-
Internet of Opinions
เราไม่ได้ต้องการเฉพาะความจริง (truth) หรือข้อเท็จจริงที่เป็นจริง (true fact) เราต้องการข้อเท็จจริงอื่นๆ รวมถึงความคิดเห็นด้วย ทั้งที่เราชอบและไม่ชอบ ความคิดเห็นนั้นไม่เพียงมีคุณค่าในตัวเอง แต่ยังเป็นเครื่องมือพาเราไปหาความจริงและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในอนาคตได้อีก
-
อนุญาตให้เรียนไม่สดเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึง + การสร้างพื้นที่ปลอดภัยระหว่างบันทึกการสอน
การสอนออนไลน์ ควรมีการบันทึกการสอนไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนที่มีทรัพยากรเพื่อการเข้าถึงจำกัด และในการบันทึกก็มีข้อควรพิจารณาต่างๆ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้สำหรับทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน #accessibility #safety #privacy #freespeech
-
ว่าด้วยการเยียวยา – กรณี #TCAS วารสาร และอื่นๆ ในยุค #COVID19 นี้
เรื่องประกาศ #TCAS เพื่อรับเข้าเรียนที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผิดพลาด นี่ก็มีประเด็นเยียวยาอยู่เหมือนกัน และมีแง่มุมของการเยียวยาคนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งสมควรได้รับการเยียวยา) ที่อาจสร้างความเดือดร้อนใหม่ให้กับคนอีกกลุ่ม (ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรผิด)
-
Override / Overrule ปัญหาการเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของกฎหมายลำดับสูงกว่าด้วยกฎหมายลำดับต่ำกว่า
กรณีของการพยายามจะเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการออกพ.ร.ฎ.มางดเว้นนี่ก็น่าสนใจ คือคิดแบบภาวะปกติเลยนะ ไม่ต้องมีภาวะพิเศษหรือรัฐประหาร ตัวพระราชบัญญัตินั้นจะประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ ต้องอาศัยรัฐสภาเห็นชอบ ส่วนพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้นๆ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาได้เลย ตามที่กฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจนิติบัญญัติบางส่วนเอาไว้กับฝ่ายบริหาร ทีนี้ มันมีสิ่งน่าสนใจ 2 อย่าง ที่กรณีการพยายามเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยพ.ร.ฎ. ซึ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทยนั้น ตัวพ.ร.ฎ.อยู่ต่ำกว่าพ.ร.บ. 1) การที่เกิดภาวะแบบนี้ได้ เพราะกฎหมายในมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพ.ร.ฎ.นั้น มีผลใช้บังคับแล้ว รัฐมนตรีจึงจะนำอำนาจดังกล่าวมางดเว้นการบังคับใช้กฎหมายหมวดที่ยังไม่ถูกบังคับใช้ (จากเดิมที่เราคิดว่า กฎหมายต้องถูกใช้ก่อน แล้วการงดเว้นค่อยตามมา) การที่กฎหมายฉบับนี้ หรือฉบับใดๆ ก็ตามมีการกำหนดการเริ่มใช้บังคับเป็นหลายขยัก ทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ได้ ใช่หรือไม่? (ถ้ากฎหมายทั้งฉบับยังไม่ถูกใช้บังคับเลย โดยเฉพาะมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพระราชกฤษฎีกา สถานการณ์แบบนี้จะไม่เกิด หรือไปเกิดด้วยช่องทางอื่น?) 2) ในแง่ศักดิ์และลำดับอำนาจของกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับหนึ่ง (กรณีนี้คือส่วนที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของประชาชน) ที่รัฐสภาพิจารณาประกาศเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติแล้ว สามารถถูกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกกฎหมายระดับพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีลำดับต่ำกว่า มาเลื่อนการบังคับใช้ได้ และถ้ายอมให้มีการเขียนกฎหมายลักษณะนี้ โดนไม่มีการท้าทายทางรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า การเลื่อนหรือการงดเว้นนี้จะสามารถถูกต่ออายุออกไปได้เรื่อยๆ เท่ากับในทางปฏิบัติ จะมีสภาพเหมือนไม่เคยมีการตราพระราชบัญญัติในส่วนสาระสำคัญขึ้นมาเลย นี่เป็นโจทย์ที่น่าคิด ว่าจะทำอย่างไร ในกรณีนี้และกรณีทั่วไป ให้สามารถจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหารไม่ให้สร้างสภาวะมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติในลักษณะนี้ให้เกิดขึ้นได้ แต่การคาดหวังกับฝ่ายตุลาการให้ช่วยดุลอำนาจ…
-
แถลงการณ์ว่าด้วยการสืบย้อนผู้ใกล้ชิด (contact tracing) 19 เม.ย. 2563
ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่อง “social graph” หรือผังความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งสามารถสร้างขึ้นโดยการเชื่อมโยงข้อมูล – ผังความสัมพันธ์ของคนนี้เปลี่ยนแปลงช้ามาก ข้อมูลที่ถูกเก็บไปในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะใช้กับบุคคลนั้นไปได้ตลอดชีวิต
-
การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อส่วนบุคคล
อาจินต์และอาทิตย์ ใช้แนวคิดเรื่อง “มีม” (meme) ศึกษาการมีส่วนร่วมในขบวนการทางการเมืองในประเทศไทยช่วงปี 2556-2557 ผ่านการผลิตมีมของผู้สนับสนุนขบวนการ โดยใช้นิยามของมีมว่า “หน่วยของการส่งผ่านวัฒนธรรม”
-
การสืบย้อนคนที่เคยใกล้กัน ที่ยังรักษาความเป็นส่วนตัว ในบริบท #COVID19
เขียนไว้ในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ชวนคุยเรื่องแอปติดตามผู้เคยอยู่ใกล้ผู้เป็นโรคที่อาจติดต่อได้ (contact tracing) กับความอธิบายได้ทางนโยบาย การเลือกปฏิบัติ และผลกระทบที่อาจอยู่กับเราไปนานกว่าอายุของวิกฤต? TraceTogether ของสิงคโปร์ ทางสิงคโปร์ที่เราพอได้ยินจากข่าวมาบ้าง วันนี้มีโปรโตคอลกับตัวซอร์สโค้ดออกมาแล้ว BlueTrace เป็นโปรโตคอล ที่เขาใช้คำว่า “privacy-preserving cross-border contact tracing” OpenTrace เป็นแอปที่ใช้ BlueTrace (open source reference implementation) TraceTogether เป็น OpenTrace ที่ปรับแต่งเพื่อใช้ในสิงคโปร์ ทาง GovTech หน่วยงานด้านเทคโนโลยีรัฐบาลของสิงคโปร์ เล่าเรื่องของ OpenTrace ไว้ที่ 6 things about OpenTrace ไอเดียรวมๆ คือใช้บลูทูธเพื่อเก็บข้อมูลว่า เราเคยไปอยู่ใกล้ใครบ้าง (มือถือของเราเคยไปอยู่ใกล้ใครมือถือเครื่องไหนบ้าง) คือมองว่าต้องการติดตามการติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างคนสู่คนโดยตรง ดังนั้นสิ่งที่สนใจ คือการอยู่ใกล้ชิดของคน ไม่สนใจว่าคนนั้นจะไปอยู่ที่ไหน — คือเก็บเฉพาะ who ไม่เก็บ where เท่าที่ดูในข่าว Channel News…
-
Complain-driven development
ถ้าเลาเป็นรัฐบาล
-
Hello Dublin
Khao San road, I miss you already.