-
repost: Theppitak on "Opensource Mindset"
พบสิ่งบันเทิงใจจาก Planet TLWG พี่เทพ โพสต์เล่าเรื่องบทความ การคิดแบบโอเพนซอร์ส (Open Source Thinking) ใน วารสาร OpenSource2Day ฉบับที่ 13 และย้อนอ้างถึงโพสต์ที่พี่เทพเคยเขียนไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมโอเพ่นซอร์ส อาจารย์ [อ.ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์ แห่ง ม.บูรพา] ได้เปรียบเทียบพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาบางกลุ่มที่ไม่ค่อยลงแรงอะไรกับวิชาเรียน กับ mindset ของ “ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส” ว่าแตกต่างกันปานใด ซึ่งอาจารย์ได้สาธยาย mindset ดังกล่าวไว้ได้ชัดเจนครบถ้วน เลยขอยกมากล่าวถึงในที่นี้บางส่วน ตัวอย่างเช่น: ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แม้จะมีซอฟต์แวร์ที่ดีกว่าให้ใช้ เพราะเขาต้องการซอร์สโค้ด (อันที่จริง อาจจะพูดได้อีกอย่างว่า ต้องการเสรีภาพ สำหรับผม ผมใช้คำว่า “ใช้แล้วสบายใจ” เพราะการมีซอร์สโค้ดก็หมายความว่า ผมจะสามารถดัดแปลงซ่อมแซมอะไรเองได้ ซอฟต์แวร์เป็นของผมอย่างเต็มที่) ผู้ที่มีความเชื่อในโอเพนซอร์ส จะมีปฏิกิริยาเชิงรุกเมื่อพบปัญหา โดยจะพยายามค้นหาวิธีแก้จากอินเทอร์เน็ต อ่านเอกสาร ทดลองทำ หรือกระทั่งนั่งดีบั๊ก แต่ก็ไม่ได้ทำอย่างนี้กับทุกเรื่อง จะทำเฉพาะในโปรแกรมที่สนใจ…
-
[30 Oct] Richard Stallman to give a keynote at FLossEd Bangkok
ฝากบอกต่อครับ ริชาร์ด สตอลล์แมน ผู้ริเริ่มแนวคิด copyleft และ ซอฟต์แวร์เสรี จะปาฐกถาเปิดงานซอฟต์แวร์เสรีเพื่อการศึกษา FLossEd BK ศุกร์ 30 ตุลานี้ 19:30น. ที่โรงเรียนนานาชาติ เค.ไอ.เอส. ห้วยขวาง [แผนที่] Richard M. Stallman, of copyleft and Free Software Foundation, will give a keynote speech at FLossEd BK conference, at KIS International School, Bangkok. 19:30. Friday, October 30, 2009. [map] http://flossedbk.flossed.org technorati tags: Richard Stallman, free software, keynote,…
-
The Condition of Free Culture
(เงื่อนไขสู่วัฒนธรรมเสรี) ขอคิดต่อจากพี่เทพ … เป็นไปได้ว่า เหตุหนึ่งที่ free culture หรือ วัฒนธรรมเสรี นั้นยังไม่แพร่หลายหรือไปไม่ถึงไหนในบางสังคม ก็เพราะ วัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ ไปกันไม่ได้กับแนวคิด เสรี เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมเสรี … เสรี = ไม่ต้องขออนุญาต คุณสมบัติหลักของ สัญญาอนุญาตแบบเปิด (open licenses) ก็คือ การผู้นำไปใช้ไม่ต้องขออนุญาตผู้ถือครองลิขสิทธิ์ เพียงผู้นำไปใช้ ตกลงยินดีที่จะทำตามเงื่อนไข ที่ทางผู้ถือครองลิขสิทธิ์ประกาศเอาไว้แล้ว-อย่างชัดแจ้ง-ต่อสาธารณะ เขาก็มีสิทธิจะใช้งานนั้นในทันที สิ่งนี้แปลว่า ถ้าคุณทำตามกติกาเดียวกัน ข้อตกลงเดียวกัน คุณก็จะได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน แต่สิ่งง่าย ๆ แบบนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องลำบากในสังคมหลายมาตรฐาน ที่กติกาเดียวกันก็มักจะให้ผลกับคนกลุ่มต่าง ๆ ต่างกัน … เป็นไปได้เช่นกันว่า เหตุหนึ่งที่วัฒนธรรมเสรี นั้นถูกเข้าใจเพี้ยน ๆ ไป เช่นว่า เสรี ก็คือ ให้ใช้ฟรี แค่ขออนุญาตกันก็พอ นั้นก็เพราะ…
-
History of TLWG and LTN, by Ott
ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม Thai Linux Working Group (TLWG) และเว็บไซต์ Linux.Thai.Net (LTN) เขียนโดยพี่อ็อท ภัทระ เกียรติเสวี (Ott) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มจัดทำเว็บไซต์ดังกล่าว พี่อ็อทมีส่วนร่วมกับการพัฒนาลีนุกซ์ในเมืองไทยตั้งแต่ช่วงแรก ๆ คือ Linux-SIS เอกสารนี้คัดลอกมาจาก http://linux.thai.net/plone/about/history ซึ่งปัจจุบันส่วน Plone ซึ่งเป็น CMS ตัวเดิมของ Linux.Thai.Net นั้นเลิกใช้แล้ว ด้วยความกลัวว่าจะสูญหายไป จึงขออนุญาตคัดลอกมาไว้ ณ ที่นี้ครับ ตามบันทึกเอกสารนี้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 ลิงก์ต่าง ๆ ด้านล่างนี้ เป็นไปตามเอกสารต้นฉบับ ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ (บางลิงก์ก็ตายแล้ว เช่น http://linux.thai.net/old-proposal.html) รวมถึงตัวสะกดทุกอย่างก็คงไว้อย่างเดิมด้วย เพื่อเหตุผลในการอ้างอิง — สำหรับลิงก์ที่ผมคิดว่าน่าจะเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อประโยชน์ในค้นคว้าเพิ่มเติม จะรวบรวมเอาไว้ด้านท้ายเอกสารทั้งหมดครับ (หลังคำว่า [จบเอกสาร]) [เริ่มเอกสาร] History of TLWG…
-
bbs, modem people, hackerdom in Thailand, call for history…
If you have any info/pointer you think it may (or may not) related, please do send them to me at arthit # gmail,com or just leave a comment below. Thank you. The finished work will be published online under Creative Commons License, for the benefits of everyone. ผมกำลังทำการบ้านอยู่ครับ จะทำเรื่องวัฒนธรรมแฮกเกอร์ในเมืองไทย ใครมีข้อมูลบอกมาเลยนะครับ ผมอาจจะขอสัมภาษณ์ด้วยใครอยู่ในยุคบีบีเอส ยุค ZzzThai, LTN, TLWG…
-
Let’s close it
Let’s close Firefox Thai bug reports บรรยากาศ ปิดงานบั๊กภาษาไทยในไฟร์ฟอกซ์ ตอนนี้คึกคัก (เช่นคุณ kengggg ที่วันนี้กระหน่ำ add cc บั๊กต่าง ๆ :P) ซึ่งหลาย ๆ คนก็ได้พยายามประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ ให้มาช่วยทดสอบกันหน่อย เพราะที่ผ่านมา มีการแก้ไขไปแล้วหลายส่วน แต่ยังไม่มีการทดสอบกันเท่าไหร่นัก ทำให้บางบั๊กยังปิดไม่ได้ (เพราะไม่แน่ใจว่าแก้ได้จริงรึยัง หรือแก้อันนี้แล้วไปทำให้เกิดบั๊กที่อื่นรึเปล่า ฯลฯ) ซึ่งก็มีทั้งการส่งเมลหากัน หรือบอกกล่าวกันในบล็อก เช่นทีมาร์คโพสต์ไป 3 ที่ (ความเห็นของมาร์คและหลาย ๆ คนในโพสต์นั้น น่าสนใจ ลองไปอ่านกันดู จะเห็นทัศนคติที่หลากหลาย) ข้อสังเกตหนึ่งที่ผมเห็น จากการติดตามดูความเคลื่อนไหวใน bugzilla ก็คืองาน contribution จากผู้ใช้ ลีนุกซ์ กับ แมคโอเอส มีมากกว่าจาก วินโดวส์ ?? ไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเปล่า นี่ไม่พูดถึงเรื่องโค้ดนะครับ (ซึ่งหลัก ๆ…
-
Where all the Codes come from ?
ไปดูการศึกษาว่าโค้ดต่าง ๆ ใน FLOSS (ซอฟต์แวร์เสรี/ซอฟต์แวร์ต้นรหัสเปิด) มีที่มาจากไหนกันครับ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานที่จัดทำโดยสหภาพยุโรป Rishab Aiyer Ghosh (November 20, 2006). Study on the: Economic impact of open source software on innovation and the competitiveness of the Information and Communication Technologies (ICT) sector in the EU [PDF] the European Communities. การศึกษานี้ ใช้ Debian 3.1 (รุ่นปี ค.ศ. 2005) ซึ่งเป็นชุดลีนุกซ์ยี่ห้อหนึ่ง เป็นกรณีศึกษา ตารางแรก ดูว่ามหาวิทยาลัย/ศูนย์วิจัยที่ไหน ที่มอบโค้ดให้กับ FLOSS…
-
Stallman lecture @ Zagreb 2006
บันทึกการบรรยาย โดย ริชาร์ด สตอลแมน ที่ ซาเกร็บ โครเอเชีย เมื่อ 6 มี.ค. 2549 พูดถึงเรื่อง GNU, FSF, เสรีภาพ, ซอฟต์แวร์เสรี, Unix, Linux, “Treacherous Computing” (คอมพิวเตอร์ที่ทรยศ), กฎหมาย DMCA และ EUCD, สิทธิบัตรซอฟต์แวร์, ซอฟต์แวร์เสรีกับโรงเรียน, และความเห็นต่อ Mono, BSD, Creative Commons ฯลฯ [ลิงก์ FSF Europe | ผ่าน OSNews] technorati tags: Richard Stallman, lectures, GNU, free software, FSF
-
Free Software Culture
รวมบทความเกี่ยวกับ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซอฟต์แวร์เสรี และโอเพนซอร์ส สำรวจ วัฒนธรรมแฮกเกอร์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมซอฟต์แวร์เสรี และกระบวนโอเพนซอร์ส เพื่อทำความเข้าใจด้านที่นอกเหนือไปจากเรื่องเทคโนโลยี ของ การเคลื่อนไหวซอฟต์แวร์เสรี บทความทั้งหมดนี้ เขียน/แปลโดยอาสาสมัครจาก (หรือมีความเกี่ยวข้องกับ) linux.thai.net ชุมชนซอฟต์แวร์เสรีรุ่นบุกเบิกชุนชนหนึ่งของไทย มาเป็นแฮ็กเกอร์กันเถอะ! เนื้อหาบางส่วนอ้างอิงจาก How to become a Hacker ของ Eric Steven Raymond (ESR) บทความสั้น วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ใครคือแฮ็กเกอร์ พวกเขาทำอะไร และจะเป็นได้อย่างไร มหาวิหารกับตลาดสด แปลจาก The Cathedral and the Bazaar ของ ESR บทความชุด สำรวจวัฒนธรรมโอเพนซอร์ส ทำไมโครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จ จึงประสบความสำเร็จเช่นนั้น วิธีทำงานกับซอฟต์แวร์เสรี แปลจาก Working on Free Software ของ Havoc Pennington…
-
Thailand, FOSS, and Community
(ขอรวมมันที่เดียวเลยละกัน ไปตามแก้โพสต์ก่อน ๆ แล้วงง – -“) รายงาน TLUG รายงาน มัลติมีเดีย และรวมลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ Blognone TLUG Resurrection รายงานประเด็นต่าง ๆ ในงานเสวนา โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ รายงาน : เสวนาโอเพนซอร์ส “อนาคตโอเพนซอร์สไทย” รายงาน และสัมภาษณ์พิเศษคุณเทพพิทักษ์ พร้อมมัลติมีเดีย และลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ พลวัต Thailand FOSS Retrospects ย้อนมองวงการซอฟต์แวร์เสรีเมืองไทย บทความวิเคราะห์ โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ รวมบทความ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซอฟต์แวร์เสรี และโอเพนซอร์ส สำรวจและทำความเข้าใจกับ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมซอฟต์แวร์เสรี และกระบวนโอเพนซอร์ส มีบทความเด่น เช่น มหาวิหารกับตลาดสด วีดิโอของงาน TLUG อนาคตโอเพนซอร์สไทย ตัดมาเฉพาะตอนที่เกี่ยวกับชุมชน ดูวีดิโอทั้งหมดได้ที่…