-
คปส. สัมภาษณ์เรื่อง FACT อินเทอร์เน็ต และการปฏิรูปสื่อ
“ที่เอาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะไม่อยากเอาพ.ร.บ.ใหญ่กว่านี้” — พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม (DSI), 8 พ.ย. 2550 พี่ที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ส่งอีเมลมาสัมภาษณ์ตั้งแต่สองอาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งมีเวลาตอบกลับไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา วันศุกร์เขาโทรมาอีกที บอกว่าขออนุญาตรีไรท์ใหม่ เพราะจดหมายข่าวที่เขาจะเอาไปลง มันบางนิดเดียว ลงให้ได้สามหน้า แต่ที่ผมส่งไปมันเก้าหน้ากว่า ๆ ได้ 😛 เขาจะแบ่งลงเป็นสองฉบับแล้วกัน สัมภาษณ์ลงฉบับนี้ และเลือกประเด็นบางอย่างไปลงฉบับหน้า ผมบอกไปว่ารีไรท์ตามสบายเลยพี่ เพราะพี่รู้จักกลุ่มผู้อ่านดีกว่าผม จะได้เขียนให้เป็นภาษาที่กลุ่มผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยขอเอาฉบับเต็ม ๆ ที่ส่งไปให้เขาทีแรก (แก้ไขนิดหน่อย) มาลงในบล็อกนี้ (ในนี้ผมใช้ “บล็อก” สำหรับ “blog” และ “บล็อค” สำหรับ “block”) เพื่อให้รับกับงานสัมมนา “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่และการคัดค้านของโลกไซเบอร์ : จากตำราสู่การปฏิบัติจริง” เมื่อ 8 พ.ย. ที่พึ่งผ่านมา (ดูความเห็นคนอื่น ๆ: wonam, คนชายขอบ (พร้อมแผ่นนำเสนอ), วิดีโอสัมภาษณ์วิทยากร (ดาวน์โหลด [wmv]))…
-
ที่ ๆ เราอยู่ร่วมกัน
มองออกไปนอกหน้าต่างรถเมล์ หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ตอนเย็น ๆ รถติดไฟแดง รถเก๋งคันหนึ่งลักไก่วิ่งย้อนศร หวังมาแทรกเข้าข้างหน้า “โชคไม่ดี” ไฟจราจรปล่อยรถอีกด้านมาแล้ว รถกระบะคันหนึ่งวิ่งมาตามเลนของตัว และเจอกับรถเก๋งคนนั้น ไม่ใครก็ใครต้องถอย ไม่มีที่หลบ ไม่มีรถอื่นตามรถเก๋งมา เช่นเดียวกัน ไม่มีรถอื่นตามรถกระบะมา ดูตามพื้นที่แล้ว รถกระบะน่าจะถอยง่ายกว่า เพราะเพิ่งเข้ามาในเลนได้นิดเดียว ยังมีที่ให้ถอยไปได้เพื่อให้รถเก๋งเข้ามาหลบในเลนซ้ายได้ ดูเหมือน “แล้งน้ำใจ” ? รถกระบะบีบแตรทันที และขยับรถเดินหน้าเข้าใกล้รถเก๋ง ดูท่าทางเอาจริง เสียงแตรถี่ขึ้น ภาพสุดท้ายที่เห็นคือ รถเก๋งถอยยาว มีรถกระบะรุกไล่ไปตลอดจนลับตา ถ้าคุณเป็นรถกระบะ คุณจะทำเช่นนี้ไหม ? ถ้าคุณเป็นรถเก๋ง คุณจะลักไก่วิ่งย้อนศรไหม ? และถ้าทำ คุณจะทำอย่างไร เมื่อเจอรถกระบะ ? เมืองที่เราอยู่ร่วมกัน ถนนที่เราใช้ด้วยกัน ถนนที่เราเป็นเจ้าของร่วมกัน แปลว่า ในขณะที่เราเป็นเจ้าของ คนอื่น ๆ ก็เป็นเจ้าของมันด้วย สังคมที่เราอยู่ร่วมกัน กติกาบางอย่างที่เราตกลงกัน เราปฏิบัติตามนั้น ด้วยความคาดหวังว่าคนอื่นจะทำตามกติกาด้วย เพื่อเราจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสะดวก ไม่ต้องมาทำความเข้าใจตกลงอะไรกันใหม่ไปทุกเรื่องทุกครั้ง ต่างคนต่างรู้ว่าใครจะซ้ายจะขวา…
-
Sombat of NoCoup.org imprisoned
“หากพูดแบบตัดทอนเงื่อนไขความเป็นจริงออกไป ให้เหลือแค่สิ่งที่ควรจะเป็นเท่านั้นละก็ ขณะที่การปาเป้า คือการหมิ่นประมาท ไม่สุภาพ และอาจจะผิดกฎหมายได้ การเอารถถังของประชาชนออกมายึดอำนาจจากประชาชนกลับได้รับการปรบมือและถูกกฎหมาย นี่มันคือความยุติธรรมชนิดไหนกัน” — ใต้เท้าขอรับ – หัวใจนายพล 31 ส.ค. 2550 – ศาลอาญาอนุมัติฝากขัง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ (หนูหริ่ง บก.ลายจุด) แกนนำกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ 12 วัน ตามคำขอของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวนายสมบัติไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในช่วงค่ำ นายสมบัติกล่าวถึง สาเหตุที่ไม่ยอมประกันตัว เพราะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ โดยในทัศนะของคนที่ฟ้อง (พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร) เห็นว่าความผิดของเขาต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพทางกายภาพ ในขณะที่บ้านเมืองก็มีการจำกัดสิทธิทางการเมือง ดังนั้นอยู่ที่ไหนก็ไม่มีเสรีภาพ นายสมบัติกล่าวด้วยว่า การที่ผู้ฟ้องแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท ก็เพื่อเรียกร้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้แจ้งข้อกล่าวหา แต่ประชาชน 35 จังหวัดถูกปกครองด้วยกฎอัยการศึก พวกเขาก็ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน นายสมบัติกล่าวต่อไปว่า หลังจากต่อสู้มาตลอด 11 เดือน เขาได้ทำดีที่สุดแล้ว และคิดว่านี่คือวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่เหลืออยู่ นายสมบัติยังกล่าวกับประชาชนที่มาให้กำลังใจที่ศาลอาญาว่า ขอให้คนที่สนับสนุนเขาใส่เสื้อแดงในวันอาทิตย์ เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้งต่อไป ด้านล่างนี้ คือจดหมายเปิดผนึกจากนายสมบัติ…
-
Vote for the Better, Vote ‘NO’
ขออนุญาตคัดทั้งหมด มาจากประชาไท เลือกในสิ่งที่ดีกว่า คือ ‘ไม่’ 19 สิงหาคม เป็นวันที่จะกำหนดอนาคตของเรา ผมไม่แน่ใจว่า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากการยกร่างรัฐธรรมนูญและการรณรงค์ประชามติที่ผ่านมา หากไม่หลอกตัวเองมากเกินไป และซื่อตรงต่อตนเอง ไม่มากก็น้อยคงต้องยอมรับว่าการประชามติที่ผ่านมานั้นเป็นไปอย่างไม่ตรงไปตรงมา ไม่เคารพคนที่เห็นต่าง และไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน หลายกรณียังเข้าข่ายฉ้อฉล การเดินไปคูหาประชามติแล้วผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ยังเท่ากับทำให้มาตรฐานการประชามติอย่างที่เป็นอยู่ได้รับการยอมรับ และจะเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ สำหรับใช้ในครั้งต่อไป ทั้งๆ ที่ไม่มีใครในโลกเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าประชามติได้ การไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนจำนวนมากและส่วนใหญ่ ซึ่งยืนยันจากโพลล์หลายสำนัก พึงต้องด้วยรู้ว่า การทำประชามติคือการใช้สิทธิใช้เสียงของประชาชนทุกคนอย่างเจ้าของประเทศโดยทางตรง ซึ่งกำลังเป็นวิธีที่นานาอารยประเทศนิยมใช้มากขึ้นๆ การทำให้การประชามตินี้เกิดเป็นมาตรฐานอันตราย จะทำให้การเมืองไทยเสียนิสัยและมักง่าย ซึ่งที่ผ่านมาก็มากพออยู่แล้ว กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านด้วยประชามติครั้งนี้ จึงไม่เพียงแต่เท่ากับศูนย์แต่ยังทำให้สังคมไทยติดลบ ในทางกลับกัน สังคมการเมืองไทยจะได้อะไรอีกมากหากประชามติครั้งนี้มีผลในทางไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 หนึ่งคือ เท่ากับการปฏิเสธกระบวนการร่างที่ไม่เห็นหัวประชาชน สองคือปฏิเสธที่มาของการร่าง ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารซึ่งส่งผลเสียต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ มหาศาลทำได้ยากมากขึ้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยและพาการเมืองไทยก้าวสู่การเมืองแบบเป็นเหตุเป็นผล หรือมีโอกาสหลุดออกจากวงจรอำนาจนิยมมากขึ้น และสาม เราจะนำความสมานฉันท์กลับมาสู่สังคมไทยอย่างแท้จริงได้ เมื่อกระบวนการต่อจากนั้นเดินไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชนที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งเรื่องที่มาของผู้ร่าง กระบวนการ และเนื้อหา และวันนั้นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะดีกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และร่าง…
-
FIFA Fair Play Award
ฟุตบอลบ้านเรา ไม่เหมาะกับกฎฟีฟ่า ? technorati tags: football, politics, Thailand
-
Pre-Referendum Reads
Be an informed citizen, read this before referendum vote. เอกสารน่าอ่านก่อนลงประชามติ รวมรวมโดย คนชายขอบ ทุกอันมีเป็น PDF พิมพ์ไปอ่านบนรถไฟฟ้า ส่งต่อให้เพื่อน ๆ ญาติ ๆ อ่านได้ พร้อมลิงก์ไปยัง ร่างรธน. 2550 ฉบับเต็ม เพื่อประกอบการตัดสินใจ รายชื่อบทความ: ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ 2550 – ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นับถอยหลัง “รับ-ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ การเมืองไทยจะไปทางไหน? – นิตยสารสารคดี ทำไมต้องโหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ? (พร้อมแผนภูมิ) – wevoteno.net ชำแหละระบบบัญชีรายชื่อในร่าง รธน. 2550: gerrymandering แบบไทยๆ? – ม้านอก และ เด็กนอกกรอบ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับลงประชามติ –…
-
PrachataiNoi Classroom
ประชาไทน้อย ชวนฟังบรรยาย อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ เชิญชวนนักเรียนข้างถนน ผู้รักการศึกษาตลอดชีวิต และสื่อมวลชน ร่วมฟังบรรยาย ห้องเรียนประชาไทน้อย วิชาสัมมนาการเมืองไทย (สมท101) ปีการศึกษา 2550 ตอน: อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ พุธที่ 15 สิงหาคม 2550 เวลา 13:00-16:00 น. ห้อง 206.2 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมบรรยาย… คำพร ธุระเจน (นศ. นิติ มธ., ประธานวิชาการ มธ., แฟนพันธุ์แท้ 2004 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.) ตฤน ไอยะรา (นศ. เศรษฐ มธ.) ชาติชาย แสงสุข (นายกองค์การบริหารนศ. มรภ.นครสวรรค์, สมาชิกสภาร่างรธน.) ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ (นศ. รัฐศาสตร์ จุฬา, แฟนพันธุ์แท้…
-
robber’s contract
มีโจรมาปล้นบ้านคุณน่ะครับ (คุณโทรไปเรียกเขามาเองแหละ) ปล้นเสร็จ คุณก็เอาดอกไม้ไปให้โจร จับมือจับไม้ ถ่ายรูป แล้วโจรก็ร่างสัญญา ยื่นให้คุณ ในนั้นเขียนว่า “เกี่ยวก้อยกันนะ นี่ไม่ใช่การปล้นอ่ะ ช่วยเซ็นยินยอมด้วย” …จะเซ็นดีมั๊ยเนี่ย ? technorati tags: amnesty, constitution, coup
-
Red for NO
“แดงไม่รับ” รณรงค์เชิงสัญลักษณ์ ‘ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550’ นัดสวมเสื้อสีแดง เที่ยงตรง เสาร์ 4 ส.ค. 50 (พรุ่งนี้) กรุงเทพ — สยามเซ็นเตอร์ และ สยามสแควร์ เจอกัน และช่วยกันแจกเอกสาร สติ๊กเกอร์ และโปสเตอร์รณรงค์ จากสยามสแควร์ ไปตามเส้นทางสุขุมวิท เชียงใหม่ — ร้านเคเอฟซี ในห้างเซ็นทรัลแอร์พอร์ต พลาซ่า เจอกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน เชียงราย — ร้านเคเอฟซี ในห้างบิ๊กซี จ.เชียงราย เจอกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน (เชียงราย และ เชียงใหม่ ยังอยู่ในกฎอัยการศึก งดแจกเอกสาร) จังหวัดอื่น ๆ สามารถร่วมใส่ได้เช่นกัน 🙂 ทำไมไม่รับ ? … ดูเนื้อหาการดีเบตรัฐธรรมนูญ 2550 มีอะไรหมกเม็ดไว้บ้าง ? technorati tags: red,…
-
Thongchai Winichakul Reader
รวมงานเขียนของ ธงชัย วินิจจะกูล โดย BioLawCom.de technorati tags: Thai, history, Thongchai Winichakul