Tag: Computer-related Crime Act

  • นิธิ เอียวศรีวงศ์: กระทรวงไอซีที

    มุมมองนิธิน่าสนใจ ที่ว่า “กระทรวง” ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ให้คุณก็ได้ ให้โทษก็ได้ แต่ถ้าเรามองมันแบบพ.ร.บ.คอมฯ เราคงต้องปิดกระทรวงไอซีที (และกระทรวงอื่น ๆ ทั้งหลาย) ทิ้ง แบบที่ปิดอินเทอร์เน็ต เพราะเมื่อมองด้วยสายตาที่เห็นแต่โทษ มันก็จะไม่เจออะไรดีเลย สรุปศักยภาพของอินเตอร์เน็ตเท่าที่ผมมองเห็นจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่สามด้าน 1.คือการเปิดตลาดใหม่ให้แก่สินค้าและบริการ 2.เปิดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในแนวใหม่ 3.เปิดพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่ ทั้งสามอย่างนี้อาจเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมและบุคคลได้ไพศาล แต่เอาไปใช้ในทางที่เป็นโทษของสังคมก็ได้ไพศาลเหมือนกัน ไม่ต่างจากตลาด, โรงเรียน, และพื้นที่การเมืองแบบเก่า ซึ่งใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ก็ได้ โทษก็ได้ พื้นที่ทางการเมืองกลายเป็นเรื่องหลักที่กระทรวงไอซีทีให้ความสนใจที่สุด แต่ก็เป็นความสนใจด้านลบมากกว่าด้านบวก (ตามเคย) นั่นคือจะกำกับควบคุมพื้นที่ใหม่ทางการเมืองนี้ ซึ่งเปิดรับคนแปลกหน้าเข้ามาจำนวนมาก ให้สยบยอมต่อโครงสร้างอำนาจตามประเพณีต่อไปได้อย่างไร เขาหวั่นวิตกแต่ว่าของดีๆ อย่างอินเตอร์เน็ตจะถูกนำไปใช้ในทางเสียหาย (แก่ใครและอะไร… ไม่ทราบได้) ฉะนั้น จึงต้องเข้าไปบังคับควบคุมจนกระทั่งจะทำอะไรดีๆ กับอินเตอร์เน็ตได้ยากขึ้นทุกที กระทรวงไอซีที โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนออนไลน์, 26 เม.ย. 2554 ความคิดเห็นจากทีมผู้ร่างกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง จากการสัมมนาที่เนชั่น [ซึ่งผมไปร่วมด้วย] เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่: เรื่องวุ่นๆ (อีกรอบ)…

  • พ.ร.บ.คอม คณะกรรมการ และอย่าปล่อยให้ไอติมละลาย

    วันนี้ไปคุย “โต๊ะกลม” ที่สำนักงานเนชั่น มีคนจากทีมร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ (ซึ่งรวมถึงที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และนักกฎหมายของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และตัวแทนจากบริษัทกฎหมายและที่ปรึกษาธุรกิจแห่งหนึ่ง ในฐานะเสียงจากภาคผู้ประกอบการ บนโต๊ะเดียวกันมีนักข่าวเนชั่นอยู่ด้วยสองสามคน รวมถึง @lekasina และ @prartana พร้อมผู้สนใจนั่งฟังอีกจำนวนหนึ่ง ผมไปถึงห้องช้าเป็นอันดับรองสุดท้าย เพราะไม่รู้ห้องและติดต่อผู้จัดไม่ได้ (เลยถือโอกาสกินไส้กรอกอยู่ข้างล่าง-และโดนจับได้พร้อมของกลาง ระหว่างกำลังจะงับ เสียฟอร์มเป็นอันมาก) บรรยากาศท่ัว ๆ ไปโดยรวมดีทีเดียว ทางนักข่าวก็ดูติดตามเรื่องนี้ ทุกคนที่มาร่วมก็แลกเปลี่ยนซักถามได้น่าสนใจ รวมถึงทีมร่างกฎหมายก็รับว่าจะนำเอาความเห็นต่าง ๆ ไปพิจารณา และหลังจากนี้จะเปิดให้มีประชาพิจารณ์ (ยังไม่ได้กำหนด ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร) มีประเด็นน่าสนใจเรื่อง “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” อยากแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมดังนี้ ทีมร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ บอกถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อจะได้คุ้มครองสิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงคนที่จะใช้บริการอีคอมเมิร์ซ จะได้มีความมั่นใจในความปลอดภัย คำถามก็เลยมีอยู่ว่า ความตั้งใจที่ดีอันนี้ มันสะท้อนออกมาในร่างกฎหมายมากน้อยแค่ไหน (1) ถ้าเราดูที่มาและสัดส่วนของคณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นตามพรบ.ใหม่นี้ (ตามร่างฉบับล่าสุด 20 เม.ย. 2554) จะเห็นว่า จำนวนกรรมการที่มาจาก “ตำรวจ” และ…

  • การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนี้ ถูกระงับเป็นการชั่วคราว

    อ่านบล็อก @lewcpe เกี่ยวกะพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็มีประเด็นน่าสนใจอันหนึ่ง คือข้อเสนอที่ว่า : 4. คำสั่งปิดกั้นจะมีได้ต่อเมื่อมีการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ภายใต้พรบ. คอม หรือไม่ คำสั่งต้องมีวันหมดอายุชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ @jittat ก็เคยตั้งข้อสังเกตไว้เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมามีแต่คำสั่งบล็อคเว็บ แต่คำสั่งยกเลิกการบล็อคนั้นยังไม่เคยเห็น (หมายถึงตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, กรณีการบล็อคตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อพ้นภาวะฉุกเฉิน ก็มีการสั่งปลดบล็อคไปตามพ.ร.ก.) ถ้าดูภาษาที่ใช้ในหน้าเว็บที่ถูกเปลี่ยนทางไป เช่นที่ http://58.97.5.29/ict.html : การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนี้ ถูกระงับเป็นการชั่วคราว โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารเสนเทศและการสื่อสาร The Ministry of Information and Communication Technology has temporarily ceased the service to access such kind of information. ก็จะเห็นว่ามีการใช้คำว่า “ชั่วคราว” ทีนี้ ถ้าเกิดว่าคำสั่งของศาล ไม่ได้ระบุว่า การระงับนี้จะกินเวลาเท่าใด หรือสิ้นสุดลงเมื่อใด จะเรียกว่า “ชั่วคราว” อย่างที่เรียกอยู่ตอนนี้ได้ไหม…

  • computer crime?

    ความผิดตามกฎหมายนั้น มีทั้งที่เป็น ความผิดอาญา (crime) และความผิดที่ไม่ใช่อาญา หากจะพิจารณาว่า อะไรควรจะนับเป็น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime) และอะไรที่จะนับเป็นเพียง ความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นจะต้องพิจารณาว่า อะไรคือ ความผิดอาญา และอะไรที่ไม่ใช่ บางส่วนจากบทความ การกำหนดความผิดอาญา ตามกฎหมายเยอรมัน – สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์ ที่ BioLawCom.de เพื่อการศึกษาแนวคิดในการกำหนดความผิดอาญา ในประเทศอื่น ในการถกเถียงเกี่ยวกับข้อปรับปรุงกฎหมายอาญาเมื่อสิบปีก่อนนั้น ประเด็นที่ว่า กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองนิติสมบัติเท่านั้น เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก กล่าวคือ กฎหมายอาญาควรที่จะมีไว้เพื่อคุ้มครองเฉพาะ “สมบัติ” (บางประการที่กำหนดไว้เท่านั้น อย่างเช่น ชีวิต (มาตรา 211 เป็นต้นไป), ความปลอดภัยของร่างกาย (มาตรา 223 เป็นต้นไป), ชื่อเสียง (มาตรา 185 เป็นต้นไป) การที่กฎหมายอาญามีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองนิติสมบัติ หรือสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองนั้น ทำให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นจริงขึ้นมาได้ จึงกล่าวได้ว่ากฎหมายอาญาเป็นระเบียบแห่งการคุ้มครองและระเบียบสันติภาพ ที่มีรากฐานมาจากระเบียบแห่งคุณค่าในทางจริยศาสตร์สังคมของรัฐธรรมนูญ จากรากฐานความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้กฎหมายอาญามีภารกิจในการที่จะให้ความคุ้มครองแก่คุณค่าพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม, การคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม และ…

  • [29 Mar] TNN’s brown bag meeting ชิมไปบ่นไป

    เครือข่ายพลเมืองเน็ต นัดคุยไปกินไป ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม GM Hall ศศนิเวศ (ตรงข้ามเรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ด้านข้าง MBK) อาทิตย์ 29 มีนาคม 2552 เปิดห้อง 12:30 น. เป็นต้นไป พบปะในแบบ brown bag meeting ในมื้อเที่ยงวันอาทิตย์ ทุกคนนำของกินที่ชอบติดไม้ติดมือกันมา เราจะคุยกันไปกินกันไป มีเครื่องดื่มง่าย ๆ บริการ หัวข้อกว้าง ๆ ที่ตั้งไว้คือ “เสรีภาพในโลกออนไลน์ ภายใต้ความย้อนแย้งของแนวคิดวัฒนธรรมเสรี vs กรอบเก่าๆของสังคมไทย อะไรคือสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัว” โดยจะมีหลาย ๆ คนมาคุยกันในเรื่อง “ทำไมเราต้องสนใจเสรีภาพของโลกออนไลน์” อะไรคือความหมายของ วัฒนธรรมเสรี (free culture) และ ความเป็น พลเมือง ‘เน็ต’(netizen) สื่อออนไลน์มีความต่างจากสื่อมวลชน ชุมชนเน็ตคือวัฒนธรรมใหม่ที่ต้องเปิดกว้างแต่ใช่ว่าจะไร้ขอบเขต…

  • STOP ONLINE MEDIA INTIMIDATION

    English version here. แถลงการณ์เรื่องการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากกรณีพนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้เข้าจับกุมนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท (http://www.prachatai.com) เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. ของวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 และได้มีการสืบปากคำพร้อมทำสำเนาข้อมูลในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของ นางสาวจีรนุช และแจ้งข้อกล่าวหาว่าได้ทำการสนับสนุนผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา เป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ และเผยแพร่ หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) (3) (5) และ 15 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เห็นว่าแม้รัฐอ้างว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นไปภายใต้อำนาจตามที่กฏหมายบัญญัติ ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเข้าข่ายการใช้อำนาจทางกฏหมายในการข่มขู่ คุกคาม สิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ ทั้งนี้เว็บไซต์ข่าวประชาไทถือเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ทำงานบนกรอบของ จรรยาบรรณสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้กับประชาชนผู้อ่านแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ทางผู้แลเว็บมีมาตรฐานที่เข้มงวดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ อยู่แล้วในการที่จะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ และการลบข้อความที่มีความละเอียดอ่อน และที่ผ่านมาก็ได้ประสานงานและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐเสมอมาในการลบข้อความดังกล่าว…

  • Democrat, the Consistent

    “ปรีดีฆ่าในหลวง!” — เสียงตะโกนของ ‘ไอ้โม่ง’ ในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง พ.ศ. 2489 20 พ.ค 2551 – เทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ระบุ ‘หมิ่นเบื้องสูง’ เรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ 29 พ.ค. 2551 – เสียงตอบจากพลเมืองเน็ต: “ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง” 1 ต.ค. 2551 – พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) กำกับและติดตามการป้องกันและปราบปรามการกระทำและเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ใน กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร เตรียม เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้เจ้าหน้าที่ไอซีทีฟ้องร้องคดีหมิ่นฯ ได้ทันที ไม่ต้องรอคำสั่งรัฐมนตรี เพิ่มบทลงโทษจำคุก 3-20 ปี ปรับ 3-8 แสนบาท — หนักกว่ากฎหมายอาญา…

  • New Blood, New Media in the New City

    ไปเชียงใหม่มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีงานสัมมนาเกี่ยวกับสื่อใหม่/สื่อนฤมิต* จัดโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจอคนเยอะแยะ เดินทางสู่ผู้คน เลยงอกออกมาเป็นดูโอคอร์ตอนพิเศษ อย่างน่าดีใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ channel.duocore.tv/new-media-in-chiang-mai ขอบคุณทีมงานคณะการสื่อสารมวลชน + CAMT ทีม minimal gallery ขลุ่ย เมฆ ชา และพี่ปูคนขับรถที่พาเราไปทุกที่ บรรยากาศเชียงใหม่เปลี่ยนไปนิดหน่อย ที่ช้างคลานผมเห็นร้านที่เคยไปปิดลง หลายร้านบนถนนนั้นก็ปิดด้วย คนที่นั่นว่ามันไม่บูมเหมือนสองปีก่อน ที่มีงานพืชสวนโลก แต่รวม ๆ มันก็ยังเป็นเชียงใหม่นั่นแหละ ไม่ได้ต่างจากเดิม จริง ๆ ที่ไหน ๆ มันก็เปลี่ยนทั้งนั้น และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอ เหมือนใครซักคน (วิชา?) พูดระหว่างฝนตกหน้าร้าน minimal “คนที่บอกว่าปายเปลี่ยนไปไม่ดีเลย ก็คนเชียงใหม่คนกรุงเทพนั่นแหละ คนปายเขาชอบ” หรือที่แพทว่า “คนเชียงใหม่ไม่รู้หรอกว่านิมมานเปลี่ยนไป คนเชียงใหม่เขาไม่ได้มานิมมาน มีแต่คนกรุงเทพแหละที่มาเที่ยว” ใช่ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงมันโหดร้าย แม้กระทั่งกับ “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ไปนอนบ้านริมน้ำ ซื้อของตลาดน้ำ ตกค่ำ ๆ ก็นั่งเรือไปดูหิ่งห้อย…

  • Netizen Unite!

    ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ (ปุ๊ก) เว็บมาสเตอร์ 212cafe.com ได้ประกันตัวแล้ว — หลังนอนในห้องขังหนึ่งคืน อ่านบล็อกของปุ๊ก: 212cafe.com เป็นข่าว! เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ มติชน ออนไลน์ และ ผู้จัดการ ออนไลน์ ลงข่าวชวนเข้าใจผิด และตัดสินปุ๊กไปแล้วในข่าว-โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ปรากฎ มติชนพาดหัวว่า “จับเว็บมาสเตอร์เว็บโป๊ แพร่ภาพคลิปลับว่อนเน็ต” ถ้านักข่าวมติชนใช้เวลาสักหนึ่งนาทีดูเว็บไซต์ 212cafe.com เสียหน่อย ก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เว็บโป๊ (เว็บไซต์ที่มีแต่ภาพโป๊หรือเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ผู้จัดการพาดหัวว่า “ปดส.จับเจ้าของเว็บลามก แพร่ภาพเริงรักหนุ่มสาว” พร้อมลงรูปประกอบข่าว รูปหนึ่งเป็นภาพจับหน้าจอจากเว็บโป๊แห่งหนึ่ง-ซึ่งไม่ใช่ 212cafe.com ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่านั่นเป็นภาพที่จับหน้าจอมาจากเว็บ 212cafe.com (ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแล้ว-แต่ไม่ได้แจ้งว่ามีการเปลี่ยนเกิดขึ้น) อันนั้นเป็นเรื่องของการนำเสนอในสื่อ-การตัดสินโดยพาดหัว อีกเรื่องก็คือ มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีหรือการ “ขอความร่วมมือ” เรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมาการ “ขอความร่วมมือ” มีในลักษณะด้วยจาวาทางโทรศัพท์บ่อย ๆ คำถามคือ มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม กับการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อีกฝากหนึ่งของโทรศัพท์ ที่ขอความมือมานั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น…

  • Thailand competitiveness after Computer-related Crime Act (and after 19 Sep coup)

    ปตท.เขาถามเราบ่อย ๆ (ในโฆษณา) ว่า ประเทศเราจะอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ? สงสัยต้องถามปตท.กลับ ว่า แผนที่โลกยุคไหนล่ะพี่ ? ด้วยกฎหมายต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และผู้จะต้องร่วมรับผิดชอบ หากพบว่ามีเนื้อหาใด ๆ ผิดกฎหมาย (แม้จะไม่ใช่ของตัวก็ตาม) ผมไม่แน่ใจว่า นี่จะทำให้โอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สื่อดิจิทัล และ ดาต้าเซนเตอร์ ในระดับภูมิภาค กระทบหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ ศูนย์ข่าว (อย่างพวกรอยเตอร์ เอพี บลูมเบิร์ก) ศูนย์กระจายข้อมูล และ โครงข่ายสื่อสาร ด้วย ผมไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวบางแห่ง เลือกที่จะตั้งศูนย์ภูมิภาคที่กรุงเทพ และไม่ใช่สิงคโปร์ เพราะที่ผ่านมา ชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพสื่อของเมืองไทยดีมาก ดีกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน — แต่ปัจจุบันนี้คงไม่ใช่แล้ว คือโดยสาธารณูปโภค โครงข่ายสื่อสาร เราคงไปสู้มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ไม่ได้อยู่แล้ว…