Tag: civil disobedience

  • ว่าด้วยการ “อยู่เฉยๆ”

    อำนาจมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อมีระเบียบ อำนาจจึงมักเรียกร้องระเบียบ (ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะใช้ประสิทธิภาพที่ได้มานั้นกับเรื่องอะไร) การจัดตั้งของคนอำนาจน้อยก็เป็นระเบียบแบบหนึ่ง และการจัดตั้งเพื่อนำไปสู่การทำให้เสียระเบียบในความสัมพันธ์กับอำนาจใหญ่ ก็เป็นแบบแผนแบบหนึ่งเพื่อต่อต้านอำนาจใหญ่ที่ตั้งอยู่ได้ด้วยระเบียบการทำให้เสียระเบียบ ด้วยการ “อยู่เฉยๆ” เป็นเครื่องมือพื้นฐานของคนที่มีอำนาจน้อย ในฐานะผู้บริโภค ก็หยุดบริโภค (สินค้าที่เราว่าไม่โอ)ในฐานะคนทำงาน ก็หยุดงานในฐานะพลเมือง ก็หยุดทำตามกฎหมาย (ข้อที่เราว่าไม่โอ – คำเรียกสวยๆ คือ civil disobedience)ในฐานะผู้เสียภาษี ก็หยุดเสียภาษีในฐานะเจ้าของข้อมูล ก็หยุดให้ข้อมูล(ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ “ใส่เกียร์ว่าง” lol) การหยุดต่างๆ มันไม่ใช่เพียงการหยุดกิจกรรมเท่านั้น ความสำคัญของการหยุดต่างๆ ข้างต้นนั้นไม่ใช่การหยุดกิจกรรม แต่คือการระงับความสัมพันธ์ชั่วคราว คือเราเป็นผู้บริโภคก็เพราะเราบริโภค เราเป็นพลเมือง ก็เพราะเรากับรัฐมีสัญญาประชาคมระหว่างกัน การหยุดนี้คือ หยุดความสัมพันธ์ และพอไม่มีความระหว่างกัน สถานะเราก็จะถูกรีเซต กลับมาตั้งคำถามว่า เออ ตกลงกูคือใคร และกูเป็นอะไรกับมึง เราเป็นอะไรกัน แล้วที่ทำๆ อยู่ทุกวันนี่ มันสร้างคุณค่าอะไร หรือมึงเห็นกูเป็นของตาย เอาจริงๆ ก็น่าหัวเราะอยู่ คือมีปัญญาทำเท่านี้แหละ ในฐานะปัจเจกหนึ่งหน่วย อาวุธห่าอะไรอื่นก็ไม่เหลือแล้ว (การใช้อำนาจผ่านผู้แทนในระบบ ถ้ามี ก็สิ้นหวังแล้ว) ซึ่งระบบจะไม่รู้สึกอะไรหรอก…

  • ReadCamp logo and Free Culture movement

    ในที่สุดก็มีคนวงกว้างออกไปทักเรื่องโลโก้รี้ดแคมป์ ในประเด็นลิขสิทธิ์ ที่เชื่อมถึงเรื่องคอมมอนส์ .. เย่ 🙂 ตอบในฐานะผู้ออกแบบโลโก้นะครับ เรื่องลิขสิทธิ์นี้มีคนถามกันมาตลอด ตั้งแต่โลโก้ยังเห็นกันอยู่แค่สองคน ระหว่างการออกแบบ พอเมลไปขอความเห็นคนอื่น ๆ ว่าพอใช้ได้ไหม ก็มีทักเรื่องลิขสิทธิ์เช่นกัน แต่ผมก็ยังยืนจะเอาอันนี้แหละ จะมีปรับก็แค่เรื่องช่องไฟนิด ๆ หน่อย ๆ แต่แนวคิดหลักคงเดิม ไม่ได้เปลี่ยน พอเผยแพร่ออกไป ก็มีคนทักอีกเหมือนเคย จนในวันงานก็มีพี่คนนึงจากกองทุนไทยมาทัก และชวนคุยเรื่องนี้กัน ก็คุยกันอยู่ได้น่าจะครึ่งชั่วโมง ซึ่งที่คุยไปก็คล้าย ๆ กับที่เขียนลงในบล็อกนี้ครับ เดี๋ยวอ่านกันด้านล่าง พี่เขาเสนอให้เปิดเซสชันเรื่องนี้ด้วย (เอาป้ายบอกทางที่มีโลโก้รี้ดแคมป์ มาวงที่โลโก้ เขียนว่า “Is this freeware?” แปะที่ผนังเสนอหัวข้อ) แต่สุดท้ายได้คะแนนโหวตไม่ถึง เลยไม่ได้ถูกจัดลงตาราง ผมเองก็อยากจะคุยเหมือนกัน ตอนหลังเลยเอาไปแปะไว้ห้องสองต่อจากหัวข้อสุดท้ายในตาราง แต่ก็วิ่งไปวิ่งมา จนงานเลิกพอดี เป็นอันว่าไม่ได้คุย วันอาทิตย์วันรุ่งขึ้น ตื่นมา ก็เลยจะเขียนบล็อกแทน เปิดคอนโทรลพาเนลของเวิร์ดเพรส ก็เห็นลิงก์เข้ามาจากบล็อกคุณ mnop พอดี ในเมลกลุ่มรี้ดแคมป์ Ford ก็แจ้งมาว่ามีคนทักนะ…

  • can’t be more straightforward than this

    “ ผู้นำพันธมิตรฯ ควรมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายศาล เพื่อให้เผชิญกับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ส่วนการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปได้ในที่อื่นที่เหมาะสมกับการ แสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย (ที่ไม่ใช่เพื่อยึดอำนาจรัฐ) ในสังคมไทย แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังอยู่ใต้กฎหมาย ผู้นำพันธมิตรฯเป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนกันจึงวางอำนาจบาตรใหญ่เหนือกฎหมายได้ เกลียดทักษิณ ก็อย่าทำตัวอย่างเดียวกับที่ตนกล่าวหาทักษิณ ” — ธงชัย วินิจจะกูล : ทางออกธรรมดาๆ ที่ตรงไปตรงมา อ่าน อารยะขัดขืน ตามแนวทางของคานธี (แปลจากวิกิพีเดีย โดย @jittat) วันนี้จะไปงานปาร์ตี้อำลา-ปิดร้าน ‘always love & never say good-bye’ technorati tags: Thailand, civil disobedience, PAD, politics เรื่องเกี่ยวข้องจาก โรตี:

  • Kudos

    มาตรา 65 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำ ใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ อาจารย์จุฬาฯ ฉีกบัตรประท้วงการเลือกตั้ง อ. ไชยันต์ ไชยพร (หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ลงคะแนนโดยกาช่องไม่ประสงค์จะเลือกใครในบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ แล้วชูให้สื่อมวลชนดู หลังจากนั้นได้ฉีกบัตรเลือกตั้งจนขาด (ผิดกม.เลือกตั้ง มาตรา 108 – ทำลายบัตรเลือกตั้ง) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการปฏิเสธอำนาจรัฐ สัมภาษณ์ อ. แก้วสรร อติโพธิ ถึงกรณีนี้ (wmv) การยุบสภาที่ผ่านมานั้นไม่ได้มีประโยชน์เพื่อสาธารณะ ถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่เพื่อสาธารณะ อาจารย์ไชยันต์ก็ไม่มีหน้าที่จะต้องเป็นพลเมือง ซึ่งการฉีกบัตรเลือกตั้ง ก็เป็นการเลือกทำผิดกฎหมายอย่างสงบ เพื่อประท้วงขัดขืน ในกรอบที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 65 อนุญาต หนุ่มใหญ่ฉีกบัตรเลือกตั้ง ไม่ประกันตัว-ขอนอนคุกแทน ขอเป็นเพื่อน เป็นกำลังใจให้อาจารย์ไชยันต์ และไม่ให้อาจารย์โดดเดี่ยว อารยะขัดขืน (หรือ การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง หรือ สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย) เป็นการเรียกกิจกรรมรวม ๆ ของการเคลื่อนไหวที่จะไม่กระทำตามกฎหมาย…

  • Traffic Jam is not affordable, it’s CHEAP !

    สืบเนื่องจาก โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี (อ้างถึงข้อเขียนเกี่ยวกับ อารยะขัดขืน ของ คนชายขอบ “อารยะขัดขืน: ทางออกสุดท้ายของประชาชน?” รถติดเป็นเรื่องถูก-ถูก เวลามีงานศพคนใหญ่คนโต ตรงวัดเทพศิรินทร์ใกล้ ๆ บ้านผมนี่ รถอย่างติด เพราะเค้าปิดถนนไปเส้นนึงเลย เอาไว้จอดรถ เพราะจอดในวัดมันไม่พอ ถ้านั่งรถเมล์กลับจากที่ทำงาน หรือไปสยามมา (ปอ. 8, 15, 47, 48, 204) บางทีลงเดินยังเร็วกว่า ถัดมาหน่อยนึง หน้าโรงพยาบาลกลาง คืนศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ จะมีพ่อค้าแม่ค้ามากมายมาวางแผงแบกะดินขายของจิปาถะ เครื่องครัว/เตาแก๊สใหญ่ ๆ แบบที่ใช้ตามร้านอาหาร/โรงแรม วีซีดี วัสดุก่อสร้าง หนังสือเก่า เสื้อผ้า สารพัด รองเท้าข้างเดียวก็ขาย (หลาย ๆ อย่างก็เป็นของขโมยมา รถที่บ้านเคยถูกขโมยกระจกข้าง แจ้งความตำรวจ เค้าบอกให้ไปตามหาเอาที่ตลาดนี่แหละ อยู่หลังบ้าน เออ เจอเว้ย เลยซื้อคืนมา ไม่รู้จะทำไง) คนเยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งคนขาย คนซื้อ คนล้นลงมาถึงถนน เพราะทางเท้ามันเต็ม…

  • No Free Lunch

    “ผู้ใดก็ตามที่อ้างว่าตนนิยมเสรีภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ดูแคลนความวุ่นวาย คือคนที่อยากเห็นพืชพันธุ์งอกงามโดยไม่พรวนดินก่อน พวกเขาอยากเห็นฝนที่ไม่มาควบคู่ไปกับเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบ พวกเขาอยากได้มหาสมุทรที่ปราศจากเสียงกึกก้องอันน่ากลัวของผืนน้ำ การขัดขืนครั้งนี้อาจเป็นการขัดขืนทางศีลธรรม ทางร่างกาย หรือทั้งสองทาง แต่มันจะต้องเป็นการขัดขืน อำนาจไม่เคยยอมอ่อนข้อโดยปราศจากการเรียกร้อง มันไม่เคยยอมในอดีต และจะไม่มีวันยอมในอนาคต.” — เฟรเดอริค ดักลาส, ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ผู้สนับสนุนการเลิกทาส คนชายชอบ : อารยะขัดขืน: ทางออกสุดท้ายของประชาชน?

  • Civil Disobedience 2549

    อารยะแข็งขืน = อารยะขัดขืน = การดื้อแพ่งแข็งขืนแบบอารยะ = การแข็งขืนแบบอารยะ = civil disobedience อารยะแข็งขืน 10 ประการ บทวิเคราะห์: เปิดองค์กรรากหญ้า เปิดแนวรบใหม่รุกไล่ทักษิณ | กรุงเทพธุรกิจ 12 มีนาคม 2549 โฆษกพันธมิตรฯ ชี้ พร้อมดื้อแพ่ง ถ้าใช้ พรก.ฉุกเฉิน | กรุงเทพธุรกิจ 14 มีนาคม 2549 related: การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก

  • Monday demonstrations

    การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก | Monday demonstrations in GDR | Montagsdemonstrationen 1989/1990 in der DDR การเดินขบวนวันจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2532/2533 (ค.ศ. 1989/1990) ในเมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนีตะวันออก เป็นชุดของการประท้วงทางการเมืองอย่างสงบจำนวนหลายครั้ง เพื่อประท้วงรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก การเดินขบวนเริ่มต้นหลังจากการสวดมนต์เพื่อสันติภาพกับบาทหลวง Christian Führer ที่โบสถ์นิโคไล และขยายจนเต็มใจกลางเมือง Karl Marx Platz ที่อยู่ใกล้ ๆ. หลังจากที่ทราบว่าโบสถ์สนับสนุนท่าทีของพวกเขา ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากที่ต้องการออกไปจากประเทศก็ได้เข้าร่วมในสนามของโบสถ์ และการเดินขบวนอย่างสงบก็ได้เริ่มขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิ เช่น อิสระในการเดินทางไปต่างประเทศ และสิทธิเลือกตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อได้ทราบเรื่องนี้ จากโทรทัศน์และปากต่อปาก ประชาชนในเมืองอื่น ๆ ก็เริ่มการเดินขบวนอย่างในไลป์ซิก ชุมนุมกันที่จตุรัสเมืองทุก ๆ เย็นวันจันทร์. เมื่อถึงเดือนตุลาคม 2532 มีผู้เข้าร่วมชุมนุมถึง 250,000 คน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เมืองไลป์ซิกได้รับการขนานนาม (อย่างไม่เป็นทางการ)…

  • Winter Olympics in THAILAND

    ถึงจะไม่ค่อยเห็นด้วย ที่บางพรรคบอกว่าจะไม่ส่งผู้สมัคร แต่ก็ยังสงสัยว่า การคว่ำบาตรไม่ลงเลือกตั้งนี่ มันผิดกติกายังไงเหรอ ? และยังไงก็ตาม การเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน กับการเคลื่อนไหวของคนที่ไปชุมนุม ก็เป็นคนละการเคลื่อนไหวกันนิ จะบอกว่า พรรคฝ่ายค้าน “เล่นนอกกติกา” ก็ไม่ได้แปลว่ากลุ่มเคลื่อนไหวอื่น ๆ ไม่ได้เล่นตามกติกา หรือ บอกว่าพรรคฝ่ายค้านไม่มีความชอบธรรม แล้วพรรครัฐบาลจะชอบธรรมขึ้นมา ผมว่าตอนนี้ 3 ฝ่ายหลัก ๆ ก็หงี่พอ ๆ กันนั่นแหละ บ้าบอคอแตก ตั้งแง่ เล่นเกมกันอยู่ได้ ทั้ง รัฐบาล ฝ่ายค้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ กติกา ? เออ ว่าแต่กติกาอะไรล่ะ ? เรารู้กันไหม ว่าประชาชนนั้น มีสิทธิดื้อแพ่งต่อกฎหมายนะ (รวมทั้งการดื้อแพ่งต่ออำนาจรัฐด้วย) (ดื้อแพ่ง นะ ไม่ใช่ ละเมิด) Civil disobedience โดยพื้นฐานทั่วไปแล้ว เราควรจะเชื่อมั่นในกฎหมาย และปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เมื่อกฎหมายขัดกับความชอบธรรม ขัดกับวิจารณญาน เราก็มีสิทธิที่จะดื้อแพ่งต่อกฎหมายนั้น ซึ่งจะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์…