-
#MRT และ #BTS ต้องมีจุดขายตั๋วนอกสถานี — เพิ่มความเร็ว ลดความ #fail
ทั้ง MRT และ BTS ควรมีจุดซื้อตั๋วที่อยู่นอกตัวสถานีเสียที ไม่ว่าจะที่หน้าสถานีชั้นผิวถนน ร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ และช่องทางเติมเงินที่เอทีเอ็มหรือออนไลน์ ให้คนไปต่อแถวในสถานีน้อยที่สุด เพิ่มอัตราการเคลื่อนย้ายคน
-
ปัญหาของคนเมือง
ดูจากที่เพื่อนเฟซหลายคนแชร์ๆ มีคนจำนวนหนึ่ง อยากได้รถไฟดีๆ + ไม่สนับสนุนให้กู้เงิน + อยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะ .. พร้อมๆ กัน จะเอาเงินจากไหนครับ?
-
เราไม่ได้ออกแบบกันชนที่มีถุงลมเพื่อรักษาชีวิตคนอีกฝั่งของกระจก
เมื่อเท้าเราเหยียบอยู่บนกระเบื้องปูถนนที่หลุดร่อน เมืองที่เราสัมผัสเป็นแบบหนึ่ง เมื่อตัวเราอยู่ในรถและมองออกไป เมืองที่เราเห็นก็เป็นอีกแบบ ความรู้สึกกับเมืองที่ 60 กม./ชม. ย่อมต่างไปจากความรู้สึกกับเมืองที่ 4 กม./ชม. … ความตายของคนเดินเท้านั้นเป็นเพราะความโง่งี่เง่าของพวกเขาเอง เราไม่ได้ออกแบบกันชนที่มีถุงลมเพื่อรักษาชีวิตคนอีกฝั่งของกระจก
-
เราวาดพื้นที่สาธารณะ
ในตอนที่ NASA ส่งแผ่นอลูมิเนียมซึ่งมีจารึกรูปหญิงชาย ออกไปกับยาน Pioneer 10 และ 11 มีคนจำนวนหนึ่งบอกว่า NASA กำลังส่งรูปโป๊ไปอวกาศ – ศีลธรรมของมนุษย์วิ่งออกไปได้ถึงสุดขอบจักรวาล เปียโนบนถนน – ทางม้าลายในวอร์ซอว์ โปแลนด์ บันไดเปียโน ที่สถานีรถไฟใต้ดินที่สต็อกโฮล์ม สวีเดน – เดินแล้วมีเสียง คนเมินบันไดเลื่อน เดินแล้วสนุกกว่า กำแพงคือวิหารของศิลปินข้างถนน – งานกราฟิตี้ชิ้นใหม่จาก Banksy เราวาดพื้นที่สาธารณะได้เอง เริ่มที่การเดิน – Walking in the City * รูปประกอบจาก วิกิพีเดีย, redpolkadot, และ Street Art Utopia วิดีโอโดย The Fun Theory
-
เมื่อหยุด เมื่อเพลงชาติบรรเลง
เพื่อเป็นการไม่กีดขวางการสัญจรผู้ร่วมใช้เส้นทาง ผู้ประสงค์ยืนเคารพธงชาติ กรุณายืนชิดขวาด้วยครับ 🙂 จากใจคนเดินถนน technorati tags: pedestrian, street, city
-
Putting Pedestrian First
ปรับปรุง: 2009.08.22 @poakpong ได้ไปแจ้งที่ป้อมแล้ว (ซึ่งคราวนี้มีเจ้าหน้าที่อยู่) และทางเจ้าหน้าที่รับไปดำเนินการต่อแล้ว …แต่ก็ยังมีประเด็น บ่ายวันพฤหัสที่ผ่านมา รอข้ามถนนตรงแยกบางลำพู และพบว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ที่จะรอ อดไม่ไหว ขอถ่ายเก็บมาดูหน่อย โกรธ ระหว่างถ่าย ก็ได้โอกาสเก็บภาพรถราที่ไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่น้อย วิ่งฝ่าทางม้าลายตลอดเวลา แม้ไฟคนข้ามจะเขียวอยู่ แม้จะมีคนกำลังข้ามอยู่ เมืองเป็นที่อยู่ของคน คนก่อน รถทีหลัง คืนถนนให้คนเดินเท้า! Putting Pedestrians First technorati tags: traffic light, pedestrain rights, Bangkok
-
No more wait. We do it ourselves.
เมื่อเจ้าหน้าที่ในโทรอนโตล้มแผนที่จะขยายช่องทางจักรยานในเมือง กลุ่มนักปั่นนิรนามจึงตัดสินใจทำสิ่งที่ทางเมืองไม่ทำ. ด้วยสีและอุปกรณ์ครบมือ พวกเขาทาสีช่องทางจักรยานเองบนถนน Bloor Street ถนนสำคัญสายหนึ่งของเมืองด้วยตัวเอง. ภาพโดย Spacing Magazine (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ CC by-nc-nd) “ทางเมืองยืนยันมาตลอดหลายปี ว่าการทำเลนจักรยานบนถนนสายนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้” “เรากล้าที่จะแตกต่าง” พบกับกลุ่ม Urban Repairs Squad และไอเดียเปลี่ยนเมืองของคุณด้วยมือคุณเอง มีคู่มือด้วยนะ มาเล่นกับกรุงเทพบ้างดีไหม ? :p อยากซ่อมอะไรกรุงเทพ ลองเสนอที่ IdeaBangkok.com แนะนำบล็อก Urban Revival เกี่ยวกับการผังเมืองและวัฒนธรรมของผู้คนในเมือง อัปเดต 2008.11.08: ถ้าเข้าไปดูรูปในบล็อก Urban Repairs Squad บางรูปบนผิวถนนจะเห็นเครื่องหมายอินธนู >> อยู่บนเครื่องหมายจักรยาน อันนั้นคือเครื่องหมายที่บอกว่า “ช่องทางนี้ใช้ร่วมกัน” (รถยนต์กับจักรยาน) — shared lane marking หรือ sharrow [ ผ่าน GOOD ] technorati…
-
social problems in Old Town Rome, lecture by Michael Herzfeld
เชิญร่วมการบรรยายพิเศษ “ปัญหาสังคมในเขตเมืองเก่า: กรณีศึกษากรุงโรม” โดย ศ.ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Michael Herzfeld) ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2551 13:00-16:00 น. ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ตึกคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ศูนย์รังสิต ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ เป็นศาสตราจารย์มานุษยวิทยา และภัณฑารักษ์ชาติพันธุ์วิทยายุโรปประจำพิพิธภัณฑ์พีบอดี ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ที่ซึ่งเขาสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991. หัวข้อวิจัยที่สนใจได้แก่ ทฤษฎีสังคม, ประวัติศาสตร์ของมานุษยวิทยา, social poetics, การเมืองของประวัติศาสตร์, ยุโรป (โดยเฉพาะกรีซและอิตาลี) และประเทศไทย. สำหรับประเทศไทยไมเคิลมีผลงานเด่นคือการศึกษาชุมชนป้อมมหากาฬในกรุงเทพ. technorati tags: Michael Herzfeld, Rome, old town
-
rent a house = high mobility ?
เวลานั่งรถไฟฟ้า นั่งรถไปไหนมาไหน มองเห็นตึกแถวใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่เยอะแยะมากมายในกรุงเทพ ตึกแถวต่าง ๆ น่าจะมีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ากว่านี้ จะได้ไม่ต้องสร้างตึกใหม่ให้เปลืองทรัพยากร ทำเป็น mixed use ซะ ใช้หลายประสงค์ ถือครองร่วมกันหลายคนหลายครอบครัวหรือเจ้าของตึกแบ่งเช่า ชั้นล่างให้เช่าเป็นร้านค้า/สำนักงาน ชั้นบน ๆ แบ่งชั้นให้แต่ละครอบครัวเช่า ชั้นดาดฟ้าบนสุดใช้ร่วมกัน เป็นลานซักล้าง-ตากผ้า หรือถ้าตึกข้างเคียงจะตกลงเปิดดาดฟ้าต่อกันก็ได้-ทำเป็นลานนั่งพักผ่อน/ทำกิจกรรม (ข้างล่างไม่มีที่) ถ้าจะทำ ต้องปรับปรุงเรื่องประตูเข้าออก ทางขึ้นลง ให้สะดวกกับทุกฝ่าย แบบนี้ ตึกแถวห้องหนึ่งอาจอยู่ได้ถึงสามสี่ครอบครัวเล็ก ๆ ตามลักษณะครอบครัวคนทำงานรุ่นใหม่ในเมือง อีกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้เรื่องข้างบนเป็นไปได้มากขึ้น คือ ค่านิยมเรื่อง “เช่าบ้าน = ไม่มั่นคงในชีวิต” น่าจะปรับเปลี่ยนเป็น “เช่าบ้าน = คล่องตัวสูง” มี mobility เคลื่อนย้ายสะดวก ซึ่งน่าจะเหมาะกับลักษณะชีวิตคนทำงานรุ่นใหม่มากกว่า ที่ย้ายสถานที่ทำงานบ่อยครั้ง (ทั้งจากการย้ายองค์กร หรืออยู่ในองค์กรเดิมแต่ต้องเดินทางเปลี่ยนที่ทำงาน) ทั้งตอบสนองความต้องการที่จะมีบ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน เพื่อความสะดวก ลดค่าเดินทาง ประหยัดเวลา เพิ่มคุณภาพชีวิต (สามารถย้ายบ้านตามที่ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องห่วงเรื่องซื้อขายบ้าน หรือทำสัญญาระยะยาว)…