Tag: democracy

  • Global Civil Society 2007/8: Communicative Power and Democracy [PDF]

    The Global Civil Society Yearbook is an annual publication produced by the Global Civil Society Programme at the Centre for the Study of Global Governance at the London School of Economics (LSE). The 387-page volume for 2007-2008 explores advances in technology, stating that they have enhanced global mass media and permitted private worldwide communication while…

  • The most terrifying thing is what people do want

    “Television is the first truly democratic culture – the first culture available to everybody and entirely governed by what the people want. The most terrifying thing is what people do want.” “โทรทัศน์เป็นวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างแรก – วัฒนธรรมอย่างแรกที่ทุกคนเข้าถึงได้และทั้งหมดดำเนินไปโดยสิ่งที่ผู้คนต้องการ. สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือสิ่งที่ผู้คนต้องการจริง ๆ.” — Clive Barnes on Television (New York Times, December 30, 1969) สิ่งน่ากลัวที่ว่านั้น ไปได้ทุกที่ รวมถึงในสื่อนฤมิตและอินเทอร์เน็ตด้วย ที่ตายกันบนถนน ก็ไม่ได้เป็นผลมาจาก “สิ่งที่ผู้คนต้องการ” หรือไง ?…

  • democratic potential of Internet in South Korea, lecture by Yoohee Kim

    Democratic Potential of Internet in South Korea special lecture by Yoohee Kim Tuesday, July 29, 2008. 15:00-16:30 @ room 3003, SC building, Thammasat University, Rangsit Campus more info: 0-2564-5000 www.asia.tu.ac.th ศักยภาพประชาธิปไตยของอินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้ บรรยายพิเศษ โดย ยูฮี คิม (Yoohee Kim) (บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ) อังคารที่ 29 ก.ค. 2551 15:00-16:30 น. @ ห้อง 3033 อาคารกลุ่มสังคมศาสตร์ (SC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ข้อมูลเพิ่มเติม: 0-2564-5000 www.asia.tu.ac.th จัดโดย…

  • Protect Our Internet — online petition

    จาก http://gopetition.com/online/19589 (ดูต้นฉบับ และร่วมลงชื่อได้ที่ลิงก์ดังกล่าว) แถลงการณ์จาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 29 พฤษภาคม 2551 เรื่อง ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ และขอเชิญชวนพลเมืองทุกคนร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามที่นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์อันตรายที่ส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ ตามข่าวทางสื่อมวลชนทั่วไป ความแจ้งแล้วนั้น พวกเราดังมีรายนามข้างท้ายมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. เราเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ต้องได้รับการเคารพและปกป้อง สังคมประชาธิปไตยทุกสังคม ที่ปรารถนาความสงบสุข สันติภาพ และความสมานฉันท์ จำเป็นต้อง ส่งเสริม และ ปกป้อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเต็มที่ เหตุเพราะความเคารพและความเข้าใจอันดีต่อกัน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่ผู้คนมีความแตกต่างหลากหลาย และหนทางเดียวที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเคารพกันได้ คือสภาพสังคมที่เอื้อให้ทุก ๆ คน มีสิทธิเสรีภาพในแสดงออกด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ประตูที่จะนำไปสู่ความยอมรับเคารพซึ่งกันและกัน จะถูกปิดตาย เมื่อปากและใจของเราถูกบังคับให้ปิดลง 2. เราไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง รายชื่อเว็บไซต์และเว็บล็อกส่วนใหญ่ที่ถูกระบุชื่อ มิได้นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่หมิ่นพระมหากษัตริย์…

  • October 14th student uprising omitted from Museum Siam

    ไม่มี ‘14 ตุลา’ ใน มิวเซียมสยาม รายงานพิเศษ : เที่ยว ‘มิวเซียมสยาม’ เรียนรู้ สยาม อย่างสนุก แต่เรียนรู้ไทยยังไม่สนาน พิพิธภัณฑ์ ข่าว แบบเรียน คำบอกเล่า เขียนประวัติศาสตร์ ลบประวัติศาสตร์ แก้ประวัติศาสตร์ technorati tags: history, October 14, museum

  • Blackhat Democrats (again)

      เทพไท เสนพงศ์ (ประชาธิปัตย์) อย่ามั่ว   technorati tags: blackhat, SEO, Democrats

  • open letter to media

    5 พฤษภาคม 2551 เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนที่เคารพ ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ สื่อมวลชน ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อและเวทีวิชาการ หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านั้นไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง คนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อและสื่อที่ไม่รับผิดชอบกำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทางดังนี้ 1. สร้างความโกรธแค้นเกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง 2. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด 3. ทั้งหมดนี้ดำเนินไปขณะที่ ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณสองประการข้างต้น หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่าง ๆ เมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือสื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ สื่อมวลชนเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้ว ยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิด ๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง…

  • 9 reasons why PPP shouldn’t be the government

    อะจ๊ากกกก… กิติภูมิ จุฑาสมิต, ปีกซ้ายพฤษภาฯ : 9 เหตุผลที่ พรรคพลังประชาชน ไม่ควรเป็นรัฐบาล, ประชาไท, 2 ม.ค. 2551 เหตุผลประการที่ 9 มีข่าวว่า พปช.จะทำการเจรจาตกลงต่อรองกับ เผด็จการ ‘คมช.+ครป.’ เพื่อแลกกับการเป็นแกนนำรัฐบาล ไม่ว่าข่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม ขอเรียนกับพลพรรค พปช.ทุกท่านทราบว่า สาเหตุสำคัญที่พวกเราเลือกพรรคของท่านนั้น เพราะเราต้องการประชาธิปไตย เพราะเราต้องการขับไล่เผด็จการ เพราะเราเชื่อในสันติวิธี… เราจึงเลือก พปช.! แต่ถ้าหากท่านทรยศต่อความศรัทธาเชื่อมั่นของประชาชนโดยการยอมอ่อนข้อให้กับเผด็จการ ‘คมช.+ครป.’ แล้วละก็ … เกรงว่า เส้นทางสันติวิธีในการต่อสู้ของประชาชน อาจกลายเป็นเส้นทางร้างที่จะไม่มีใครใช้อีกตลอดไป… ท้ายที่สุด เราหวังว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พรรคพลังประชาชน – รวมถึงประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน – จะยังคงยึดมั่นในจุดมุ่งหมายของประชาธิปไตย มากกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าในการเป็นรัฐบาลเท่านั้น technorati tags: People Power Party, Thailand, election

  • Cry with, cry for me, Thailand

    อาจจะจริงที่ว่า วัฒนธรรมการเมืองไทยที่ตระหนักในสิทธิเสรีภาพได้ก้าวหน้าขึ้นบ้าง แต่แน่นอนยิ่งกว่า คือวัฒนธรรมการเมืองบ้านเรายึดติดกับตัวบุคคล และความเชื่อว่ามี ‘เผด็จการโดยธรรม’ นั้น ฝังรากลึกเกินกว่าจะถอนราก “ สำหรับผมแล้ว วันที่ 20 ธันวา ก่อนวันเลือกตั้ง 3 วัน อันเป็นวันที่ สนช. ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้การเลือกตั้งไร้ความหมายไปโดยสิ้นเชิง เพราะจะเลือกตั้งไปทำไม ในเมื่อทหารยังคงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ” — บทบรรณาธิการประชาไท, 21 ธ.ค. 2550 ถึงเวลาหรือยัง ที่เราต้องเลือกข้างให้ชัดเจน ? สนับสนุน/ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ หรือ ต่อต้าน/ไม่ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ จะเลือกอะไร เลือกด้วยวิธีไหน ก็แล้วแต่คุณ technorati tags: national security, Thailand, internal security, democracy

  • beyond policy

    [ คำเตือนก่อนอ่าน: ในขณะที่เขียนบทความนี้ ในใจผมอยู่ระหว่างตัดสินใจว่า จะ “กาช่องไม่เลือกใคร” หรือ “เลือกพรรคพลังประชาชน” (แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ก็เพื่อส่งสัญญาณเดียวกัน คือ “ไม่เอารัฐประหาร” ทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต) — ดังนั้นข้อเขียนชิ้นนี้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องได้รับอิทธิพลจากสิ่งนี้ไม่มากก็น้อย กรุณาใช้ความระมัดระวังในการอ่าน — ติชมใด ๆ ผมถือเป็นกำนัล ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณยิ่ง ] บางที การเลือกตั้งครั้งนี้ อาจไม่ใช่การเลือกพรรคการเมือง อย่างที่แล้ว ๆ มา ที่ผ่านมา เราบอกว่า สังคมประชาธิปไตยไทย(ไทย) ได้ก้าวพ้นการเลือกตัวบุคคล มาเป็นการเลือกพรรคแล้ว โดยชัยชนะของไทยรักไทยอาจเป็นตัวอย่าง (โดยกลไก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่เพิ่งมีใหม่ในตอนนั้น เป็นตัวอำนวยให้เกิดได้) เลือกบุคคล ก็คือเลือกจากความชอบพอในตัวบุคคล คนนี้เป็นคนดี เลือกพรรค ก็คือเลือกจากนโยบายของพรรค แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พูดตรง ๆ ผมไม่ได้ตัดสินใจจากทั้งสองอย่าง หลายคนคงคิดเหมือนกัน ตัวบุคคล ? เรารู้จักใครบ้าง ? ถ้าจะคุ้น ๆ…