-
โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลาง วงโคจรไม่ได้เป็นวงกลม และ “วิทยาศาสตร์แย่ๆ” แบบ epicycle
โมเดลคณิตศาสตร์ของโคเปอร์นิคัสทำให้ ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ได้เป็นเพียง “การพินิจพิเคราะห์ทางปรัชญา” (philosophical speculation) อีกต่อไป แต่กลายสถานะเป็น “ดาราศาสตร์ที่ใช้เรขาคณิตและมีพลังในเชิงพยากรณ์” (predictive geometrical astronomy)
-
อยากให้ใครอยู่ในแบงก์?
การจะเลือกบุคคลสักคนหรือสักกลุ่มหนึ่งไปอยู่ในธนบัตร เราคงเดากันได้ไม่ยากว่า คนเหล่านั้นจะต้องมีความสำคัญกับประเทศหรือดินแดนนั้นมากแน่ จึงได้รับเลือกไปอยู่ในสิ่งของที่คนเกือบทุกคนใช้กันอยู่เกือบทุกวัน … เมื่อวานเพื่อนในเฟซบุ๊ก ลองคิดเล่น ๆ ว่าถ้าเมืองไทยจะลองออกธนบัตร อาจจะเป็นธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษ เราจะลองเลือกใครมาอยู่ในธนบัตรได้บ้าง ขอเอามาแปะต่อ …
-
ปรีดี พนมยงค์: “ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร” และ “การแก้ไขวิกฤตประเทศไทย”
นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 50 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย คลิปเสียง 1, คลิปเสียง 2 จาก Thai E-News ปรีดี : ผมก็พักผ่อนอยู่บ้านบ้าง นั่งรถไปทัศนาจรบริเวณใกล้ ๆ บ้าง เขียนหนังสือหรือบทความบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งของไทยและของต่างประเทศ ฟังวิทยุกระจายเสียงและดูโทรทัศน์บ้าง โดยเฉพาะผม เป็นแฟนของข่าวบีบีซีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งตอนอยู่ในประเทศจีน และระหว่างอยู่ในฝรั่งเศสนี้ ก็ฟังวิทยุบีบีซี ทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสในตอนเช้าและภาคภาษาอังกฤษในตอนกลางคืนอีก แต่ภาคภาษาไทยฟังไม่ได้เพราะบีบีซี ส่งข้ามไปภาคตะวันออกไกลเสีย ผู้สื่อข่าวบีบีซี : ผมอยากจะขอความกรุณาให้ท่านมองย้อนหลัง เรื่องประชาธิปไตยในเมืองไทย ในฐานะที่เป็นผู้ก่อการจะได้มั้ยครับ ปรีดี : ได้ครับ ในฐานะผู้ก่อการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ผมมองย้อนหลังดังต่อไปนี้ ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร 2 ประเภท คือความผิดพลาดบกพร่องที่เหมือนกับทุก ๆ ขบวนการเมือง…
-
แอนิเมชัน – ประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต
แอนิเมชันเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต มันไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นโดยนักประดิษฐ์คนเดียวหรือกลุ่มเดียว แต่เกิดจากความพยายามในการสร้างเครือข่ายเพื่องานวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง และเชิงพาณิชย์ ในศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างคนต่างทำ ด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละคนก็เรียนรู้แนวคิดของกันและกัน สร้างมาตรฐานที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เชื่อมต่อกัน และกลายเป็นอินเทอร์เน็ต แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการ ARPANET (สหรัฐอเมริกา) แนวคิด packet-switching ถูกสร้างขึ้นที่ National Physical Laboratory (สหราชอาณาจักร) (พร้อม ๆ กับที่ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ) เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งของเครือข่าย แนวคิด distributed computer network ถูกสร้างขึ้นศูนย์วิจัย RAND เพื่อให้มันใจว่าระบบจะยังทำงานแม้โหนดจำนวนหนึ่งในเครือข่ายจะทำงานไม่ได้ แนวคิด inter-networking (การเชื่อมต่อของเครือข่ายกับเครือข่าย) และแนวคิดการส่งผ่านข้อมูลโดย physical layer ถูกสร้างขึ้นในโครงการ CYCLADES (ฝรั่งเศส) ที่ Institut de Recherche d’lnformatique…
-
history and mobility, the mobile personal and the mobile phone
โพสต์รูปเก่า ๆ ลงเฟซบุ๊ก มีเพื่อนคนนึง ว่ารูปนี้ถ่ายจากกล้องอะไร สีสวยดี มันคือกล้องของมือถือ Sony Ericsson K700i ผมก็ชอบสี ชอบ ‘เกรน’ ของมันด้วย ผมมีชีวิตช่วงหนึ่งที่ผูกพันกับมือถือเครื่องนี้ จำได้ว่าซื้อมันหลังส่ง dissertation อะไรประมาณนี้ อยากได้มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ซื้อ พอดีที่ชาร์จมือถือเครื่องเก่าสายมันขาดพอดี ถูกเก้าอี้ในห้องแล็บคอมทับกระจุย ก็เลยถือโอกาสซื้อเลย อยากซื้อของแก้เครียดด้วย เป็นอีกเหตุ จำได้ว่าช่วงใกล้ ๆ กันก็ซื้อรองเท้าด้วย ผ้าใบ Diesel ที่ลดราคาเหลือ 25 ปอนด์ คู่ที่ใส่อยู่ตอนนั้นมันเจ๊งมาก ๆ แล้ว และหน้าหนาวกำลังจะมา K700i เครื่องนี้เป็นหลายอย่าง มันถือเป็นกล้องดิจิทัลตัวแรกในรอบสองสามปีนั้นของผม (ก่อนหน้านี้มีตัวนึง พี่ ๆ ที่ Sun ซื้อให้เป็นของขวัญ แต่โดนงัดจากรถไป พร้อม ๆ กับโน๊ตบุ๊ก โลโม ซาวนด์เบาท์ และปาล์ม!) มันเป็นวิทยุและเครื่องเล่น mp3…
-
(เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.
เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…
-
Sulak Sivaraksa says ‘NO’ to Kukrit Pramoj
“ … วิธีการเช่นนี้ คุณชายคึกฤทธิ์ใช้มากับผมและบุคคลอื่นๆ ที่เธอรังเกียจก่อนแล้วที่สยามรัฐ ก็ถ้าสื่อมวลชนใช้อคติส่วนตัวของผู้บริหารสูงสุดเป็นตัวกำหนด ว่าควรเอ่ยชื่อใครหรือไม่ และบทความของใครควรลงพิมพ์หรือไม่ โดยที่คนๆ นั้นเป็นคนที่ผู้บริหารสูงสุดรังเกียจเสียแล้วละก็ สื่อมวลชนดังกล่าวมีความเป็นกลางละหรือ รักสัจจะหรืออาสัตย์อาธรรม์กันแน่ แม้อนันตริยกรรมข้อนี้ ประการเดียว บุคคลคนนั้น ยังควรได้รับยกย่องให้เป็นคนสำคัญของโลกอีกละหรือ โดยไม่จำต้องเอ่ยว่าสี่แผ่นดิน นั้นเป็นนวนิยายที่ใช้ล้างสมองให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของเลว ราชาธิปไตยเป็นของวิเศษ ชาติวุฒิสำคัญยิ่งกว่าคุณวุฒิของสามัญชนคนธรรมดา และแล้วเราก็ยังถูกสะกดให้อยู่ในอีหรอบนี้อยู่ หรือมิใช่ … ” ส.ศิวรักษ์ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงบรรณาธิการไทยโพสต์ เพื่อแสดงความเห็นต่อบทความ “คึกฤทธิ์คนสำคัญของโลก” ในคอลัมน์ บังอบายเบิกฟ้า ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2552 แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อยูเนสโกเพื่อให้รับรองเป็นบุคคลสำคัญของโลก นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลทำประชามติก่อน หากจะมีการเสนอชื่อผู้ใด ไม่ใช่ทำกันแต่เป็นการภายใน โดยไม่สนใจประชาชน (ถัดจากนี้คือเนื้อความในจดหมายดังกล่าว) : ๑๒๗ ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ บางรัก กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ เรียนบรรณาธิการไทยโพสต์ ผมรู้จักคุณธรรมเกียรติ…
-
Chulalongkorn Department of History Seminar 2/2551
(บล็อกไม่ค่อยได้อัป ก็แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ไปพลาง ๆ ก่อนนะครับ :p) สัมมนาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาคการศึกษาปลาย 2551 สถานที่ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 13.00-16.00 น. จันทร์ 24 พฤศจิกายน 2551 “สถานะทางความรู้ของหนังสือการเมืองภายหลังการปฏิวัติ 2475 (2475-2484)” โดย ณัฐพล ใจจริง นิสิตระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จันทร์ 15 ธันวาคม 2551 “ประวัติศาสตร์และการเมืองของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จันทร์ 26 มกราคม 2552 “สถานะของพุทธศาสนาในสังคมไทย หลัง 14 ตุลา” โดย มโน เมตตานันโท เลาหวณิช ประธานมูลนิธิ ชีวันตารักษ์…
-
design/social/tech links at late night
from Tactical Technology Collective: Digital Security and Privacy Toolkit for Human Rights Defenders แนะนำเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะสำหรับผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน Visualizing Information for Advocacy: An Introduction to Information Design รณรงค์ด้วยภาพที่โดน NGO-in-a-box ซอฟต์แวร์เสรีเพื่องานพัฒนาเอกชน Ubuntu Eee ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเล็กให้คุ้มค่า History of Graphic Design 2008 ความเป็นมาของการออกแบบกราฟิกจนถึงปัจจุบัน Design Matrix of the 20th Century (industrial design) ใครอะไรที่ไหนในแวดวงออกแบบอุตสาหกรรม [ via anpanpon ] technorati tags: design+history, tactical technology, information…
-
History of TLWG and LTN, by Ott
ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม Thai Linux Working Group (TLWG) และเว็บไซต์ Linux.Thai.Net (LTN) เขียนโดยพี่อ็อท ภัทระ เกียรติเสวี (Ott) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มจัดทำเว็บไซต์ดังกล่าว พี่อ็อทมีส่วนร่วมกับการพัฒนาลีนุกซ์ในเมืองไทยตั้งแต่ช่วงแรก ๆ คือ Linux-SIS เอกสารนี้คัดลอกมาจาก http://linux.thai.net/plone/about/history ซึ่งปัจจุบันส่วน Plone ซึ่งเป็น CMS ตัวเดิมของ Linux.Thai.Net นั้นเลิกใช้แล้ว ด้วยความกลัวว่าจะสูญหายไป จึงขออนุญาตคัดลอกมาไว้ ณ ที่นี้ครับ ตามบันทึกเอกสารนี้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 ลิงก์ต่าง ๆ ด้านล่างนี้ เป็นไปตามเอกสารต้นฉบับ ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ (บางลิงก์ก็ตายแล้ว เช่น http://linux.thai.net/old-proposal.html) รวมถึงตัวสะกดทุกอย่างก็คงไว้อย่างเดิมด้วย เพื่อเหตุผลในการอ้างอิง — สำหรับลิงก์ที่ผมคิดว่าน่าจะเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อประโยชน์ในค้นคว้าเพิ่มเติม จะรวบรวมเอาไว้ด้านท้ายเอกสารทั้งหมดครับ (หลังคำว่า [จบเอกสาร]) [เริ่มเอกสาร] History of TLWG…