Tag: etymology

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • Thai spelling of "Lanna"

    จากเว็บ โลกล้านนา, เขาว่างี้: ล้านนา หรือ ลานนา ? ข้อถกเถียงนี้เกิดจากในอดีตธรรมเนียมการเขียนไม่เคร่งครัดการใส่วรรณยุกต์ คัมภีร์ใบลานจำนวนมากจึงมีทั้งคำ “ล้านนา” และ “ลานนา” ปรากฏอยู่ มีหลักฐานว่าในภายหลัง คือช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อักษรธรรมล้านนาจึงมีรูปวรรณยุกต์ อย่างไรก็ตามผู้คนในช่วงนั้นยังคงเคยชินกับการใส่หรือไม่ใส่วรรณยุกต์ก็ได้ จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า ธรรมเนียมการเขียนแบบไม่ต้องกำกับวรรณยุกต์โท แต่ให้อ่านออกเสียงแบบวรรณยุกต์โทกำกับ ธรรมเนียมนี้มีสืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ล้านนา มีศัพท์ที่มีภาษาบาลีกำกับ โดยสืบพบจากท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นๆ อีก จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง ในภาษาบาลีว่า “ทสลกฺขเขตฺตนคร” อ่านว่า (ทะ-สะ-ลัก-ขะ-เขต-ตะ-นะ-คอน) แปลความได้ว่า “เมืองสิบแสนนา” หมายถึงดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน เป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร “ล้านช้าง” คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว หรือช้างร้อยหมื่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา ในหมู่นักวิชาการระดับสูงจำนวนหนึ่งพบคำว่า “ล้านนา” เป็นคำที่ถูกต้องแล้ว และชัดเจนมากขึ้นเมื่อ ดร.ฮันส์ เพนธ์เสนอบทความใน พ.ศ. 2523 ยืนยันการพบคำล้านนาในศิลาจารึกวัดเชียงสา ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ…