-
มากกว่าการแปล, localization คือการปรับเข้าถิ่น
เรื่อง “taken for granted” เหมาว่าคนอื่นก็คงคิดเหมือนเรา ทำแบบเรานี่แหละ และเรียกร้องให้ผู้ใช้ปรับตัวให้เข้ากับ “ผลิตภัณฑ์” ที่เราออกแบบ เป็นเรื่องที่เห็นกันทั่วไป ไม่เฉพาะในวงการซอฟต์แวร์
-
Fuck เย็ด
ชื่อบทความวิชาการนิติศาสตร์: เย็ด บทคัดย่อ: บทความนี้เรียบง่ายและยั่วยุอารมณ์ดังที่ชื่อมันบอกเป็นนัย: มันสำรวจความหมายโดยนัยในทางกฎหมายของคำว่า เย็ด (fuck). จุดที่คำว่าเย็ดและกฎหมายนั้นบรรจบกันได้ถูกพิจารณาในสี่อาณาบริเวณหลัก: บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับที่หนึ่ง (ว่าด้วยสิทธิในความเชื่อและการแสดงออก), กฎข้อบังคับการกระจายเสียง, การละเมิดทางเพศ, และการศึกษา. ความเกี่ยวพันทางกฎหมายจากการใช้คำว่าเย็ดนั้นหลากหลายอย่างมากตามบริบท. แหล่งอำนาจของคำว่าเย็ดที่นอกเหนือจากทางกฎหมายได้ถูกพิจารณา เพื่อจะเข้าใจอำนาจทางกฎหมายของคำว่าเย็ดได้อย่างเต็มที่. บนฐานของการวิจัยโดยนักศัพทมูลวิทยา (etymologist) นักภาษาศาสตร์ นักพจนวิทยา (lexicographer) นักจิตวิเคราะห์ และนักสังคมศาสตร์อื่น ๆ ปฏิกริยาตอบสนองโดยสัญชาตญาณต่อคำว่าเย็ด สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งต้องห้ามทางวัฒนธรรม (cultural taboo). เย็ด เป็นคำต้องห้าม. ต้องห้ามเสียจนบังคับให้คนจำนวนมากต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง. กระบวนการทำให้เงียบนี้ ได้อนุญาตให้คนส่วนเล็ก ๆ ของประชากรทั้งหมด จัดการยักย้ายสิทธิของพวกเราโดยอ้างว่าสะท้อนเสียงส่วนใหญ่. จากนั้นสิ่งต้องห้ามจึงได้ถูกทำให้เป็นสถาบันผ่านกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ตึงเครียดกับสิทธิทางกฎหมายอื่น ๆ. ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและสิ่งต้องห้ามนี้ ในที่สุดได้ทำให้เกิดหลักวิชา เย็ดนิติศาสตร์ (fuck jurisprudence) คำสำคัญ: Cohen, Pacifica, First Amendment, psycholinguistics อ่านฉบับเต็มที่: Fairman, Christopher M., Fuck…
-
We’re sick of Ministry of Culture in Thailand
We’re sick of Ministry of Culture in Thailand a Facebook fan page of people who are sick of Thailand’s Ministry of Love. from George Orwell’s Nineteen Eighty-Four: The Ministry of Love (or Miniluv in Newspeak) enforces loyalty and love of Big Brother through fear, a repressive apparatus, and brainwashing. technorati tags: Thailand, Ministry of Love,…
-
เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ
วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…
-
on the flip side of Hero
ไม่ว่าการพยายามฆ่าหรือจองล้างจองผลาญ ทักษิณ องคมนตรี หรือ สนธิ ก็น่าหดหู่พอกัน เพราะมันหมายความว่า ในสังคมเรายังมีคนคิดว่า การกำจัดคนหนึ่งคนออกไป จะสามารถแก้ปัญหาอะไรได้ แต่ความคิดนี้คงไม่แปลกอะไร ในสังคมง่อยเปลี้ย-ธุระไม่ใช่-ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง ที่เรียกหา ฮีโร่-พระเอกขี่ม้าขาว อยู่ตลอดเวลา (ไม่ว่าจะในรูปผู้นำเผด็จการอันเข้มแข็ง ราชาผู้ทรงธรรม กำนันผู้อาทร หรือคณะรัฐประหารผู้เมตตา) ก็คงจำเป็นอยู่เอง ที่พวกเขาจะต้องสร้างด้านตรงข้าม ตัวโกง-ผู้ร้ายมีเขาแหลมในผ้าคลุมสีดำ ให้เป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายทั้งปวง เพื่อผ่อนคลายย้ายเทความผิดบาปให้พ้นไปจากตัวพวกเขา ฉันไม่ผิด มันผิด ฉันกลัว ไม่อยากยุ่ง ฮีโร่ ช่วยฉันที หนังซูเปอร์ฮีโร่ที่เต็มโรงตอนนี้ อาจจะบอกภาวะอะไรบางอย่างของสังคม แต่อย่าลืมว่า เมื่อยอดมนุษย์เข้าตาจนเปลี่ยนใจ อะไรจะรับประกัน ว่าเขาจะไม่กลายเป็นผู้ร้ายเสียเอง ? อะไรจะรับประกัน ว่ายอดมนุษย์จะไม่กลายเป็นผู้ร้ายเสียเอง ? จอม เพชรประดับ: นับจากนี้ไป “ประเทศไทย” จะไม่เหมือนเดิม technorati tags: hero, Thailand, politics
-
[22-23 Dec] Conference on Nationalism and Multiculturalism
ประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” 22-23 ธ.ค. 2551 @ เชียงใหม่ http://202.28.25.21/conf2008/ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำชาติและอัตลักษณ์ประจำชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำไปสู่การกดทับ และทำลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำลายป่าและค้ายาเสพติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม”…
-
ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉
คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…
-
bbs, modem people, hackerdom in Thailand, call for history…
If you have any info/pointer you think it may (or may not) related, please do send them to me at arthit # gmail,com or just leave a comment below. Thank you. The finished work will be published online under Creative Commons License, for the benefits of everyone. ผมกำลังทำการบ้านอยู่ครับ จะทำเรื่องวัฒนธรรมแฮกเกอร์ในเมืองไทย ใครมีข้อมูลบอกมาเลยนะครับ ผมอาจจะขอสัมภาษณ์ด้วยใครอยู่ในยุคบีบีเอส ยุค ZzzThai, LTN, TLWG…
-
transboundary World Heritage sites
ในโลก trans* การจะมีอะไรที่ตั้งอยู่ข้ามพรมแดนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก มรดกโลกก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น จากรายชื่อมรดกโลกในยุโรปที่วิกิพีเดีย มีมรดกโลกที่ตั้งข้ามพรมแดนอยู่ 12 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแชร์ร่วมกันสองประเทศ ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือ Struve Geodetic Arc ซึ่งแชร์ร่วมกัน 10 ประเทศ ใช่ครับ 10 ประเทศ (ข้อมูลเพิ่มเติมโดยยูเนสโก [pdf]) ถ้ามีอะไรแบบนั้นแถวนี้ อาจจะยิงกันเละได้ แบ่งของเล่นกันไม่เป็น อีกอันหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ Waterton-Glacier International Peace Park ที่เป็นมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา บริเวณอุทยานนานาชาตินี้ เป็นเขตที่พรมแดนระหว่างประเทศถูกยกเลิก ซึ่งรวมถึงการนำเอาสิ่งกีดขวาง กำแพง รั้วต่าง ๆ ทางกายภาพออกไปหมด เพื่อให้สัตว์ป่าและผู้คนสามารถเดินทางไปมาได้อย่างอิสระ A Transboundary Protected Area is a protected area that spans across boundaries of multiple countries,…
-
May Oh May
เวียนวน เวียนวน เวียนวน… เจตนารมณ์ “พฤษภาฯ 2535” (ยังเหลืออยู่?) ฉายซ้ำ ฉายซ้ำ ฉายซ้ำ… คานนส์กับ “Mai 68” technorati tags: change, resist