-
Palawat forum
เปิดให้บริการแล้ว เว็บบอร์ด พลวัต http://www.palawat.com/forum/ technorati tags: Palawat, forum, webboard
-
GATE experiment at KIND Lab, SIIT
งานทดลองสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวานทดลองเขียน wrapper ครอบ Stanford Log-linear Part-Of-Speech Tagger ให้กลายเป็นปลั๊กอินสำหรับใช้กับ GATE (หลังจากตั้งท่ามานาน) pipeline ในรูป มี 3 Processing Resources คือ tokensier, splitter และ tagger tokensier คือ net.siit.gate.DictionaryBasedTokeniser เป็นตัวตัดคำธรรมดา ๆ ใช้พจนานุกรม1 และออกแบบให้ตัดได้คำที่ยาวที่สุด (longest-matching) ทำงานกับ AnnotationSet ของ GATE โดยตรง — จะสร้าง AnnotationSet ชื่อ “Token” ขึ้นมา splitter คือ ANNIE Sentence Splitter เป็นตัวแบ่งประโยค โดยใช้กฎ (ภาษา JAPE เป็นลักษณะ regular expression over annotation)…
-
NODE101 – vdoblogging how-to
สอนทำ Videoblogging: NODE101 ลูกค้าของคนสอน เช่น Google, Socialtext, Technorati, PBWiki technorati tags: videoblogging
-
The Fifth Horseman Is Fear
คนป่วยแนะหนัง The Fifth Horseman Is Fear “ความกลัวคือเครื่องมือ” นอกจากภาพ หนังยังเต็มไปด้วยเสียงรบกวนตลอดเวลา ทั้งนาฬิกาปลุก โทรศัพท์ กริ่งประตูบ้าน เสียงเด็กทารก ในหนังเรื่องนี้แทบไม่มีใครได้ทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่สำเร็จเสร็จสิ้น เพราะพวกเขาล้วนถูกรบกวนจากเสียงเหล่านี้ เสียงเตือน เสียงร้องหา เสียงที่เป็นเสมือนอำนาจรัฐจับตาทุกการกระทำของทุกตัวละคร ชื่อหนังขยายความมาจากตอนหนึ่งในพระคัมภีร์ [ไบเบิ้ล] ที่พูดถึง มนุษย์บนหลังม้าสี่คน ที่หมายถึงสี่ประการที่จะทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้ชายลง สิ่งนั้นประกอบด้วย ม้าสีขาวคือ โรคระบาด ม้าสีแดงคือ สงคราม ม้าสีดำคือ สตรี และม้าสีเทาคือ ความตาย และหนังเรื่องนี้ยั่วล้อถึงม้าตัวที่ห้า นั่นคือ – ความกลัว – ความกลัวนี้เองที่ทำให้คนตกเป็นเครื่องมือของอำนาจรัฐ เพื่อนกลายเป็นศัตรู คนที่เคยช่วยเหลือกันกระทั่งศพก็ยังไม่เหลียวมอง และเป็นความกลัวนี้เองที่ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายมนุษย์ และแม้ว่าในเวลาปัจจุบัน นาซีได้ล่มสลายไปยาวนานแล้ว แต่เผด็จการยังคงเกิดใหม่ทุกวัน หนังคือภาพร่างคร่าวของประชาชนที่ตกอยู่ภายใต้ความกลัวอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐใช้เสมอมา ความกลัวถึงสถานะที่ไม่มั่นคง ความกลัวที่จะไม่ได้เลือกตั้ง ความกลัวที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญ ความกลัวคือเครื่องมือเสมอ ฉากสุดท้ายของหนังพาเราย้อนกลับมาที่ป้ายประกาศนั้นอีกครั้ง ตัวหนังสือบนป้ายเขียนว่า เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนหากเห็นสิ่งไม่ชอบมาพากลให้โทรแจ้ง เบอร์ 44811 เพื่อรัฐ…
-
Stanford SemLab
Stanford’s Computational Semantics Laboratory technorati tags: computational semantics
-
Thailand Illustrated
ดูหนังอย่างคนป่วย (ในสังคมป่วย ๆ) รักชาติ คลั่งชาติ – Punishment Park แดนลงทัณฑ์ ภาพเผด็จการ – The Party and the Guest งานเลี้ยงของอำนาจ ความมั่นคงของชาติ – The Fifth Horseman is Fear, The Crazies ความบ้ามาเยือน ตรวจสอบจับตา – Nineteen Eighty-Four, The Lives of Others, V for Vendetta โลกหลังเซ็นเซอร์ – Fahrenheit 451 การใช้อำนาจรัฐ – The Host คน ผี ปีศาจ การเหยียดเชื้อชาติ – Fantastic Planet นิทานดวงดาว แนะนำเพิ่มเติมได้ครับ…
-
Why NO ?
19 สิงหาใกล้มา หลายคนอาจมีข้อกังขาเหล่านี้อยู่ในใจ … โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายหรือไม่ ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ จะได้อะไร ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ ร่วมกับใคร ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ เลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ ? โหวตล้มรัฐธรรมนูญ อาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ถอยหลังกว่าเดิม ? รับฟังข้อมูล หาคำตอบ และตัดสินใจให้ตัวคุณเอง ที่เว็บ wevoteno.net [ ลิงก์ wevoteno.net | ผ่าน wonam ] technorati tags: constitution, Thailand
-
Democracy under Martial Law ?
“….ใน ภาวะของการประกาศกฎอัยการศึก จะมีประชาธิปไตยได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสได้คุยกันและทำความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และปล่อยให้ สสร. ได้รณรงค์ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อยู่แต่ฝ่ายเดียว…มิพักต้องกล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ล้มไปได้เลย….” “ภายใต้กฎอัยการศึก เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้” – สมบัติ บุญงามอนงค์ ฐิตินบ โกมลนิมิ, สำนักข่าวชาวบ้าน อัยการทหารที่ “รวบและกักตัว” นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ อ้างว่าใช้อำนาจตาม พ.ร.บ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 (โปรดสังเกตว่า ประเทศของเราเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 !) ประชาธิปไตย … อธิปไตยจะเป็นของประชาได้อย่างไร หาก(เรายังยอมให้)ทหารหรือใครมีอำนาจเหนือประชา เพียงเห็นต่าง ก็ถูกจับกุม และเราจะคุยกันยังไง ? และเมื่อคุยกันไม่ได้ แล้วจะหาข้อตกลงร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกันยังไง ? [ ลิงก์ สำนักข่าวชาวบ้าน | ผ่าน ประชาไท ]…
-
"Civil and Political Rights" – we have it, well, at least on the paper!
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งแปรข้อบทใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 technorati tags: human rights, civil rights, political rights
-
Can You Tell Heaven From Hell ?
“ So, so you think you can tell Heaven from Hell, Blue skies from pain. Can you tell a green field From a cold steel rail? A smile from a veil? Do you think you can tell? ” “ สำหรับคุณแล้ว คุณคิดว่า คุณสามารถพูดถึงสวรรค์ จากนรกได้งั้นหรือ พูดถึงฟ้าครามสดใส จากความเจ็บปวด พูดถึงพื้นหญ้าเขียวขจี จากรางรถเหล็กเยียบเย็นได้หรือไร พูดถึงรอยยิ้มจากผ้าคลุมปิดบังใบหน้า คุณคิดว่าจะพูดถึงสิ่งเหล่านี้ได้ล่ะหรือ ” Pink Floyd – Wish You…