ออกแบบ User Interface และ User Experience กรณีศึกษาฉลากโภชนาการแบบใหม่ของสหรัฐ

ฉลากโภชนาการใหม่ของสหรัฐ

องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (USFDA) ปรับปรุงการออกแบบของฉลากโภชนาการใหม่ ให้ชัดเจนขึ้น บอกข้อมูลที่จำเป็น ปรับปรุงข้อมูลร้อยละที่ต้องการต่อวันให้ทันสมัยมากขึ้น และปรับปรุงการระบุหน่วยบริโภคให้เป็นไปตามพฤติกรรมจริงของผู้บริโภค

จะเห็นว่ามีการปรับ interface การแสดงผล ทำให้ข้อมูลสำคัญอย่างปริมาณแคลอรีปรากฏเด่นขึ้น ดูได้ง่ายขึ้น มองแว๊บเดียวก็เจอเลยฉลากโภชนาการใหม่ของสหรัฐ

นอกจากนี้ในส่วนของ experience คนทำตัวมาตรฐาน ก็เข้าใจว่า สุดท้ายคนกินก็ไม่ได้กินอาหารกันตามน้ำหนักหรือปริมาตรอาหาร แต่กินตามขนาดของบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นการระบุหน่วยบริโภค จึงคำนึงถึงขนาดบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่นน้ำอัดลมขวด 330 มล. กับขวดครึ่งลิตร ปกติคนก็กินหมดขวดเหมือนกัน ดังนั้นจึงนับเป็น 1 หน่วยบริโภคเหมือนกัน

ตรงนี้คนทำงานต้องไม่ทำงานแค่ส่วนกราฟิกหรือการออกแบบ interface แต่ต้องไปทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคจริงๆ ด้วยหน่วยบริโภคใหม่ตามอย.สหรัฐ

ลองเปรียบเทียบกับของประเทศไทยในปัจจุบัน
ฉลากโภชนาการของไทย

ข้อมูลและภาพจาก Banana Post – อย.สหรัฐดีไซน์ป้ายข้อมูลสารอาหารใหม่ ปรับสูตรโภชนาการ แจ้งน้ำตาลที่ใส่เพิ่ม (ภาพ 2 ภาพแรกดัดแปลงมาจากภาพของ USFDA)

(วันนี้นั่งเคลียร์ Desktop เจอรูปนี้เลยเอามาอัปบล็อก เผื่อหาย / Banana Post ตอนนี้เหมือนไม่ค่อยได้อัป สงสัยบก.หายตัว ถถถถถ)


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.