-
Movement in Motion
2 มี.ค. เลือกตั้ง ส.ว. Thai Politics is So Boring…. (เบื่อการเมือง แต่…) Thai Politics is So Boring…. (เลือกเบอร์อะไรดี) www.fanrosana.com (คลิปทำมือ โดยกลุ่มแฟน ๆ รสนา) ลิงก์/embed code สำหรับเอาไปแปะต่อในบล็อก/สเปซ (ถ้าชอบ): (เบื่อการเมือง แต่…) link: http://youtube.com/watch?v=ywEjbAfDtDw embed: (เลือกเบอร์อะไรดี) link: http://youtube.com/watch?v=JzONTs7nxvI embed: technorati tags: Rosana, fanrosana, Bangkok, senator, election, video
-
TUelection.com
ศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TUelection.com ไม่รู้ใครทำ ความคิดดี update: เค้าเพิ่งเพิ่มผลการเลือกตั้งย้อนหลัง ไปถึงปี 2548 ขยันดี ทางกลุ่ม PoliticalBase.in.th ก็ขยันเช่นกัน technorati tags: university, student, election
-
Holy TPBS
หม่อม(ไม่)ปลื้ม ‘ทีวีสาธารณะ’ (ของรัฐบาลไทย โดยทีมคุณหมอและพ่อแม่ เพื่อมาตรฐานคุณธรรมแห่งชาติ): “ โดยรวมแล้ว ผมมีปัญหากับทิศทางการบริหารประเทศใน 3 ปี ที่ผ่านมา ผมคิดว่าการที่ทักษิณเข้ามาตั้งแต่แรกเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีก็คือการคอรัปชั่น ซึ่งมันเกิดขึ้นในรัฐบาลเขา แต่สิ่งที่ดีคือ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ คือเขาเป็นคนเดียวที่มีศักยภาพพอที่จะดึงอำนาจจากขั้วอำนาจเดิมในประเทศ คือทหาร, เทคโนแครต, องคมนตรี…อะไรพวกนี้ ทักษิณเป็นคนเดียวที่ ‘กล้า’ หรือ ‘บ้า’ พอที่จะดึงอำนาจมาเพื่อ balance หรือ มาถ่วงดุลกับอำนาจที่มีอยู่ ซึ่งโอเค…อำนาจนั่นมันก็ได้มาจากการที่ประชาชนลงคะแนนเสียงให้เขาเยอะ การที่เขามีเสน่ห์ การที่เขามีเงินเยอะ มันก็เป็นปัจจัยหนึ่ง แต่เมื่อเขามาอยู่ในอำนาจ แล้วไปลุแก่อำนาจนี่ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ คือที่มันมีหลาย ๆ โครงการโกงกันในช่วงรัฐบาลเขา ถ้ามันเกิดขึ้นอย่างนั้นจริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ว่าโดยรวมแล้วมันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ ‘ต้องมี’ ในเมืองไทย เพราะเมืองไทยมันล้าหลัง ดูอย่างการบริหารงานในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์สิ มันชัดเลยว่ามันหมดยุคไปแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น อย่างที่เกิดกับทีไอทีวี มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างทุนกับอำนาจเดิม ๆ ซึ่งต้องดึงอำนาจรัฐมาช่วย เพราะว่าไม่มีทุน ”…
-
การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของไทย หลังพ.ร.บ.คอมฯ
ปตท.เขาถามเราบ่อย ๆ (ในโฆษณา) ว่า ประเทศเราจะอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ? สงสัยต้องถามปตท.กลับ ว่า แผนที่โลกยุคไหนล่ะพี่ ? ด้วยกฎหมายต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และผู้จะต้องร่วมรับผิดชอบหากพบว่ามีเนื้อหาใด ๆ ผิดกฎหมาย (แม้จะไม่ใช่ของตัวก็ตาม) ผมไม่แน่ใจว่า นี่จะทำให้โอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สื่อดิจิทัล และ ดาต้าเซนเตอร์ ในระดับภูมิภาค กระทบหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ ศูนย์ข่าว (อย่างพวกรอยเตอร์ เอพี บลูมเบิร์ก) ศูนย์กระจายข้อมูล และ โครงข่ายสื่อสาร ด้วย ผมไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวบางแห่ง เลือกที่จะตั้งศูนย์ภูมิภาคที่กรุงเทพ และไม่ใช่สิงคโปร์ เพราะที่ผ่านมา ชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพสื่อของเมืองไทยดีมาก ดีกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน — แต่ปัจจุบันนี้คงไม่ใช่แล้ว คือโดยสาธารณูปโภค โครงข่ายสื่อสาร เราคงไปสู้มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ไม่ได้อยู่แล้ว แต่ในอดีตเขาก็สู้เราไม่ได้เหมือนกัน…
-
Thailand competitiveness after Computer-related Crime Act (and after 19 Sep coup)
ปตท.เขาถามเราบ่อย ๆ (ในโฆษณา) ว่า ประเทศเราจะอยู่ตรงไหนในแผนที่โลก ? สงสัยต้องถามปตท.กลับ ว่า แผนที่โลกยุคไหนล่ะพี่ ? ด้วยกฎหมายต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และผู้จะต้องร่วมรับผิดชอบ หากพบว่ามีเนื้อหาใด ๆ ผิดกฎหมาย (แม้จะไม่ใช่ของตัวก็ตาม) ผมไม่แน่ใจว่า นี่จะทำให้โอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ สื่อดิจิทัล และ ดาต้าเซนเตอร์ ในระดับภูมิภาค กระทบหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ ศูนย์ข่าว (อย่างพวกรอยเตอร์ เอพี บลูมเบิร์ก) ศูนย์กระจายข้อมูล และ โครงข่ายสื่อสาร ด้วย ผมไม่แน่ใจนัก แต่คิดว่า ที่ผ่านมา ที่สำนักข่าวบางแห่ง เลือกที่จะตั้งศูนย์ภูมิภาคที่กรุงเทพ และไม่ใช่สิงคโปร์ เพราะที่ผ่านมา ชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพสื่อของเมืองไทยดีมาก ดีกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน — แต่ปัจจุบันนี้คงไม่ใช่แล้ว คือโดยสาธารณูปโภค โครงข่ายสื่อสาร เราคงไปสู้มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ไม่ได้อยู่แล้ว…
-
decentralized/distributed Internet censorship on the work in Thailand
ประชาไท, ปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน อ้างหมิ่นฯ (อีกแล้ว), ประชาไท, 5 ม.ค. 2551 เว็บไซต์สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันถูกปิด (ลองเข้าตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 4 ม.ค. เข้าไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเข้าไม่ได้ตั้งแต่ตอนไหน) บริษัทโฮสติ้งขอยกเลิกบริการ หลังถูกบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริษัทโฮสติ้งเช่าพื้นที่อยู่ปิดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด ส่งผลให้เว็บไซต์รายอื่น ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยอ้างว่า สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่ให้บริการอยู่นั้น มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้บริษัทโฮสติ้งจำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน เข้าแก๊ป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป๊ะ เป๊ะ การที่เว็บโฮสติ้งและผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะต้องได้รับผิดไปด้วย ทำให้เกิดความกลัว ความผิดในประเด็นคลุมเครือ ตีความได้กว้างขวาง และเจ้าทุกข์ไม่จำเป็นต้องฟ้องเองก็ได้ ความกลัวที่จะต้องพลอยยุ่งยากกับข้อกล่าวหาความผิดนี้ไปด้วย (ไม่ว่าจะผิดจริงหรือไม่ก็ตาม) จึง “กันไว้ดีกว่าแก้” “ไม่อยากมีเรื่อง” “ตัดไฟแต่ต้นลม” ขอยกเลิกบริการเสียเลย ยินดีต้อนรับสู่ Thai Wide Web! เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ชั่วคราว) http://getmorestudio.com/samesky/ กานต์ ยืนยง, การปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันเป็นเรื่องควรยินดี, พลวัต, 6 ม.ค. 2551…
-
9 reasons why PPP shouldn’t be the government
อะจ๊ากกกก… กิติภูมิ จุฑาสมิต, ปีกซ้ายพฤษภาฯ : 9 เหตุผลที่ พรรคพลังประชาชน ไม่ควรเป็นรัฐบาล, ประชาไท, 2 ม.ค. 2551 เหตุผลประการที่ 9 มีข่าวว่า พปช.จะทำการเจรจาตกลงต่อรองกับ เผด็จการ ‘คมช.+ครป.’ เพื่อแลกกับการเป็นแกนนำรัฐบาล ไม่ว่าข่าวนี้จะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม ขอเรียนกับพลพรรค พปช.ทุกท่านทราบว่า สาเหตุสำคัญที่พวกเราเลือกพรรคของท่านนั้น เพราะเราต้องการประชาธิปไตย เพราะเราต้องการขับไล่เผด็จการ เพราะเราเชื่อในสันติวิธี… เราจึงเลือก พปช.! แต่ถ้าหากท่านทรยศต่อความศรัทธาเชื่อมั่นของประชาชนโดยการยอมอ่อนข้อให้กับเผด็จการ ‘คมช.+ครป.’ แล้วละก็ … เกรงว่า เส้นทางสันติวิธีในการต่อสู้ของประชาชน อาจกลายเป็นเส้นทางร้างที่จะไม่มีใครใช้อีกตลอดไป… ท้ายที่สุด เราหวังว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พรรคพลังประชาชน – รวมถึงประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน – จะยังคงยึดมั่นในจุดมุ่งหมายของประชาธิปไตย มากกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าในการเป็นรัฐบาลเท่านั้น technorati tags: People Power Party, Thailand, election
-
Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party
Bangkok Pundit ยกตัวอย่างคำสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิออกเสียงหลายคน จากหลายแหล่งข่าว โดยชี้ว่าผู้มีสิทธิจำนวนหนึ่ง ต้องการโหวตเพื่อต่อต้านรัฐประหาร และคิดว่าการเลือกพลังประชาชน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการนี้มากกว่า “no vote” อย่างไรก็ดี Bangkok Pundit ไม่คิดว่าจะมีคนคิดเช่นนี้มากนัก โดยคะเนไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ 3-4% เท่านั้น Bangkok Pundit: PPP – the Anti-military Party (ในจำนวนนั้น อาจจะมีผมด้วย) เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไท prachatai.com เข้าไม่ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4:30 น. ของวันนี้ (อาทิตย์ 23 ธ.ค. 2550 – วันเลือกตั้ง) และจนถึงขณะนี้ 8:38 น. ก็ยังไม่สามารถเข้าได้ — เข้าได้แล้วนะครับ (เว็บมาสเตอร์แจ้งว่าเข้าได้ตั้งแต่ประมาณ 9:05 น. ของวันที่ 23 ธ.ค.) — ใครเข้าได้/ไม่ได้ ช่วยแจ้งไปที่ FACT ด้วยครับ…
-
Cry with, cry for me, Thailand
อาจจะจริงที่ว่า วัฒนธรรมการเมืองไทยที่ตระหนักในสิทธิเสรีภาพได้ก้าวหน้าขึ้นบ้าง แต่แน่นอนยิ่งกว่า คือวัฒนธรรมการเมืองบ้านเรายึดติดกับตัวบุคคล และความเชื่อว่ามี ‘เผด็จการโดยธรรม’ นั้น ฝังรากลึกเกินกว่าจะถอนราก “ สำหรับผมแล้ว วันที่ 20 ธันวา ก่อนวันเลือกตั้ง 3 วัน อันเป็นวันที่ สนช. ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้การเลือกตั้งไร้ความหมายไปโดยสิ้นเชิง เพราะจะเลือกตั้งไปทำไม ในเมื่อทหารยังคงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ” — บทบรรณาธิการประชาไท, 21 ธ.ค. 2550 ถึงเวลาหรือยัง ที่เราต้องเลือกข้างให้ชัดเจน ? สนับสนุน/ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ หรือ ต่อต้าน/ไม่ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ จะเลือกอะไร เลือกด้วยวิธีไหน ก็แล้วแต่คุณ technorati tags: national security, Thailand, internal security, democracy
-
politicalbase.in.th
เปิดแล้ว: ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th “แต่การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยเพียงเฉพาะในเลือกตั้งอย่าง เดียวยังไม่เพียงพอ การตรวจสอบการทำงานของพรรคการเมืองทั้งก่อนและหลังจากช่วงการเลือกตั้งยัง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเริ่มโครงการ politicalbase.in.th ก็เกิดมาจากการตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เพื่อลดภาระและต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลของนักการเมือง และพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบนโยบายและความเชื่อมโยงทางการเมือง” ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาชนผู้มีสิทธิ์มีเสียง โดยการช่วยกันเพิ่มข้อมูล ทีละเล็กละน้อย ค่อย ๆ สะสมเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะทั้งหมด – ตัวเว็บไซต์เป็นลักษณะวิกิที่เปิดให้ทุกคนเพิ่มและแก้ไขข้อมูลได้ โดยมีกองบรรณาธิการตรวจสอบที่มาของข้อมูลในเบื้องต้น ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th – โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (เยอรมนี), สถาบันทีอาร์เอ็น (ไทย), และ สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต แนะนำมูลนิธิฟรีดิชเนามันสั้น ๆ — มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (Friedrich-Naumann-Stiftung) เป็นมูลนิธิของประเทศเยอรมนีเพื่อสนับสนุนการเมืองแบบเสรีนิยม (มีความเกี่ยวพันกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ของเยอรมนี) โดยสนับสนุนเสรีภาพของปัจเจกและแนวคิดเสรีนิยม มูลนิธิดำเนินงานตามแนวคิดอุดมคติของ ฟรีดิช เนามัน ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองมีการศึกษาและได้รับข่าวสารทางการเมืองอย่างเพียงพอ ซึ่งตามแนวคิดนี้ การศึกษาการบ้านการเมือง (civic education) เป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และสำหรับประชาธิปไตย…