-
can’t be more straightforward than this
“ ผู้นำพันธมิตรฯ ควรมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายศาล เพื่อให้เผชิญกับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ส่วนการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปได้ในที่อื่นที่เหมาะสมกับการ แสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย (ที่ไม่ใช่เพื่อยึดอำนาจรัฐ) ในสังคมไทย แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังอยู่ใต้กฎหมาย ผู้นำพันธมิตรฯเป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนกันจึงวางอำนาจบาตรใหญ่เหนือกฎหมายได้ เกลียดทักษิณ ก็อย่าทำตัวอย่างเดียวกับที่ตนกล่าวหาทักษิณ ” — ธงชัย วินิจจะกูล : ทางออกธรรมดาๆ ที่ตรงไปตรงมา อ่าน อารยะขัดขืน ตามแนวทางของคานธี (แปลจากวิกิพีเดีย โดย @jittat) วันนี้จะไปงานปาร์ตี้อำลา-ปิดร้าน ‘always love & never say good-bye’ technorati tags: Thailand, civil disobedience, PAD, politics เรื่องเกี่ยวข้องจาก โรตี:
-
transboundary World Heritage sites
ในโลก trans* การจะมีอะไรที่ตั้งอยู่ข้ามพรมแดนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก มรดกโลกก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น จากรายชื่อมรดกโลกในยุโรปที่วิกิพีเดีย มีมรดกโลกที่ตั้งข้ามพรมแดนอยู่ 12 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแชร์ร่วมกันสองประเทศ ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือ Struve Geodetic Arc ซึ่งแชร์ร่วมกัน 10 ประเทศ ใช่ครับ 10 ประเทศ (ข้อมูลเพิ่มเติมโดยยูเนสโก [pdf]) ถ้ามีอะไรแบบนั้นแถวนี้ อาจจะยิงกันเละได้ แบ่งของเล่นกันไม่เป็น อีกอันหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ Waterton-Glacier International Peace Park ที่เป็นมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา บริเวณอุทยานนานาชาตินี้ เป็นเขตที่พรมแดนระหว่างประเทศถูกยกเลิก ซึ่งรวมถึงการนำเอาสิ่งกีดขวาง กำแพง รั้วต่าง ๆ ทางกายภาพออกไปหมด เพื่อให้สัตว์ป่าและผู้คนสามารถเดินทางไปมาได้อย่างอิสระ A Transboundary Protected Area is a protected area that spans across boundaries of multiple countries,…
-
hauntedness management
ว่าจะไปอยู่ ท่าจะเจ๋ง เชิญร่วม เสวนา “ศิลปะร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์” (กรณี 6 ตุลา 19) อาทิตย์ 6 ก.ค. 2551 9:30-17:00 น. @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ และ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “อดีตหลอน” (’76 Flash Back) 2-23 ส.ค. 2551 @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ งานนี้ริเริ่มโดยศิลปินภาพถ่าย มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย/การแสดงชุด “Pink Man” (ตัวอย่าง) รายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่บล็อกคนป่วย technorati tags: contemporary arts, October 6, history
-
ทฤษฎีเก่า "Old Theory" – Thailand Bill of Rights
(น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง) “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” — หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5 หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น…
-
21 should-says about the thing that should be able to say but it is now the shouldn’t
ประวิตร โรจนพฤกษ์: 21 ข้อสังเกตเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ที่ถูกหยิบใช้กันอย่างสะดวกมือ เหมือนวางอยู่ในเซเว่น อย่างกรณี เทพไท เสนพงศ์ ประชาธิปัตย์ เหมา 29 เว็บไซต์ ว่าหมิ่นฯ) technorati tags: lese majeste, Thailand, politics
-
Protect Our Internet — online petition
จาก http://gopetition.com/online/19589 (ดูต้นฉบับ และร่วมลงชื่อได้ที่ลิงก์ดังกล่าว) แถลงการณ์จาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 29 พฤษภาคม 2551 เรื่อง ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ และขอเชิญชวนพลเมืองทุกคนร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามที่นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์อันตรายที่ส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ ตามข่าวทางสื่อมวลชนทั่วไป ความแจ้งแล้วนั้น พวกเราดังมีรายนามข้างท้ายมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. เราเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ต้องได้รับการเคารพและปกป้อง สังคมประชาธิปไตยทุกสังคม ที่ปรารถนาความสงบสุข สันติภาพ และความสมานฉันท์ จำเป็นต้อง ส่งเสริม และ ปกป้อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเต็มที่ เหตุเพราะความเคารพและความเข้าใจอันดีต่อกัน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่ผู้คนมีความแตกต่างหลากหลาย และหนทางเดียวที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเคารพกันได้ คือสภาพสังคมที่เอื้อให้ทุก ๆ คน มีสิทธิเสรีภาพในแสดงออกด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ประตูที่จะนำไปสู่ความยอมรับเคารพซึ่งกันและกัน จะถูกปิดตาย เมื่อปากและใจของเราถูกบังคับให้ปิดลง 2. เราไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง รายชื่อเว็บไซต์และเว็บล็อกส่วนใหญ่ที่ถูกระบุชื่อ มิได้นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่หมิ่นพระมหากษัตริย์…
-
Blackhat Democrats (again)
เทพไท เสนพงศ์ (ประชาธิปัตย์) อย่ามั่ว technorati tags: blackhat, SEO, Democrats
-
May Oh May
เวียนวน เวียนวน เวียนวน… เจตนารมณ์ “พฤษภาฯ 2535” (ยังเหลืออยู่?) ฉายซ้ำ ฉายซ้ำ ฉายซ้ำ… คานนส์กับ “Mai 68” technorati tags: change, resist
-
open letter to media
5 พฤษภาคม 2551 เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนที่เคารพ ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ สื่อมวลชน ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อและเวทีวิชาการ หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านั้นไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง คนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อและสื่อที่ไม่รับผิดชอบกำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทางดังนี้ 1. สร้างความโกรธแค้นเกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง 2. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด 3. ทั้งหมดนี้ดำเนินไปขณะที่ ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณสองประการข้างต้น หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่าง ๆ เมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือสื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ สื่อมวลชนเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้ว ยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิด ๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง…