-
‘Censorship’ 2.0 : RoyalVDO.com – an organized User-DUPLICATED Content campaign
ดูคำชักชวนและวิธีการ ใน RoyalVDO.com ที่เชิญชวนให้คนนำวีดิโอเกี่ยวกับในหลวงไปอัปโหลดตามที่ต่าง ๆ เยอะ ๆ เพื่อเป็นการ “ถวายงาน” แก่ในหลวงท่านแล้ว ก็เห็นว่าควรจะเขียนอะไรบางอย่าง ก่อนที่อะไร ๆ มันจะบิดเบี้ยวเลยเถิดไปหมดในสังคมนี้ … แม้แนวคิดโดยรวมของ RoyalVDO.com นั้น “เชื่อได้ว่า” คงจะมีเจตนาดี ผมพบว่ามัน “เกินพอดี” ไปหน่อย … จากหน้า เกี่ยวกับ ของเว็บไซต์ดังกล่าว : หากมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ช่วยกัน DownLoad คลิปวิดีโอ แล้วนำไป UpLoad เข้าใน YouTube หรือเว็บ อื่นๆ วันละตอน สองตอน หรือมากกว่า จนรวมกันได้มาก เป็นหมื่น เป็นแสน หากจะมีการสืบค้น โดยใช้คำ ว่า King Thai หรือ King of Thailand หรืออื่นๆ ก็จะพบเป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง…
-
But you have to click!
เดี๋ยวนี้เค้าคาดคั้นแฮะ จะไม่คลิกก็ไม่ได้นะ เพราะเค้ากำชับมาเลย ว่าจะ YES จะ NO ก็เอาเหอะ แต่ยูต้องคลิกนะเฟ้ย! (สุดยอด) kko has added you as a friend Is kko your friend? YES NO Click Yes if kko is your friend, otherwise click No. But you have to click! Please do not reply directly to this email. This email was sent to you at the request…
-
Trusted Computing ?
(vdo page link) An animated short story questioning Trusted Computing, created by LAFKON (under Creative Commons Sampling+ license) Can You Trust Your Computer ? by Richard Stallman (of Free Software Foundation) Who Owns Your Computer ? by Bruce Schneier (cryptographer) [ via fringer.org ] technorati tags: trusted computing, against, TCPA, againsttcpa
-
democratic potential of Internet in South Korea, lecture by Yoohee Kim
Democratic Potential of Internet in South Korea special lecture by Yoohee Kim Tuesday, July 29, 2008. 15:00-16:30 @ room 3003, SC building, Thammasat University, Rangsit Campus more info: 0-2564-5000 www.asia.tu.ac.th ศักยภาพประชาธิปไตยของอินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้ บรรยายพิเศษ โดย ยูฮี คิม (Yoohee Kim) (บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ) อังคารที่ 29 ก.ค. 2551 15:00-16:30 น. @ ห้อง 3033 อาคารกลุ่มสังคมศาสตร์ (SC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ข้อมูลเพิ่มเติม: 0-2564-5000 www.asia.tu.ac.th จัดโดย…
-
Protect Our Internet (English translation + Facebook)
followed up the previous post (get the media kit there). ผู้ใช้ Facebook เข้าร่วมกลุ่ม Protect Our Internet group หรือเพิ่มแอพพลิเคชั่น Protect Our Internet application ได้ตามสะดวกครับ [ ผ่าน pittaya ] Manifesto from Internet users and bloggers who support rights and freedom of expression on the Internet 29 May 2008 Subject: A call for accountability from Thepthai Senpong and…
-
Protect Our Internet — online petition
จาก http://gopetition.com/online/19589 (ดูต้นฉบับ และร่วมลงชื่อได้ที่ลิงก์ดังกล่าว) แถลงการณ์จาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 29 พฤษภาคม 2551 เรื่อง ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ และขอเชิญชวนพลเมืองทุกคนร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามที่นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์อันตรายที่ส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ ตามข่าวทางสื่อมวลชนทั่วไป ความแจ้งแล้วนั้น พวกเราดังมีรายนามข้างท้ายมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. เราเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ต้องได้รับการเคารพและปกป้อง สังคมประชาธิปไตยทุกสังคม ที่ปรารถนาความสงบสุข สันติภาพ และความสมานฉันท์ จำเป็นต้อง ส่งเสริม และ ปกป้อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเต็มที่ เหตุเพราะความเคารพและความเข้าใจอันดีต่อกัน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่ผู้คนมีความแตกต่างหลากหลาย และหนทางเดียวที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเคารพกันได้ คือสภาพสังคมที่เอื้อให้ทุก ๆ คน มีสิทธิเสรีภาพในแสดงออกด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ประตูที่จะนำไปสู่ความยอมรับเคารพซึ่งกันและกัน จะถูกปิดตาย เมื่อปากและใจของเราถูกบังคับให้ปิดลง 2. เราไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง รายชื่อเว็บไซต์และเว็บล็อกส่วนใหญ่ที่ถูกระบุชื่อ มิได้นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่หมิ่นพระมหากษัตริย์…
-
Netizen Unite!
ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ (ปุ๊ก) เว็บมาสเตอร์ 212cafe.com ได้ประกันตัวแล้ว — หลังนอนในห้องขังหนึ่งคืน อ่านบล็อกของปุ๊ก: 212cafe.com เป็นข่าว! เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ มติชน ออนไลน์ และ ผู้จัดการ ออนไลน์ ลงข่าวชวนเข้าใจผิด และตัดสินปุ๊กไปแล้วในข่าว-โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ปรากฎ มติชนพาดหัวว่า “จับเว็บมาสเตอร์เว็บโป๊ แพร่ภาพคลิปลับว่อนเน็ต” ถ้านักข่าวมติชนใช้เวลาสักหนึ่งนาทีดูเว็บไซต์ 212cafe.com เสียหน่อย ก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เว็บโป๊ (เว็บไซต์ที่มีแต่ภาพโป๊หรือเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ผู้จัดการพาดหัวว่า “ปดส.จับเจ้าของเว็บลามก แพร่ภาพเริงรักหนุ่มสาว” พร้อมลงรูปประกอบข่าว รูปหนึ่งเป็นภาพจับหน้าจอจากเว็บโป๊แห่งหนึ่ง-ซึ่งไม่ใช่ 212cafe.com ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่านั่นเป็นภาพที่จับหน้าจอมาจากเว็บ 212cafe.com (ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแล้ว-แต่ไม่ได้แจ้งว่ามีการเปลี่ยนเกิดขึ้น) อันนั้นเป็นเรื่องของการนำเสนอในสื่อ-การตัดสินโดยพาดหัว อีกเรื่องก็คือ มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีหรือการ “ขอความร่วมมือ” เรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมาการ “ขอความร่วมมือ” มีในลักษณะด้วยจาวาทางโทรศัพท์บ่อย ๆ คำถามคือ มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม กับการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อีกฝากหนึ่งของโทรศัพท์ ที่ขอความมือมานั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น…
-
The Future of the Internet–and How to Stop It
อนาคตของอินเทอร์เน็ต และจะหยุดมันอย่างไร เจอหนังสือเล่มนี้จากเว็บ EFF (มูลนิธิ Electronic Frontier Foundation — องค์กรต่างชาติ!) The Future of the Internet—and How to Stop It โดย Jonathan Zittrain ศาสตราจารย์ด้านการปกครองและการวางระเบียบอินเทอร์เน็ต ที่ Oxford Internet Institute หนังสือนี้อธิบายถึงกลจักรสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเติบโตและแพร่หลายไปทั่วอย่างทุกวันนี้ และเผยให้เห็นว่า ปัญหาต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ก็เกิดมาจากความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตเอง และโดยไม่รู้ตัว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกันเองนี่แหละ ที่จะนำมันไปสู่ระบบที่ถูกล็อก ทำให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ก็จะถึงจุดจบ และนั่นก็จะนำไปสู่การควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยคนไม่กี่กลุ่ม หนังสือยกตัวอย่างถึง ไอพอด ไอโฟน เครื่องเล่นเกม เอกซ์บ็อกซ์ และกล่องรับทีวี ทิโว ซึ่งเป็นคลื่นลูกแรกของเครื่องใช้ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่ไม่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปแก้ไขดัดแปลงมันได้โดยง่าย เว้นแต่จะเป็นผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น “เครื่องใช้ที่ถูกพันธนาการ” นี้ ไม่ค่อยเป็นที่รู้กันนักว่าเกิดขึ้น แต่สิ่งที่มันทำนั้น…
-
On various little and BIG things
ปรับปรุง 2008.03.31: แก้สะกดผิด (สระเกิน ที่มองไม่เห็นบนวินโดวส์) เพิ่มลิงก์พี่ไตร แสงศตวรรษ และ technorati แปะคลิป / และตกลง network interface ไม่ได้เจ๊งครับ ปรากฎว่าสงสัยจะ update package อะไรไปแล้วมันเจ๊ง พอลงโอเอสใหม่ มันก็ใช้ได้เหมือนเดิมครับ เน็ตเวิร์ก (ตอนนี้ใช้ Ubuntu 8.04 Beta อยู่) คลิป Kapook ชวนคุย วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2550 ที่บ้านไร่กาแฟ ขึ้นแล้วนะครับ (ตั้งแต่เมื่อวานเที่ยง ๆ ได้ ผมเพิ่งจะต่อเน็ตได้ network interface โน๊ตบุ๊คเจ๊ง) ที่ Duocore http://duocore.tv/ (ตอนพิเศษ xxx.kapook.com) ที่ FukDuk http://fukduk.tv/ (รอ 1 เม.ย. รายการ…
-
(Nearly) Free Speech hosting
เมืองไทยมีอะไรแบบนี้ไหม ? แล้วใครเคยใช้บ้าง จริงไหม ? กด ๆ ดู invisiblog.net (ซึ่งเหมือนจะหยุดให้บริการไปแล้ว) ก็ไปเจอบริการเว็บโฮสต์นี้เข้า NearlyFreeSpeech.Net น่าสนใจ นี่นโยบายความเป็นส่วนตัวของเขา: Privacy Policy ก็ประมาณว่า ไม่ขายข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้ (คำว่า ข้อมูลที่จะระบุตัวตนบุคคลได้ แปลจาก personally identifiable information ซึ่งเป็นคนละอย่างกับ ข้อมูลส่วนบุคคล personal information — อย่าง IP address บางคนอาจจะว่ามันไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล แต่มันเป็นข้อมูลที่จะระบุตัวตนได้แน่ ๆ) ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้บริการ (เว้นว่ากฎหมายกำหนดไว้) จะพยายามแจ้งเตือนผู้ใช้บริการทุกครั้ง ที่มีการบังคับให้เปิดเผยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้ (เว้นว่ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ) จะให้ความร่วมมือในการสืบสวนกับหน่วยงานรัฐของสหรัฐอเมริกา เมื่อตามกฎหมายจำเป็นต้องทำ การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับกฎหมายจากประเทศอื่น และการร่วมมือในกรณีที่ตามกฎหมายแล้วมันไม่จำเป็น จะอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ให้บริการ – โดยจะพิจารณาสนับสนุน เสรีภาพและความยุติธรรม และไม่สนับสนุน การกดขี่และความรุนแรง ผู้ให้บริการจะแจ้งผู้ใช้บริการถึงการร่วมมือใด ๆ ที่ผู้ให้บริการมอบให้กับหน่วยงานบังคับกฎหมายใด ๆ (เว้นว่ากฎหมายห้ามไม่ให้ทำ)…