันก็ใช้ได้กับทุกๆ คนนะโว้ย ไอ้ภาษาศักดินาห่าของพวกมึงน่ะแหละที่แม้แต่สรรพนามบุรุษที่สองมึงยังต้องคิดถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจก่อนใช้ จะเพ้อเจ้อยกกะโปกชาติตัวเองดูตาม้าตาเรือหน่อยสิวะ ป.ล. โทษที หงุดหงิดกับโฆษณานี้มานานแล้ว — FxxkNoEvil, 27 ธ.ค. 2552 technorati tags: propaganda, ads, Thailand
-
หวัด 2009 และ อคติในการยกตัวอย่าง
ช่วงนี้ หวัด 2009 ระบาด รักษาสุขภาพด้วย หลีกเลี่ยงการเอามือมาสัมผัส ตา จมูก ปาก (ทีโซน T-zone) — ลดเสี่ยงทั้งหวัด ทั้งสิว สิ่งที่งานสาธารณสุขห่วงตอนนี้ ไม่ใช่ว่ากลัวมันระบาด มันระบาดไปแล้ว ไม่ต้องกลัว ที่กลัวคือกลัวคนเป็นพร้อม ๆ กันเยอะ ๆ แล้วไปโรงพยาบาลพร้อม ๆ กันคราวเดียว โรงพยาบาลจะรับไม่ไหว คนป่วยโรคอื่น ๆ ก็กระทบไปด้วย เจ้าหน้าที่และทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะรับ peak แบบนั้น แต่ถ้าชะลอการติดเชื้อออกไปได้ ให้มันเกลี่ย ๆ ไม่เป็นพร้อม ๆ กันหมด ระบบสาธารณสุขก็จะรับมือไหว มีอาการ คิดว่าเป็นหวัด หยุดอยู่บ้านเลย ไม่ต้องใส่หน้ากากออกมาเพ่นพ่าน รับข่าวสารได้ทางทวิตเตอร์ @flu2009th และเว็บไซต์ www.flu2009thailand.com … มีโอกาสไปได้ยินผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ แสดงความห่วงใยเรื่องดังกล่าว ขอความร่วมมือให้ช่วยกัน … ก็น่ายินดี มีอะไรช่วยเหลือได้ก็แน่นอน จะทำเต็มที่…
-
oh your highness "highly educated" PAD
จากข่าว พันธมิตรฯ ฮุสตัน ต้อนรับ “หมัก” อบอุ่น, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พ.ย. 2551 : “… ทั้งนี้ เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัสถือเป็นเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีพันธมิตรฯ หนาแน่นมากเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่มีการศึกษา เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ พนักงานบริษัท เป็นต้น” หรือพูดง่าย ๆ ว่า เป็นเมืองที่ไม่ค่อยมี “บาบูน” นั่นเองครับ (เหมาะแก่การอยู่อาศัยของพันธมิตรเป็นอย่างยิ่ง) technorati tags: PAD, education, language
-
[review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)
การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…