Category: Rights & Freedom

  • TorPark : A quick Firefox jumps over a lazy watch dog

    Browse anonymously with TorPark. Tor (anonymous Internet connection) + Portable Firefox (Firefox on USB drive) = TorPark .. “Turn any internet terminal into a secure connection.” TorPark เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขนาดเล็ก (6 MB) สำหรับ Windows ที่ใช้ได้จากยูเอสบีไดร์ฟทันที จุดเด่นของโปรแกรม นอกจากจะไม่ต้องติดตั้ง (ทำให้ไม่ทิ้งร่องรอยการใช้งานไว้บนเครื่อง) แล้ว ยังทำการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรม Tor ซึ่งทำให้การติดตามร่องรอยการใช้อินเทอร์เน็ตทำได้ยาก เราสามารถพก TorPark ใส่ยูเอสบีไดร์ฟไปใช้งานที่อื่นได้ เช่น ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ (ยกเว้นร้านพี่หน่อย ที่ใช้ลีนุกซ์ทั้งร้าน :P) หรือคอมพิวเตอร์สาธารณะตามโรงเรียนและห้องสมุด ขอขอบคุณคุณ (นิรนาม..ละกัน) ที่แนะนำเข้ามาทางอีเมล p.s. It seems…

  • Civil Disobedience 2549

    อารยะแข็งขืน = อารยะขัดขืน = การดื้อแพ่งแข็งขืนแบบอารยะ = การแข็งขืนแบบอารยะ = civil disobedience อารยะแข็งขืน 10 ประการ บทวิเคราะห์: เปิดองค์กรรากหญ้า เปิดแนวรบใหม่รุกไล่ทักษิณ | กรุงเทพธุรกิจ 12 มีนาคม 2549 โฆษกพันธมิตรฯ ชี้ พร้อมดื้อแพ่ง ถ้าใช้ พรก.ฉุกเฉิน | กรุงเทพธุรกิจ 14 มีนาคม 2549 related: การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก

  • The Zeroth Right

    I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it. — Evelyn Beatrice Hall ฉันไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ฉันจะปกป้องจนสุดชีวิต เพื่อรักษาสิทธิ์ของคุณเพื่อพูดสิ่งนั้น — Evelyn Beatrice Hall

  • Sun to open sources UltraSPARC

    ซันประกาศจะเปิดสเปคของซีพียู UltraSPARC รวมถึงรหัส ตัวตรวจสอบ โมเดล และเครื่องมือพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะใช้สัญญาอนุญาตที่ Open Source Initiative รับรอง.. อ่านต่อที่ OSNews สำหรับซีพียูตระกูล SPARC ที่เป็นโอเพนซอร์ส เท่าที่รู้ มี LEON-1 (GPL), LEON-2 (LGPL) ดูเพิ่มได้ที่ dmoz.org OpenCores.org รวบรวมผังโพรเซสเซอร์แบบโอเพนซอร์สไว้เยอะแยะ ทั้ง VHDL และ Verilog มีทั้งสำหรับงานทั่วไป และงานเฉพาะทาง Microprocessor, Crypto core, DSP core, System controller

  • How to keeps your blog under the radar

    CNN — Guide aims to help bloggers beat censors PARIS, France (AP) — A Paris-based media watchdog has released an ABC guide of tips for bloggers and dissidents to sneak past Internet censors in countries from China to Iran. เขียนบล็อกยังไงไม่ให้โดนเซ็นเซอร์ และไม่มีใครรู้ว่าเราเขียน update 2007.05.26: Thai version available – มีฉบับภาษาไทยแล้ว

  • แล้วใครจะกล้า

    เมื่อก่อนสามีเคยเป็นตัวแทนเก็บค่าไฟฟ้าให้การไฟฟ้าแก่งคอย จ.สระบุรี ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 โดยเอาโฉนดที่ดินไปวางค้ำประกันไว้ ทำมาได้เกือบ 2 ปี ต่อมาทางการไฟฟ้าแก่งคอยแจ้งว่าส่งค่าไฟให้ไม่ครบ ขาดไปประมาณ 3 แสนบาท จึงตัดสิทธิ์ไม่ให้เก็บค่าไฟต่อและยังยึดที่ดินซึ่งค้ำประกันไว้ สามีจึงตรวจสอบหาข้อเท็จจริงปรากฏว่าคนใกล้ชิดที่ร่วมทำงานด้วยกัน และเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าบางคน สมรู้ร่วมคิดกันยักยอกเงินค่าไฟที่เก็บได้เอาไปใช้เอง นายปรีชาจึงแจ้งให้การไฟฟ้าแก่งคอยทราบ ทำให้เจ้าหน้าที่บางคนถูกย้ายและถูกตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จนถึงขณะนี้เรื่องยังไม่เสร็จสิ้น ในช่วงนี้สามีจึงหลบมาเก็บตัวที่กรุงเทพฯมาได้ 6 เดือนแล้ว เพราะเกรงจะได้รับอันตราย มายึดอาชีพเป็นคนขับรถตู้วิ่งระหว่าง อนุสาวรีย์ชัยฯ-ลาดกระบัง ส่วนตนขายผลไม้อยู่ที่ตลาดลาดกระบัง ที่ผ่านมาเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์มือถือ และไม่ยอมติดต่อใครเลย แต่สามียังถูกตามฆ่าจนได้ คิดว่าเป็นเรื่องนี้แน่นอน เพราะตั้งแต่มาอยู่กรุงเทพฯไม่เคยมีเรื่องกับใคร แก๊งงาบค่าไฟโหด ฆ่าปิดปาก 11 มม. ยิงกะโหลก

  • อาลัย..พระนักต่อสู้

    กรุงเทพธุรกิจ 5 กรกฎาคม 2548 “ คดีการปองร้าย พระสุพจน์ สุวโจ พระนักปฏิบัติ กลุ่มเสขิยธรรม แห่ง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีแนวโน้มว่า จะถูกสรุป ด้วยสำนวนแบบง่าย ๆ ว่าเป็นคดีวิวาทเล็กน้อย ทั้งที่ความจริงแล้ว คดีนี้มีส่วนเชื่อมโยง กับการแย่งชิงทรัพยากร ในเขตลุ่มน้ำฝาง อย่างลึกซึ้ง เพียงแต่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง จะกล้าและเอาจริงแค่ไหน พิษณุรักษ์ ปิตาทะสังข์ เปิดปมปัญหา จากมุมมองของหลายฝ่าย ”

  • แถลงการณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

    ปรับปรุง 2008.05.27: แก้ไขปี พ.ศ. ที่ผิดของรัฐธรรมนูญ เดิมคือ “พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๓๙” แก้เป็น “พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๓๙” แถลงการณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เรื่อง การสั่งปิดเว็บไซต์การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตามที่มีผู้อ้างตัวว่าเป็นสารวัตรอินเทอร์เน็ต สังกัดคณะกรรมการสืบสวนป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ ๒ แห่งได้แก่ เว็บไซต์ www.fm9225.com และเว็บไซต์ www.thai-insider.com โดยอ้างว่าเว็บไซต์ดังกล่าว มีเนื้อหาเข้าข่ายการยุยงให้เกิดความแยกแยกภายในชาติ อันจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นต้องสั่งปิด เพื่อดำเนินการตรวจสอบการจดทะเบียนเว็บไซต์ ว่าดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่นั้น สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ในฐานะสมาคมของผู้ประกอบวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไซต์ในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมวิชาชีพผู้แลเว็บไซต์ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้กรอบแห่งจริยธรรมวิชาชีพ ได้ประชุมหารือคณะกรรมการบริหารสมาคมแล้ว มีความเห็นต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ ๑) สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ยึดมั่นในหลักการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามบทบัญญัติมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ดังนั้น การสั่งปิดเว็บไซต์ที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ย่อมเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ๒) การกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่า จำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว เพราะมีเนื้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาตินั้น…

  • จริยธรรมในการรับทุนวิจัย

    เนื่องจากไม่เคยทำงานอยู่ในแวดวงวิจัย (ในระดับบริหาร) ผมเลยไม่ทราบว่า สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาที่ทำงานวิจัย โดยเฉพาะในบ้านเรานั้น มีนโนบายเรื่องการรับทุนวิจัยยังไงบ้าง เช่น ถ้าเกิดว่าโครงการวิจัยนั้นจะนำไปสู่การสร้างอาวุธสงคราม หรือวัตถุอันตรายที่พิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีประโยชน์ในทางอื่นเลย นอกจากการทำลายล้้าง หรือผู้ให้ทุนเกี่ยวข้องกับกิจการเหล่านั้น หรือมีประวัติไม่ดีด้านจริยธรรม สิทธิมนุษยชน ไม่รับผิดชอบต่อสังคม มีสถาบันไหนปฏิเสธที่จะรับทุนวิจัยจากผู้ให้ทุนเหล่านั้นรึเปล่า ? หรือมีนโยบายหรือไม่ว่า การให้ทุนนั้นเป็นไปในลักษณะไหน มีผลกระทบต่อแนวทางการทำวิจัยของสถาบันหรือไม่ ? อย่างถ้าสมมติกรณีสอบสอนเรื่องกล้ายาง เรื่องปุ๋ยปลอม อะไรพวกนี้ ผลออกมาว่า ผิดจริง มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย จะพิจารณาไม่รับโครงการ/ทุนจากบริษัทเหล่านั้นมั๊ย ? หน้าที่หนึ่งของสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากการถ่ายทอดแนะแนวความรู้สู่สังคมแล้ว ก็คือการสร้างความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสังคม การสร้างความรู้เพื่อสังคมนั้น สมควรที่จะรับทุนจากผู้ที่ทำผิดต่อสังคมหรือไม่ ? ถ้าเห็นสมควรว่าทำได้ มีนโยบายอย่างไร ที่จะรับประกันว่า ผู้ให้ทุนจะไม่สามารถมามีอิทธิพลเหนือแนวทางการสร้างความรู้นั้นได้ ? (ซึ่งอันตรายต่อการที่ความรู้นั้นจะไม่ได้มีเพื่อสังคม) พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าอยากจะรับเงินจากคนไม่ดี จะระวังตนยังไง ให้เราเอาเงินนั้นไปใช้ในทางที่ดีได้ เช่น ถ้ารู้แน่ชัดว่าสุดท้ายแล้วผลวิจัยจะถูกเอาไปใช้ในเรื่องไม่ดี (หรือคิดแล้วว่า ไม่ว่ายังไงก็ใช้ให้ดีไม่ได้)…

  • Open Access News

    news from the open access movement “Putting peer-reviewed scientific and scholarly literature on the internet. Making it available free of charge and free of most copyright and licensing restrictions. Removing the barriers to serious research.”