-
2 Mar 2008
เมื่อคืนฝันว่า ยืมรถน้องคนเล็กไปมหาลัย จอดไว้ใต้ต้นไม้ พองานเลิกออกมา ปรากฎว่ากระโปรงหน้าถูกทุบมีรอยไหม้ ประตูหน้าถูกปลดด็อก และเครื่องถูกถอดหายไปแล้ว โอ้ว~ สะลึมสะลือเปิดตา เฮ้ย เรานอนกลิ้งมาอยู่ข้าง ๆ น้องคนที่ว่า ตกใจตื่นเลย กลัวมันรู้ว่าเราทำรถมันหาย เอ้ย นี่มันฝันไปนี่หว่า ไม่ใช่! วันนี้ไปเลือกตั้ง นั่งรถเมล์กลับบ้าน ราคา 3.75 บาท วู้ว~ กานต์ ยืนยง, เมื่อเราถูกสาป ให้จดจำประวัติศาสตร์อย่างกระพร่องกระแพร่ง วิทยากร บุญเรือง, ขอโทษด้วย ที่ผมเคยไปเลือกทักษิณ! technorati tags: me, bus, dream
-
Quotes of the Week (yes politics again, and I won’t say sorry dude)
“การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว คนทุกคนมีสิทธิ์สร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศชาติได้ ถ้าเราเชื่อมั่นว่า การเมืองเป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่ของใคร” — ตุล ไวฑูรเกียรติ, นักดนตรี “ถ้าปล่อยมันลอยผ่านหน้าไปเฉย ๆ แล้วมายืนด่าภายหลังมันไม่ช่วยอะไรขึ้นมา” “ความหวัง มีสิ แต่มีแล้วต้องทำ นี่คือประเด็น” — จิรนันท์ พิตรปรีชา, นักเขียน นักแปล มีคลิปอื่น ๆ อีกที่ FanRosana.com technorati tags: politics, quotes, Thailand
-
Movement in Motion
2 มี.ค. เลือกตั้ง ส.ว. Thai Politics is So Boring…. (เบื่อการเมือง แต่…) Thai Politics is So Boring…. (เลือกเบอร์อะไรดี) www.fanrosana.com (คลิปทำมือ โดยกลุ่มแฟน ๆ รสนา) ลิงก์/embed code สำหรับเอาไปแปะต่อในบล็อก/สเปซ (ถ้าชอบ): (เบื่อการเมือง แต่…) link: http://youtube.com/watch?v=ywEjbAfDtDw embed: (เลือกเบอร์อะไรดี) link: http://youtube.com/watch?v=JzONTs7nxvI embed: technorati tags: Rosana, fanrosana, Bangkok, senator, election, video
-
TUelection.com
ศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TUelection.com ไม่รู้ใครทำ ความคิดดี update: เค้าเพิ่งเพิ่มผลการเลือกตั้งย้อนหลัง ไปถึงปี 2548 ขยันดี ทางกลุ่ม PoliticalBase.in.th ก็ขยันเช่นกัน technorati tags: university, student, election
-
9 reasons why PPP shouldn’t be the government
อะจ๊ากกกก… กิติภูมิ จุฑาสมิต, ปีกซ้ายพฤษภาฯ : 9 เหตุผลที่ พรรคพลังประชาชน ไม่ควรเป็นรัฐบาล, ประชาไท, 2 ม.ค. 2551 เหตุผลประการที่ 9 มีข่าวว่า พปช.จะทำการเจรจาตกลงต่อรองกับ เผด็จการ ‘คมช.+ครป.’ เพื่อแลกกับการเป็นแกนนำรัฐบาล ไม่ว่าข่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม ขอเรียนกับพลพรรค พปช.ทุกท่านทราบว่า สาเหตุสำคัญที่พวกเราเลือกพรรคของท่านนั้น เพราะเราต้องการประชาธิปไตย เพราะเราต้องการขับไล่เผด็จการ เพราะเราเชื่อในสันติวิธี… เราจึงเลือก พปช.! แต่ถ้าหากท่านทรยศต่อความศรัทธาเชื่อมั่นของประชาชนโดยการยอมอ่อนข้อให้กับเผด็จการ ‘คมช.+ครป.’ แล้วละก็ … เกรงว่า เส้นทางสันติวิธีในการต่อสู้ของประชาชน อาจกลายเป็นเส้นทางร้างที่จะไม่มีใครใช้อีกตลอดไป… ท้ายที่สุด เราหวังว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พรรคพลังประชาชน – รวมถึงประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน – จะยังคงยึดมั่นในจุดมุ่งหมายของประชาธิปไตย มากกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าในการเป็นรัฐบาลเท่านั้น technorati tags: People Power Party, Thailand, election
-
Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party
Bangkok Pundit ยกตัวอย่างคำสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิออกเสียงหลายคน จากหลายแหล่งข่าว โดยชี้ว่าผู้มีสิทธิจำนวนหนึ่ง ต้องการโหวตเพื่อต่อต้านรัฐประหาร และคิดว่าการเลือกพลังประชาชน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการนี้มากกว่า “no vote” อย่างไรก็ดี Bangkok Pundit ไม่คิดว่าจะมีคนคิดเช่นนี้มากนัก โดยคะเนไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ 3-4% เท่านั้น Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party (ในจำนวนนั้น อาจจะมีผมด้วย) เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไท prachatai.com เข้าไม่ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4:30 น. ของวันนี้ (อาทิตย์ 23 ธ.ค. 2550 – วันเลือกตั้ง) และจนถึงขณะนี้ 8:38 น. ก็ยังไม่สามารถเข้าได้ — เข้าได้แล้วนะครับ (เว็บมาสเตอร์แจ้งว่าเข้าได้ตั้งแต่ประมาณ 9:05 น. ของวันที่ 23 ธ.ค.) — ใครเข้าได้/ไม่ได้ ช่วยแจ้งไปที่ FACT ด้วยครับ…
-
Cry with, cry for me, Thailand
อาจจะจริงที่ว่า วัฒนธรรมการเมืองไทยที่ตระหนักในสิทธิเสรีภาพได้ก้าวหน้าขึ้นบ้าง แต่แน่นอนยิ่งกว่า คือวัฒนธรรมการเมืองบ้านเรายึดติดกับตัวบุคคล และความเชื่อว่ามี ‘เผด็จการโดยธรรม’ นั้น ฝังรากลึกเกินกว่าจะถอนราก “ สำหรับผมแล้ว วันที่ 20 ธันวา ก่อนวันเลือกตั้ง 3 วัน อันเป็นวันที่ สนช. ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้การเลือกตั้งไร้ความหมายไปโดยสิ้นเชิง เพราะจะเลือกตั้งไปทำไม ในเมื่อทหารยังคงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ” — บทบรรณาธิการประชาไท, 21 ธ.ค. 2550 ถึงเวลาหรือยัง ที่เราต้องเลือกข้างให้ชัดเจน ? สนับสนุน/ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ หรือ ต่อต้าน/ไม่ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ จะเลือกอะไร เลือกด้วยวิธีไหน ก็แล้วแต่คุณ technorati tags: national security, Thailand, internal security, democracy
-
beyond policy
[ คำเตือนก่อนอ่าน: ในขณะที่เขียนบทความนี้ ในใจผมอยู่ระหว่างตัดสินใจว่า จะ “กาช่องไม่เลือกใคร” หรือ “เลือกพรรคพลังประชาชน” (แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ก็เพื่อส่งสัญญาณเดียวกัน คือ “ไม่เอารัฐประหาร” ทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต) — ดังนั้นข้อเขียนชิ้นนี้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องได้รับอิทธิพลจากสิ่งนี้ไม่มากก็น้อย กรุณาใช้ความระมัดระวังในการอ่าน — ติชมใด ๆ ผมถือเป็นกำนัล ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณยิ่ง ] บางที การเลือกตั้งครั้งนี้ อาจไม่ใช่การเลือกพรรคการเมือง อย่างที่แล้ว ๆ มา ที่ผ่านมา เราบอกว่า สังคมประชาธิปไตยไทย(ไทย) ได้ก้าวพ้นการเลือกตัวบุคคล มาเป็นการเลือกพรรคแล้ว โดยชัยชนะของไทยรักไทยอาจเป็นตัวอย่าง (โดยกลไก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่เพิ่งมีใหม่ในตอนนั้น เป็นตัวอำนวยให้เกิดได้) เลือกบุคคล ก็คือเลือกจากความชอบพอในตัวบุคคล คนนี้เป็นคนดี เลือกพรรค ก็คือเลือกจากนโยบายของพรรค แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พูดตรง ๆ ผมไม่ได้ตัดสินใจจากทั้งสองอย่าง หลายคนคงคิดเหมือนกัน ตัวบุคคล ? เรารู้จักใครบ้าง ? ถ้าจะคุ้น ๆ…
-
Electoral System Design / IDEA
เป็นครั้ง แรกทีเดียวที่นักเลือกตั้งประเมินว่า นโยบายและชื่อชั้นของพรรครวมทั้งคนหรือบุคลากรหรือผู้นำของพรรค เป็นตัวชี้วัดความนิยม นั่นหมายความว่า นักเลือกตั้งเหล่านี้ไม่เชื่อมั่นในเงินของตัวเองว่าจะซื้อคะแนนได้อีกต่อ ไปแล้ว นี่คือดอกผลของการออกแบบระบบการเลือกตั้ง เพียงช่วง 5 ปี กับการเลือกตั้งเพียงสองครั้งเท่านั้น การซื้อเสียงกำลังจะหมดความหมายไปจากสังคมไทย … การยกเลิกระบบปาร์ตี้ลิสต์ไป แล้วกลับไปย้อนยุค รังแต่จะเพิ่มวิกฤติและแรงกดดันให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (ในแบบไม่ยอมปรับตัว) เสียเปล่าๆ ลืมคุณทักษิณ ชินวัตรไปบ้างไม่ได้หรือครับ อย่าให้เขามาหลอกหลอนและกำหนดชะตาชีวิตที่เหลือของคนไทยที่ต้องถูกบังคับ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่เลย พฤติกรรมของคุณทักษิณที่ผ่านมาเป็นข้อยกเว้น เพราะให้ทุกอย่างเหมือนเดิม ใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มี การเลือกตั้ง มีคุณทักษิณเป็นนายกฯ อีกครั้ง สังคมการเมืองไทยก็ไม่เหมือนเดิมแบบที่คุณทักษิณจะมาเผด็จอำนาจได้อีกแล้ว นั่นก็เพราะระบบตรวจสอบทำงานแล้ว และนั่นคือหัวใจ เราต้องเพิ่มระบบตรวจสอบให้เข้มแข็งขึ้น ติดอาวุธให้กับกลไกตรวจสอบ เพิ่มอำนาจประชาชน ประชาชนฟ้องคดีทุจริตได้ เข้าชื่อถอดถอนได้ง่ายขึ้น ทำสื่อให้เป็นอิสระและฉลาด กระจายอำนาจออกไป แต่อย่าลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล เพราะการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาล ประชาชนจะเสียประโยชน์ที่นโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงไว้ก็ทำไม่ได้ ต้องกลับไปวัดค่า ส.ส. ด้วยการขายเสียงเหมือนเดิม ขณะที่ประโยชน์ของการลดทอนความเข้มแข็งของรัฐบาลจะไปอยู่ที่ข้าราชการและอำมาตย์ทั้งหลายที่ร่วมกันทำรัฐประหาร ที่สำคัญที่สุดคือศักดิ์ศรีของชาติและประชาชน ในฐานะที่ชาติและประชาชนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 แต่หลงลืมทุกอย่าง หลงลืมบทเรียน ประวัติศาสตร์ และย้อนกลับไปรอยเดิม…
-
December Seminars at Thammasat Economics School
สัมมนา/เสวนา ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่น่าสนใจ(บางส่วน/สำหรับผม) ในเดือนนี้ พุธ 13 ธ.ค. 13:30-15:00 น. สัมมนางานวิจัยหัวข้อ “Incentive Structure and Mechanism Design” “แรงจูงใจของนักการเมือง บทบาทของการเลือกตั้ง และทางเลือกของนโยบายสาธารณะ” (Politicians’ Motivation, Role of Elections, and Policy Choices) อ.ดร.พงษ์ธร วราศัย [เอกสารประกอบ] “การสร้างแบบจำลองการตัดสินใจเรื่องไม่สำคัญ” (Modeling Unimportant Decision) อ.ภาวิน ศิริประภานุกูล [เอกสารประกอบ] ศุกร์ 15 ธ.ค. 13:30 น. ECONversation “คุยเรื่อง ‘ชิน’: กรณีภาษี-หุ้น-ที่ดิน-และ(อดีต)นายกฯ” คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ จันทร์ 18 ธ.ค. ECONversation “โลกร้อน:…