-
Plagiarism on Thai (major) newspaper
คอลัมนิสต์ “อมร อมรรัตนานนท์” เขียนบทความชื่อ “ฤาจะให้หยุดลมหายใจชั่วคราว หากสังคมไทย ยังเป็นเช่นนี้?” ในคอลัมน์ ฅ.เลือกข้าง ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 หน้าที่ 13 โดยลอกข้อความบางส่วนไปจากบทความที่ “คิ้วหนา” เขียนลงในบล็อก “มาบตาพุด…ยิ่งกว่าสำลักมลพิษ (ตอน ๑)” และใช้รูปภาพโดยไม่ได้อ้างอิงที่มาของภาพ ดูในรูปที่สแกนมาแล้ว หากจะอ้างว่าได้ข้อมูลมาจากที่เดียวกัน อาจจะเขียนเหมือนกันได้ ก็คงพอไหว (เข้าข้างสุด ๆ แล้วนะ) – แต่ตรงที่ขีดเส้นใต้สีแดงนั้น ซึ่งเป็นลักษณะสำนวนคำพูด ดูจะบังเอิญเกินพอดี – -“ อ่านต่อ: เจ้าข้าเอ๊ย…ระวังคนหน้าด้านขโมยบล็อก สื่อเก่า ขโมย สื่อใหม่ 😛 ไม่รู้ว่าทางคอลัมนิสต์รายนี้ นสพ.ผู้จัดการ และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะทำยังไงต่อ หรือจะทำเฉย ๆ ไม่สนใจ ปล่อยให้เรื่องเงียบไปเอง เหมือนสารพัดเรื่องราวในประเทศแห่งนี้… มาช่วยกันประจานให้ทั่ว blogosphere ดีไหม?…
-
List of "Thai" monarchs
ควรจะใช้ชื่อหัวข้อว่าอะไรดี ? มีหน้าในวิกิพีเดียไทยหน้าหนึ่ง เป็นการรวบรวมลำดับกษัตริย์ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน โดยในขณะนี้ใช้ชื่อว่า “ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย” ทีนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตมาว่า ไม่น่าจะใช้คำว่า “ไทย” เนื่องจากก่อนหน้า พ.ศ. 2482 นั้น เรายังใช้คำว่า “สยาม” กันอยู่ ยังไม่ใช่ “ไทย” – จึงควรจะเปลี่ยนชื่อหน้านั้น ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง (ในหน้านั้น รวบรวมรายชื่อย้อนขึ้นไปถึง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ .. ซึ่งผมว่า “สยาม” เองก็ยังไม่น่ามีนะ) กรณีเทียบเคียงของประเทศอื่น/วิกิพีเดียภาษาอื่นนี่ มีตัวอย่างเช่น List of monarchs in the British Isles (กษัตริย์ใน “เกาะอังกฤษ” ซึ่งรวมสกอตแลนด์และเวลส์ด้วย) กับ List of English monarchs (เฉพาะกษัตริย์ของอังกฤษ-ที่ไม่ใช่ UK-เท่านั้น) ของไทยนี่ ไม่รู้จะใช้ว่า “กษัตริย์ในดินแดนสุวรรณภูมิ” ได้ไหม, หรือว่ากว้างไป ? ขอเชิญผู้รู้/ผู้สนใจ…
-
Apache Harmony 5.0 M1
มาแว้ว~ อาปาเช่ฮาร์โมนี จาวารันไทม์ในสัญญาอนุญาตแบบอาปาเช่ (ตัวที่ซันโอเพนซอร์สนั้น ใช้ GPL) Apache Harmony 5.0 นี้ ตั้งเป้าให้เป็น “compatible, independent implementation” ของสเปค Java SE 5 (เช่นเดียวกับของที่ Sun, IBM, BEA ฯลฯ ทำ) โดยใช้ Apache License v2 นอกจากนี้ ยังเสนอสถาปัตยกรรมรันไทม์แบบแยกชิ้นส่วนได้ (modular runtime) ทั้งในส่วนของ VM และ class library, ตัวอย่างเช่น สามารถนำ class library ของ Apache Harmony ไปใช้กับ JRockit VM ของ BEA ได้ ดู Java stack ทางฝั่งที่ใช่สัญญาอนุญาตแบบอาปาเช่แล้ว ครบครันจริง…
-
SWSE – Semantic Web Search Engine
เสริชเอนจินสำหรับ Semantic Web SWSE SWSE ออกเสียงเหมือน “swishy” โลโก้เป็นรูปเข็มทิศสองอัน ชี้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SW) และตะวันออกเฉียงใต้ (SE) ทำลายสถิติโลก – สามารถค้นคำตอบจากประโยค RDF จำนวน 7 พันล้านประโยค ได้ภายในเสี้ยววินาที The Semantic Web Search Engine developed at DERI is able to answer queries with more than 7 billion RDF statements in fractions of a second – the largest number reported so far anywhere in the…
-
2007
โพสต์ที่สองพันเจ็ด ในปีสองพันเจ็ด มีหลายเรื่องที่คิดอยู่ตอนนี้ งานปัจจุบัน ชีวิตในอนาคต เพื่อน ๆ และครอบครัว ความสัมพันธ์ ความเปลี่ยนแปลง และการเริ่มต้น มีความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ “ทำในสิ่งที่เชื่อ” ใช่ไหม ? เดินทางไปสู่ผู้คน ไม่ใช่สถานที่ คนเปลี่ยน เราเองก็เปลี่ยน แต่ยังไม่เปลี่ยนคน น้ำเน่า ลิเก จริง ครั้งหนึ่งเธอเคยตอบว่า “แต่ลิเกก็เป็นศิลปะพื้นบ้านนะ” ครั้งนี้ คำตอบคงอยู่ที่ตัวเราเอง technorati tags: 2550
-
Thailand Human Rights blog
Thai Coalition for the Protection of Human Rights Defenders (HRD-TH) Campaign Committee for Human Rights เว็บล็อกของ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) http://www.oknation.net/blog/humanrights “สิทธิมนุษยชน คือจุดเริ่มต้นแห่งสันติภาพ” technorati tags: human rights, blogs
-
Thais in UK protest the coup
4 พ.ค. 2550 กลุ่มคนไทยในสหราชอาณาจักร ชุมนุมหน้าสถานฑูตไทยในกรุงลอนดอน ประท้วงคณะรัฐประหาร และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งในประเทศไทย technorati tags: coup
-
survey survey
ช่วยกันตอบคำถามชิล ๆ หน่อย? 😛 เวลาไปเชียงใหม่ ชอบไป “นั่งเฉย ๆ” แถวไหน? “นั่งทำงาน” แถวไหน? “นั่งอ่านหนังสือ” แถวไหน? “นั่งเล่น” แถวไหน? “นั่งคุยกับเพื่อน” แถวไหน? (หรือจะตอบเป็นร้าน/ย่านในกรุงเทพหรือที่อื่นก็ได้ครับ) เวลาตัดสินใจเข้าไปนั่งร้านไหนซักร้าน อะไรสำคัญ? จะไม่กลับไปร้านนั้นอีก ถ้า…? กลับไปร้านไหนบ่อย ๆ เพราะ…? ขอบคุณครับ 🙂
-
Internet as a new media
ประชาไท, เสรีภาพสื่อไทย ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก, 3 พ.ค. 2550 2. จากการที่รัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องพยายามให้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นแก่สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ค่อนข้างมาก กลับปรากฎร่องรอยของความพยายามในการปิดกั้นเสรีภาพในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่ถือเป็นสื่อใหม่ที่ตามข้อเท็จจริงแล้วแทบจะไม่สามารถปิดกั้นได้เลย และนับวันจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคข่าวสารของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ 3. ด้วยเหตุนี้ จึงถือโอกาสเรียกร้องไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ทำงานอยู่ในสื่อกระแสหลัก ให้ยอมรับการเกิดและดำรงอยู่ของสื่อใหม่ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเข้ามาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการสื่อสารทางเดียวไปสู่การสื่อสาร 2 ทาง หรือหลายทาง ที่ต่างก็ต้องการเสรีภาพในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องตกอยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบและความมั่นคงของประเทศ 4. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งหลายดังมีรายชื่อข้างต้น จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมสื่อมวลชนยุคใหม่ และพยายามมองความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนี้ ในด้านดี เช่น ในฐานะเป็นเวทีเสรีที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิด เห็นกันได้อย่างเสรี ดังนั้น การดำเนินการปิดกั้นเสรีภาพในโลกดิจิตอลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง technorati tags: Internet censorship, new media
-
Knowledge Commons
(ควันหลง/เก็บตกจากงาน Hakuna Matata Night โดย TRN และกลุ่มอาสาสมัครเพื่อสังคมอื่น ๆ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา แถวข้าวสาร – ผมไปเสนอเรื่อง Creative Commons แบบเบลอ ๆ – เค้าบอกให้มีแต่รูป เราทำมีแต่ตัวอักษรไป!) update (2007.05.07): ดาวน์โหลดสไลด์ได้ที่ bact’ bazaar นอกจากสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ open content แล้ว มากไปกว่านั้น Open Education Movement ยังเสนอ หลักสูตร แนวทาง นโยบาย แนวคิด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการกว้าง ๆ คือ: ความรู้จะต้องฟรีและเปิดให้ใช้/นำกลับมาใช้ได้ การร่วมมือกันจะต้องง่ายขึ้น คนที่มอบอะไรให้กับการศึกษาวิจัย ควรจะได้รับการมองเห็นและคำชื่นชม แนวคิดและความคิดนั้นโยงร้อยกันในวิธีที่เราไม่ได้คาดคิด และไม่ได้เป็นเส้นตรงอย่างที่เห็นในหนังสือเรียน โอเพ่นเอดูเคชั่นให้คำสัญญาที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่นทั่วโลก ในวิธีที่ผู้เขียนหนังสือ ผู้สอน และผู้เรียน แลกเปลี่ยนโต้ตอบกัน เรื่องนี้มีผู้สนใจทั่วโลก…