Tag: architecture

  • Netizen Marathon 2010: Online Studies #nm10

    ส่วนหนึ่งของเทศกาล Netizen Marathon 2010 — hashtag: #nm10 อาทิตย์ 28 พ.ย. 15:00 – 17:00 คุยกับสถาปนิก เรื่อง คนกับพื้นที่ เบญจมาส วินิจจะกุล และ ดวงฤทธิ์ บุนนาค @ ร้านหนังสือและกาแฟก็องดิด ถนนตะนาว ใกล้สี่แยกคอกวัว [แผนที่] [Facebook event] จันทร์ 29 พ.ย. 09:00 – 17:00 เวทีวิชาการสาธารณะเพื่อพัฒนาคำถามวิจัย ออนไลน์ศึกษา @ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ตึกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ชั้น 4 ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ [แผนที่] ปฏิทินกิจกรรม เทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอน 2553 thainetizen.org/marathon (Open Data BarCamp, Clip Kino, ReadCamp, ฯลฯ)…

  • Jaime Lerner: Sing a song of sustainable cities

    TED Talk – Jaime Lerner: Sing a song of sustainable cities ชอบไอเดียเรื่องเอาระบบขึ้นลงรถไฟฟ้า มาใช้กับรถเมล์ (ทำป้ายรถเมล์ให้คล้าย ๆ ที่รอรถไฟฟ้า ทำประตูรถเมล์ให้มีหลาย ๆ ประตูแบบรถไฟฟ้า) แล้วเชื่อมทั้งรถไฟฟ้าและรถเมล์เข้าด้วยกัน — “ระบบเดียวกัน ต่างกันแค่พาหนะ” technorati tags: city, Brazil, traffic system, TED

  • aesthetic of gravity

    สุนทรียศาสตร์ของแรงโน้มถ่วง เรียบเรียงจาก Pierre von Meiss (2000), The Aesthetic of Gravity, Architectural Research Quarterly; Volume 4 /NO.3, London: Cambridge Press โดย post-metropolis — บล็อกนักเรียนไทย การผังเมือง คาสเซิล เยอรมนี [ ผ่าน romance was not built in one day ] technorati tags: aesthetic, gravity, urban planning

  • Live+Work Bazaar 2550 B.E.

    ห้องแถว 2550 – “เครื่องมือ” สู้ทุนข้ามชาติในรูปแบบ “อาคาร” โดย คุณยรรยง บุญ-หลง ออกแบบมาสำหรับเมืองที่มีความหนาแน่นสูง กระจายพื้นที่สาธารณะ-พื้นที่แลกเปลี่ยนค้าขาย โดยเพิ่มและดึงพื้นที่เหล่านั้นเข้าใกล้พื้นที่ส่วนตัว สําหรับนักลงทุนที่ต้องการกําไรจากที่ดิน และกําลังคิดที่จะสร้างห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาเก็ต (อย่างโลตัส ) สิ่งที่ควรไตร่ตรองให้ดีก็คือ ระบบรวมศูนย์และระบบมาตรฐานเิชิงเดี่ยว (standardization) นั้นจะนําไปสู่การจัดการในลักษณะ “สังคมนิยม” มากขึ้นๆ ความเป็นปัจเจกนั้นจะน้อยลงเมื่อกิจการขยายใหญ่ขึ้น ผลผลิตจะไม่หลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์ (ซึ่งต้องการความเป็นปัจเจกชน) ก็จะน้อยลง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ร้านหนังสือ และห้างใหญ่ๆ กําลังประสบปัญหาขาดทุนเพราะไม่สามารถแข่งกับพ่อค้ารายย่อยทาง eBay ได้ eBay นั้นมีหลักการง่ายๆ ก็คือ สร้างพื้นที่สาธารณะขึ้นมาให้ผู้คนแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง โดยเก็บเพียงค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วม ผลปรากฎว่า eBayได้กําไรมหาศาลเพราะเขา ไม่ต้องลงทุนหาสินค้าเองเลย หากเพียงแค่เปิดพื้นที่ให้คนมาใช้เท่านั้นก็พอ ห้องแถว 2550 ก็อาจมีลักษณะคล้ายๆ กับ eBay คือ เปิดพื้นที่สาธารณะใหม่ขึ้นมาให้คนได้ใช้ โดยเก็บค่าเช่า(สําหรับห้องแถว) และค่าธรรมเนียม(สําหรับแพงลอย) ในราคาถูกแต่เก็บมากรายขึ้น ยิ่งคนมาขายเยอะก็ยิ่งเก็บได้เยอะและเก็บได้ถูกลง เป็นผลให้คนมาขายมากขึ้นอีก ดูไปดูมา…

  • Arsom Silp Institute of the Arts and Development

    มีเพื่อนจะไปเรียน วันนี้เพิ่งถามรายละเอียดมา สถาบันอาศรมศิลป์ หลักสูตรที่เพื่อนจะไปเรียนคือ สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) Master of Architecture (Community and Environmental Architecture) ลงมือพร้อมเรียนรู้ น่าสนใจไหม? โครงการจัดตั้งสถาบันอาศรมศิลป์ ภายใต้การสนับสนุนของของมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคณะทำงานที่มีประสบการณ์ในสายงานศิลปะและวัฒนธรรมหลากหลายสาขา ด้วยความมุ่งหวังที่จะสรรค์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางศิลปะในแขนงต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานงานเครือข่ายศิลปินและนักวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรมจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อันหลากหลาย อันจะนำไปสู่การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาวิชาชีพทางศิลปะต่อไป โครงสร้างบางส่วน (ดูฉบับเต็ม): สำนักวิชาการ – จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอุดมศึกษา สำนักวิชาเสกขศิลป์ (ศึกษาศาสตร์ การเรียนการสอนแบบบูรณาการ) สำนักวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สำนักวิชาสหศาสตร์ – วิจัย บริการวิชาการและวิชาชีพ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมอวิจารณ์ พูดถึง อาศรมศิลป์ แชทกะเพื่อนอยู่ สถาปัตยกรรมคืออะไร (ในความหมายชุมชนและสิ่งแวดล้อม) มันว่าพื้นที่ที่เปิดให้มีกิจกรรมร่วมกัน งั้น ไซเบอร์สเปซ ก็ได้ดิ ได้มะ? technorati tags: Arsom…

  • Pet Architecture

    เห็นเล่มนี้ Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective แล้วก็นึกถึงเล่มนี้ Pet Architecture Guide Book ไปได้มาจากงาน Talking Cities เมื่อปีที่แล้ว มันเป็นคนละเรื่องกันนะ แต่ที่เกี่ยวกันก็คือ มันเป็นเรื่องในเมือง และเป็นเรื่อง.. ความที่มันเป็นอย่างนั้นอยู่เอง ..จะเรียกว่าความไร้ระเบียบมันก็ อาจจะใช่ แต่เรียกว่า การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม น่าจะเหมาะกว่า Pet Architecture นี่มันเป็น พวกอาคารที่โผล่ขึ้นมาในที่ที่ไม่น่าจะสร้างอะไรได้ ทั้งในแง่ขนาดหรือรูปร่างของพื้นที่ หรือข้อจำกัดอื่น – แต่มันก็ยัง(หน้าด้าน)โผล่ขึ้นมา เมื่อครั้งงาน Berlin-Tokyo / Tokyo-Berlin ที่ Neue Nationalgalerie เบอร์ลิน ก็มีเอา Pet มาแสดงในโถงใหญ่ด้านบน เสียดายที่ไม่ได้ลองเดินเข้า คนมันเยอะมาก ก็เลยไปดูอย่างอื่นก่อน ปรากฏว่าดูไม่ทัน – -” เยอะมาก (คุ้มดี) แม้ว่าการเริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้ จะเริ่มในญี่ปุ่น…

  • Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective

    จากรีวิวที่ I am what I am แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม “การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่” อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ) รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ…

  • Safe is Unsafe

    “We reject every form of legislation” “เราปฏิเสธการออกกฎหมายทุกรูปแบบ” — Mikhail Bakunin บิดาแห่งลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่ ไม่มีป้าย ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีถนน ไม่มีทางเท้า และไม่มีกฎ — ผู้ใช้เส้นทางเคารพซึ่งกันและกัน เมือง 7 เมืองในยุโรป ปลดป้ายจราจรทิ้ง “กฎหลายอย่างได้ฉวยเอาสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งไปจากเรา: ความสามารถในการ คิดถึงความคิดของผู้อื่น. เราได้สูญเสียความสมรรถภาพในการมี พฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม” ฮานส์ มอนเดอร์มาน ผู้เชี่ยวชาญการจราจรชาวดัตช์, หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ, กล่าว “จำนวนคำสั่งที่ยิ่งมาก ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตัวเองของผู้คนยิ่งหดลง” ผลลัพธ์ก็คือ ผู้ขับขี่พบว่าตัวพวกเขานั้นถูกล้อมรอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ที่บีบรัด, ดังนั้นพวกเขาจึงได้พัฒนา “สายตาแบบท่อ” [tunnel vision – อาการพิการทางสายตา มองไม่เห็นสิ่งรอบข้าง]: พวกเขาจะค้นหาช่องทางที่จะได้เปรียบอยู่เสมอ และความประพฤติที่ดีก็จะไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา แนวคิดเรื่องไม่มีป้ายจราจรนี้ เคยอ่านเจอเมื่อสองสามปีก่อน ในหนังสือชื่อ Emergence: The Connected Lives of…

  • Sarasatr

    The 10th Sarasatr Symposium on SITUATIONIST SPACES สาระศาสตร์ 10 :“สถานการณ์สานสาระ” การประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยการออกแบบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรม และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง วันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2549 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ทางความคิดของศาสตร์ทางการออกแบบ และสถาปัตยกรรมจะเป็นอย่างไร เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบันนั้นซับซ้อน มีเงื่อนไข และเกิดเป็นสถานการณ์เฉพาะที่ เฉพาะเวลา เฉพาะกลุ่ม อย่างหลากหลายมากขึ้น ขอเชิญชวนสถาปนิก นักออกแบบ นักผังเมือง ศิลปิน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา รวมทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศวัย ร่วมส่งบทความ เสนอผลงาน และเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการที่ขยายพื้นที่ทางความคิดแบบสถานการณ์นิยมตามมุมมองของท่านอย่างอิสระและสร้างสรรค์ รายละเอียดที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน | เว็บไซต์: sarasatr.info Wikipedia: situationist tags: Sarasatr, Symposium, conference, design,…

  • Mixedmedia

    mixedmedia.it via anpanpon tags: new media media art architecture digital creative