Category: Media

  • discourse/information/communication people

    จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis

  • Sunday 25 Nov – YouFest – Citizen Journalism

    ฝากประชาสัมพันธ์ครับ วันอาทิตย์นี้แล้ว เสวนา YouFest ครั้งที่ 5 การสื่อข่าวพลเมือง อาทิตย์ 25 พ.ย. 2550 13:00-จนกว่าจะพอใจ @ INET ชั้น 13 ตึกไทยซัมมิท ถนนเพชรบุรี (MRT เพชรบุรี) แผนที่ พื้นที่ของสื่อพลเมือง / gotoknow.org โอกาสและข้อจำกัดของสื่อพลเมือง / ประชาไท สิทธิของสื่อพลเมือง / คนชายขอบ กฎหมายหมิ่นประมาทในฐานะเครื่องมือจำกัดเสรีภาพสื่อ / อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ความอยู่รอดของสื่อพลเมืองในทางการเงิน / TRN Institute และ Friedrich-Naumann-Stiftung* การต่อสู้ทางการเมืองในไซเบอร์สเปซ: สิงคโปร์ / James Gomez นักรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อ ศิลปะแห่งการสื่อสารประเด็นอ่อนไหว และนักเคลื่อนไหวด้านสื่อ / Keiko Sei นักวิชาการด้านสื่อและศิลปะ เวทีอภิปราย อนาคตของสื่อพลเมือง เทคโนโลยีเพื่อสื่อพลเมือง…

  • Thai Free News — Thai citizen media front

    Thai Free News. This group of people are members of Pantip.com, Thailand’s most popular discussion forum, who have concerns about the neutrality of media in the current situation. So they start their own. กลุ่มสื่อประชาชน — วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เนื่องจากในสภาพเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ได้ทำให้เกิดช่วงวิกฤตของสื่อในการนำเสนอข่าวสารที่เป็นจริง ไม่บิดเบือน และเชื่อถือได้ ทำให้ประชาชนทั่วไปขาดโอกาสที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อมาประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจ สมาชิกบางท่านในห้องราชดำเนินของเว็บไซด์พันทิบจึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อ จัดตั้ง “กลุ่มสื่อประชาชน” โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังต่อไปนี้ เพื่อนำเสนอข่าวสารที่เป็นจริงเป็นกลาง และเชื่อถือได้แก่สังคม เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยกลับคืนมาแก่ประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อทวงถามความยุติธรรมของบ้านเมืองภายหลังการก่อรัฐประหารจากทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพื่อช่วยให้คนไทยอ่านข่าวเป็น และมีจิตวิเคราะห์ในการบริโภคสื่อต่าง…

  • Bloggers’ Code of Conduct (3)

    CyberJournalist.net นำ จรรยาบรรณของสมาคมผู้สื่อข่าวสหรัฐ มาปรับ เป็น จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ ซึ่งอันนี้จะเน้นที่ตัวเนื้อหามากกว่าที่ทิมเสนอ (อันนั้นจะเน้นที่ความเห็น) เน้น 3 หลัก Be Honest and Fair – ซื่อตรง เท่าเทียม ซื่อตรง จริงใจ ยุติธรรมและเท่าเทียม ในการเสาะหา รายงาน และตีความข้อมูล Minimize Harm – ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ปฏิบัติตัวต่อแหล่งข่าว และบุคคลในข่าว ในฐานะมนุษย์ ซึ่งสมควรได้รับความเคารพ Be Accountable – อธิบายได้ โปร่งใส รับผิดได้ ไม่ลำเอียง เปิดเผยอย่างชัดเจนเกี่ยวกับ จุดประสงค์และนโยบายของเว็บ ผลประโยชน์ทับซ้อน วาระส่วนตัว ความชื่นชอบส่วนตัว ผมว่าก็ชัดดี ดูรายละเอียดที่ A Bloggers’ Code of Ethics เรื่องในชุดนี้: Bloggers’ Code of…

  • Bloggers’ Code of Conduct (2)

    จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้ iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”) รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป (* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้ ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์ อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์ (ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”) ตรงนี้ดู ๆ…

  • Bloggers’ Code of Conduct

    ในอีเมลกลุ่มพลวัต กำลังถกกันเรื่อง “สื่อพลเมือง” และคิด ๆ กันว่า น่าจะมีเรื่องจรรยาบรรณสื่อพลเมืองด้วย ตอนนี้ก็ดู จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ เทียบเคียงไปก่อน จดกันลืม (แต่เดี๋ยวก็จะลืมว่าเคยจดอยู่ดี) คนชายขอบ, จรรยาบรรณของสื่อพลเมือง (vdo) iTeau, จรรยาบรรณและมารยาทของการเขียนบล๊อก CyberJournalist.net, A Bloggers’ Code of Ethics (บนพื้นฐานจาก Society of Professional Journalists Code of Ethics) Blogger’s Code of Conduct (เสนอโดย Tim O’Reilly) — Cory Doctorow โต้ไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ” Blogging Wikia, Blogger’s Code of Conduct (มีเสนอ ‘โมดูล’) หลายอันให้เลือกประกอบใช้) คิดว่าเรื่องไหนสำคัญบ้าง ที่จะทำให้สิ่งที่เขียนบนบล็อก…

  • Freedom to Watch, the Right to Make

    คือจริง ๆ เค้าควรจะบอกมาเลยนะ ว่าประเทศนี้มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วมันจะง่ายขึ้น ประเทศนี้เป็นเผด็จการ คือมึงบอกกูมาเลยดีกว่า แล้วกูจะได้ใช้ชีวิต ไปกับพวกมึงได้ — เป็นเอก รัตนเรือง (ผู้กำกับภาพยนตร์) วิดีโอรณรงค์เครือข่ายเพื่อเสรีภาพภาพยนตร์ไทย Free Thai Cinema Movement (ได้ดูครั้งแรกในงาน Thai Short Film and Video Festival ที่แกรนด์อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี งานมีถึง 26 นี้ — โปรแกรมวันศุกร์ 19:00 น่าดูมาก ๆ เป็นหนังสั้นต้านรัฐประหาร 😛 หลายเรื่อง) ด้านล่างนี้ จดมาจากวิดีโอ ใครพูดอันไหน ลองดู (ผมรู้จักไม่กี่คน :P) มาใหม่ 2007.08.27: ความเห็นของ สุนิตย์, mk, girl friday, และคนอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ พ.ร.บ.ชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์…

  • “We Media” สื่อเรา เราสื่อเองได้

    ถ้าคุณไม่ชอบข่าวพวกนั้น … ออกไปข้างนอกและเขียนมันขึ้นเองสิ เราได้ยินคำว่า ผู้สื่อข่าวพลเมือง มากขึ้นทุกวัน (ตัวอย่างในเมืองไทย ก็เห็นจะเป็น “นักข่าวพเนจร” ในนสพ.ออนไลน์ประชาไท) ปรากฎการณ์นี้สำคัญอย่างไร มีพลังจะทำให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ? บางส่วนจากบทนำของหนังสือ We the Media : Grassroots Journalism by the People, for the People (โดย Dan Gillmor อดีตนักข่าวนสพ., บล็อกเกอร์, และผู้ก่อตั้ง Center for Citizen Media) นี้ น่าจะช่วยให้เราพอเห็นภาพ และจินตนาการถึง โลกที่ผู้สื่อข่าวกับพลเมืองกลายมาเป็นคน ๆ เดียวกัน ได้ง่ายขึ้น ทิศทาง แนวโน้ม กระแสของ We Media (สื่อเรา) วันที่ 28 ก.ย. 2547 Doc Searls…

  • Thai Wikipedia survey

    ผลการศึกษาจากแบบสอบถามการใช้งานเว็บไซต์วิกิพีเดียไทย การสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ “สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยกับการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ” โดยนิสิตปริญญาโท ภาควารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์) ดูได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/User:Tummy/finding technorati tags: Thai Wikipedia, survey

  • Video Editing in Linux with Cinelerra CV

    ถ่ายวิดีโอมาจากสยามเมื่อวันเสาร์ อยากลองเล่นอะไรนิดหน่อย เลยมองหาโปรแกรมตัดต่อภาพเคลื่อนไหวในลีนุกซ์ หาใน package manager ของ Ubuntu เค้ามี Kino แต่พยายามจะเอาไฟล์เพลง MP3 มาใช้ประกอบภาพ มันไม่ยอม เลยไปค้นเว็บดู ว่าเค้าทำกันยังไง ค้นไปค้นมา เจอเว็บนึง เค้าว่า Kino มันก็โอเค แต่เค้าใช้ Cinelerra ความสามารถมันเยอะกว่า ก็เลยลองดู ติตตั้ง Cinelerra CV ใน Ubuntu (และดิสโทรอื่น ๆ) Cinelerra ปัจจุบันมีสอง “flavours”, คือตัว รุ่นอย่างเป็นทางการ ที่ดูแลโดยบริษัท Heroine Virtual Ltd. กับอีกตัว ที่ดูแลโดยชุมชน (เรียกว่า Cinelerra CV) – เค้าพยายามจะไม่เรียก/ทำให้มันเป็น “fork” Ubuntu Studio อาจพิจารณารวม Cinelerra CV เข้าชุด…