Category: Internet

  • ensogo peel-off-the-day

    ว่าด้วยร้านค้ากับธุรกิจ “ดีลประจำวัน” และความสัมพันธ์อันยุ่งยากระหว่างเจ้าของกิจการกับลูกค้า … นั่งเขียนระหว่างได้ยินเจ้าของร้านนั่งปรับทุกข์กันเอง ในร้านกาแฟเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง แถวสยาม

  • Google เปิดเผยข้อมูลการเซ็นเซอร์ละเอียดขึ้น

    Google เปิดเผยข้อมูลการเซ็นเซอร์ละเอียดขึ้น

    กูเกิลเปิดให้ใช้บริการ “รายงานความโปร่งใส” (Transparency Report) มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และเมื่อวาน (27 มิ.ย. 2554) ก็ได้ประกาศปรับปรุงหน้าตาใหม่ พร้อมกับข้อมูลที่ละเอียดขึ้น Transparency Report ดังกล่าวประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1) การจราจร (Traffic) และ 2) คำร้องจากรัฐบาล (Government Requests) โดย Traffic จะแสดงปริมาณการจราจรที่เข้ามายังบริการต่าง ๆ ของกูเกิล ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเมื่อดูในภาพรวมแล้ว จะทำให้เห็นได้ว่า เกิดเหตุผิดปกติอะไรกับการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศหนึ่ง ๆ หรือเปล่า เช่น ถ้าอยู่ดี ๆ ปริมาณการจราจรจากประเทศหนึ่งแทบจะหายไปเลย ก็พอจะบอกได้ว่า ไม่ 1) บริการของกูเกิลถูกแบนในประเทศดังกล่าว ก็ 2) อินเทอร์เน็ตของประเทศนั้นมีปัญหาอะไรสักอย่าง เช่น ช่องสัญญานออกนอกประเทศอาจจะขาด หรือบางทีอาจจะถูกตัดอย่างตั้งใจ (เช่นกรณีซีเรียหรือพม่า) ส่วน Government Requests จะบอกจำนวนคำร้องและเหตุผลที่ส่งมาจากรัฐบาลประเทศต่าง…

  • Z to A: The Future of the Net (and how to stop it)

    (a draft from 2008) Tony Curzon Price blogs about Jonathan Zittrain‘s LSE lecture on “The Future of the Net (and how to stop it)” From Zittrain to Aristotle in 600 words technorati tags: Internet, governance

  • นิยามปลอมของ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ?

    นิยามปลอมของ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ?

    จากกรณี ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา นักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ตามมาตรา 14 (1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อมูลสถิติคนไข้ที่เสียชีวิตเและภาพความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งใช้ในการรณรงค์ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวดังนี้ [English Brief] May 22, 2011. Thai patient rights activist Preeyanan Lorsermvattana of Thai Medical Error Network (TMEN) was accused of “forging computer data”. The data in question is from the Network’s campaign to support Medical Malpractice Victims Protection Bill. — My take:…

  • [29 พ.ค., 5 มิ.ย.] ซีรี่ส์เสวนา: ชีวิต / ศิลปะ / ออนไลน์

    ริเริ่มโดย @warong อาทิตย์ 29 พ.ค. 2554 15:00 น. @ The Reading Room สีลม 19 “คนยุค’เน็ตกับเพลงและหนัง: ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากโลกออนไลน์” คุยกับ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (filmsick), ไกรวุฒิ จุลพงศธร, อธิป จิตตฤกษ์ อาทิตย์ 5 มิ.ย. 2554 15:00 น. @ ร้านหนังสือก็องดิด แยกคอกวัว “มุขปาฐะ คัดลอก การพิมพ์ การโหลด: เหลียวมองการเดินทางอันยาวนานของกิจกรรมการอ่าน” คุยกับ ภาณุ ตรัยเวช, วันรัก สุวรรณวัฒนา, กิตติพล สรัคคานนท์ ข้อมูลเพิ่มเติม: http://thainetizen.org/node/2634

  • เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย ?

    เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย ?

    Anthropology News Volume 51, Issue 4, April 2010 ปีที่แล้วนี่เอง เป็นฉบับว่าด้วย “มานุษยวิทยาและวารสารศาสตร์” วันจันทร์ที่ผ่านมา [16 พ.ค.] ไปงาน Public forum: Reflection for the Thai Media in the post-2010 political violence เป็นเวทีสาธารณะจัดโดย สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกับสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันข่าวอิศรา มีหลายคนพูดถึงจริยธรรมสื่อ ถึงเรื่อง objectivity ที่ “เป็นมาตรฐาน” ของสื่อมวลชน บางคนก็ว่าจริยธรรมมันต้องมีจริยธรรมเดียว จะสื่อเก่าสื่อใหม่ก็ตาม ไม่งั้นก็ไม่ใช่สื่อมวลชน เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม เป็น “สื่อเทียม” บางคน (รวมถึงผมเอง) ก็ว่า อย่าเอาคุณค่าที่สื่อเก่าเห็นว่าดีว่าชอบ มาครอบงำกดทับสื่อใหม่ สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการนโยบาย ThaiPBS ที่เพิ่งเขียนบทความเรื่อง “สื่อชนเผ่า”…

  • “ลายเซ็น” ทวิตเตอร์คนดัง

    “ลายเซ็น” ทวิตเตอร์คนดัง

    ถ้าเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ @PM_Abhisit* มักลงท้ายด้วย (ทีมงาน) ถ้าเป็น กรณ์ จาติกวณิช @KornDemocrat จะลงท้ายเป็นระยะ ๆ ด้วย (กรุณา RT) หรือ (pls RT) ส่วน ทักษิณ ชินวัตร @ThaksinLive ไม่ได้มีอะไรเป็นแพตเทิร์นขนาดนั้น มักพิมพ์อะไรยาว ๆ ต่อเนื่อง 3-4 ทวีตติด ๆ ต้องดูแล้วไปต่อเอาเอง ไม่ได้บอกว่าจะต่อจะจบตอนไหน เทียบกับ (ทีมงาน) @PM_Abhisit จะมีบอกว่า (ต่อ) นะ ทาง หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ @nuling นี่ก็ไปเรื่อย ส่วนใหญ่แซวสถานการณ์บ้านเมือง คุยกับคนนั้นคนนี้ อัปเดตกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง มีปล่อยมุขเป็นระยะ ๆ * ทวิตเตอร์ของอภิสิทธิ์ เพิ่งเปลี่ยนเป็น @Abhisit_DP จากของเดิม @PM_Abhisit หลังยุบสภา…

  • แอนิเมชัน – ประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต

    แอนิเมชันเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต มันไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นโดยนักประดิษฐ์คนเดียวหรือกลุ่มเดียว แต่เกิดจากความพยายามในการสร้างเครือข่ายเพื่องานวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง และเชิงพาณิชย์ ในศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างคนต่างทำ ด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละคนก็เรียนรู้แนวคิดของกันและกัน สร้างมาตรฐานที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เชื่อมต่อกัน และกลายเป็นอินเทอร์เน็ต แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการ ARPANET (สหรัฐอเมริกา) แนวคิด packet-switching ถูกสร้างขึ้นที่ National Physical Laboratory (สหราชอาณาจักร) (พร้อม ๆ กับที่ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ) เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งของเครือข่าย แนวคิด distributed computer network ถูกสร้างขึ้นศูนย์วิจัย RAND เพื่อให้มันใจว่าระบบจะยังทำงานแม้โหนดจำนวนหนึ่งในเครือข่ายจะทำงานไม่ได้ แนวคิด inter-networking (การเชื่อมต่อของเครือข่ายกับเครือข่าย) และแนวคิดการส่งผ่านข้อมูลโดย physical layer ถูกสร้างขึ้นในโครงการ CYCLADES (ฝรั่งเศส) ที่ Institut de Recherche d’lnformatique…

  • “ชิงสุกก่อนห่าม” กับธงชัย ณ @thaireform

    วันนี้ [7 พ.ค. 2554] ไปฟัง “ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” ที่หอประชุมศรีบูรพา ท่าพระจันทร์ มีนักวิชาการที่ข้องเกี่ยวกับชาญวิทย์ในช่วงชีวิตต่าง ๆ มาพูด 5 คน รายละเอียดไปติดตามเอาได้ตามเว็บข่าวต่าง ๆ (เห็นนักข่าวคับคั่ง) และทวีตจาก @iPattt @phichai @siu_thailand @iLawClub @thaireform และ @bact (ผมเอง – เกือบทั้งหมดติดแฮชแท็ก #ck70) ฮ่ะ ฮ่ะ ประเด็นไฮไลต์ของวันนี้ (สำหรับผม) ไม่ได้อยู่บนเวทีปาฐกถา แต่อยู่ในทวิตเตอร์ :p ประมาณเกือบ ๆ ห้าโมงเย็น ระหว่างที่องค์ปาฐกคนสุดท้าย คือ ธงชัย วินิจจะกูล กำลังพูด @thaireform (เป็นบัญชีทวิตเตอร์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย โดยสำนักข่าวสถาบันอิศรา) ก็ทวีตว่า จบปาฐกถา อ.ธงชัย วินิจจะกูล “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน”…