Category: Laws & Politics

  • รายงานศึกษาและบทความกฎหมายอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ จากคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ

    รายงานศึกษาและบทความกฎหมายมาจากเว็บไซต์ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครับ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสหราชอาณาจักร ผลกระทบของโครงการห้องสมุดดิจิทัล (Google Library Project) : “ละเมิดลิขสิทธิ์” หรือ “ประโยชน์สาธารณะ” การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในชื่อของงาน: ก้าวใหม่และความท้าทายในกฎหมายลิขสิทธิ์ ความเป็นกลางในการให้บริการอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) คณะกรรมการมีเฟซบุ๊กด้วย อยู่ที่ Thai Law Reform Commission (TLRC)

  • กรณีหน้าเว็บกระทรวงวัฒนธรรม “ถูกแฮ็ก” / ผู้ดูแลระบบควรรับผิดด้วยไหม?

    จากกรณีหน้าเว็บกระทรวงวัฒนธรรม “ถูกแฮ็ก” หลังช่องสามประกาศงดฉายละคร “เหนือเมฆ 2” ต่อ และล่าสุดมีคนพบว่ามีลิงก์ไปเว็บรับพนันบอลบนหน้าแรกของเว็บกระทรวงด้วย ก็คิดๆ น่ะครับ ว่าคนเจาะนั้นเก่ง หรือว่าเว็บไซต์หน่วยงานรัฐไทยน่ะ ระบบรักษาความปลอดภัยห่วย ผมพยายามตอบบางคำถามที่ถามกันบ่อย พร้อมตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • การระบาดของหวัด เป็นอาการของความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคม

    “เมื่อคราวไข้หวัด H1N1 ระบาด มีงานวิจัยพบว่าคนป่วย 5 ล้านคนเป็นผลโดยตรงจากการไม่ได้รับค่าจ้างหากลาป่วย ส่วนปีนี้ยังจะมีจำนวนเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้” — มิตรสหายท่านหนึ่ง

  • For Israel: “There is no partner for peace, there’s no one to talk to.” สันติภาพไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับอิสราเอล

    Shir Hever นักวิจัยเศรษฐศาสตร์ที่ Alternative Information Center ให้ความเห็นว่า อิสราเอลมีความต้องการที่จะคงความขัดแย้งในภูมิภาคเอาไว้ และใช้โอกาสดังกล่าวแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีการทหาร โดยระบุว่าเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของอิสราเอล และบริษัทผลิตอาวุธเหล่านี้ก็มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในการเมืองและการตัดสินใจในนโยบายระหว่างประเทศของอิสราเอล

  • ดูพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฟิลิปปินส์ แล้วคิดถึงพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไทย — ประเด็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์”

    12 ก.ย. 2555 ฟิลิปปินส์ออกกฎหมายป้องปรามอาชญากรรมไซเบอร์ ความผิดที่กำหนดตามกฎหมายนี้ แบ่งเป็น 3 หมวด ที่ผมสนใจคือหมวด (b) กับ (c) นี้ ถ้าเทียบกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทย มันจะไปรวมอยู่ในมาตรา 14 (ไม่เป๊ะซะทีเดียว บางเรื่องของเราไม่มี บางเรื่องเขาไม่มี) คือของฟิลิปปินส์นี่จะดีจะแย่ก็แล้วแต่มุมมองนะครับ แต่อย่างน้อยเราบอกได้ว่า เขาเขียนได้ละเอียดและแบ่งได้ชัดเจนว่า อันไหนเกี่ยวกะเนื้อหา อันไหนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะบอกว่าของเขาออกทีหลัง เลยรัดกุม/ละเอียดกว่าก็ได้ คือได้ตัวอย่างจากประเทศอื่นๆ — แต่เรื่องการละเมิดสิทธินี่ ยังเป็นปัญหาเหมือนกันนะครับ

  • “Unfortunately, some people died.” — Abhisit Vejjajiva

    “Unfortunately, some people died.” — Abhisit Vejjajiva

    Why very far-fetched? You were the person in power use of force in tearing down the protest camp.

  • การเมืองบนเฟซบุ๊ก / Facebook Politics

    การศึกษานี้พบว่า การเคลื่อนไหวออนไลน์ในประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยทุนเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวออฟไลน์ แต่เครือข่ายสังคมออนไลน์อนุญาตให้คนทั่วไปสะสมและแปลงทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมได้สะดวกขึ้น แม้สิ่งที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะไม่ใหม่ไปเสียทั้งหมด แต่ก็เกิดการขยายวงของการสื่อสาร อำนาจในการควบคุมพื้นที่เคลื่อนไปอยู่ในมือคนธรรมดามากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมก็ช่วยในการแสดงออกเรื่องที่โดยทั่วไปทำได้ยากในสังคม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้มีเสรีภาพมากขึ้นในการแสดงออกและรวมตัว

  • #IGF12 Floor Plan: A Good #Fail Of Top-Down Planning for Public Space

    As much we need more people who actually walk at the street level to take part in the urban planning process, we need more civil society, businesses, academics, and most important of all, the people in the network, in the policy making process for Internet.

  • [6-9 พ.ย.] ถ่ายทอดสด+เสวนา เวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลโลก #IGF12 @ ดิจิทัลเกตเวย์

    ถ่ายทอดสด+เสวนา เวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลโลก #IGF12 @ ทรูดิจิทัลพาร์ค ชั้น 4 ดิจิทัลเกตเวย์ สยามสแควร์ 6 พ.ย. 17:30-20:00 — การศึกษาและการพัฒนา 7 พ.ย. 17:30-20:00 — สิทธิมนุษยชนออนไลน์ 8 พ.ย. 12:00-15:30 — เสรีภาพและความเกลียดชัง 9 พ.ย. 12:00-15:00 — ทบทวนทิศทางการกำกับดูแลเน็ต

  • [31 ก.ค.] การประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมือง ประจำปี 2555 @ ไทยพีบีเอส

    การประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1: “อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยบายสาธารณะ” อังคาร 31 ก.ค. 2555 9:00-17:00 ณ หอประชุม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เลขที่ 145 ถนนวิภาวดี-รังสิต ดำเนินเป็นภาษาไทย และมีหูฟังแปลภาษาอังกฤษตลอดการประชุม ไม่มีค่าใช้จ่าย

Exit mobile version