myself, my Twitter-shirts


ได้เสื้อ twitter มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน เอามาโชว์
molecularck เป็นคนจัดการเรื่องแจกเสื้อ เมื่องานนัดพบ mini twittbkk ที่ผ่านมา ผมไม่ได้ไปรับด้วยตัวเอง ติดถ่ายรายการอยู่กับกล้า แต่มีคนใจดีนำส่งให้

สองตัวสั่งไป ขาว L ดำ M

นี่ตัวขาว “colorless green ideas tweet furiously” (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

twitter-shirt: chomsky

ประโยคนี้ล้อประโยคคลาสสิกของ นอม ชอมสกี ที่ว่า
“Colorless green ideas sleep furiously”
(ความคิดเขียวไร้สีหลับอย่างเกรี้ยวกราด) ชอมสกีใช้ประโยคนี้เป็นตัวอย่างประโยคที่ ถูกไวยากรณ์ แต่มีความหมายไม่เป็นเรื่อง (ไม่ใช่ไม่มีความหมายนะ มีความหมาย แต่มันเข้าใจไม่ได้ — green มันจะ colorless ได้ยังไง ?, แล้ว ideas มันมีสีด้วยเหรอ ?, แล้ว sleep ยังไงให้ furiously ?) ชอมสกีใช้ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า แบบจำลองทางสถิติของไวยากรณ์นั้นไม่เพียงพอต่อการสร้างและเข้าใจภาษา เพราะถ้าเราดูในภาษาที่ใช้กันจริง เราจะไม่มีทางเจอประโยคที่คล้ายประโยคดังกล่าวเลย แต่เรา (หมายถึงเจ้าของภาษา native speaker) ก็สามารถแยกแยะได้ในทันทีว่า ประโยคดังกล่าว ถูกไวยากรณ์ แสดงว่าแบบจำลองของภาษาไม่ได้มีแค่เรื่องความน่าจะเป็นหรือสถิติเท่านั้น แต่ยังต้องมีเรื่องของโครงสร้างด้วย

ตัวดำ “I disapprove of what you tweet, but I will defend to the death your right to tweet it.” ตัวนี้มาพร้อมกับบั๊ก – มี tool tip balloon ลอยอยู่เหนือคำพูดดัวย 😛 (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

twitter-shirt: tweet rights

ประโยคนี้ล้อ
“I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it.”
(ฉันไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ฉันจะปกป้องสิทธิ์ในการพูดของคุณด้วยชีวิต) โดย Evelyn Beatrice Hall ในหนังสือ The Friends of Voltaire ผมชอบประโยคนี้ในแง่ที่ว่า มันสามารถสรุปความคิดรวบยอดเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ในหนึ่งประโยค ประเด็นสำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่การปกป้องสิทธิเสรีภาพของตัวเอง แต่อยู่ที่การปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ให้เกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเราและเขาเท่ากัน ปฏิบัติต่อเขาเหมือนกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติกับเรา พูดกันง่าย ๆ อย่างภาษาที่เราคุ้นเคยก็คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งนี่เป็นหลักการพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน-อย่างไม่ต้องทำตัวเหมือน ๆ กัน

อีกประโยคที่ผมมักจะนึกถึงคู่กันกับประโยคข้างบน ก็คือ
“Think for yourselves and let others enjoy the privilege to do so, too.”
(คิดเพื่อตัวคุณเอง และปล่อยให้คนอื่นได้รับอภิสิทธิ์ในการทำเช่นนั้นด้วย) ประโยคนี้ วอลแตร์ เขียนในหนังสือ Essay on Tolerance (ความเรียงเรื่องความอดกลั้น) ซึ่งก็เป็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น โดยไม่จำเป็นต้องคิดทำเหมือน ๆ กัน เราไม่อยากให้ใครมาคิดแทนเรา คนอื่นก็เช่นกัน ก็ต้องเคารพเขาด้วย เขาก็เคารพเรา

เสน่ห์ของเสื้อยืด ที-เชิร์ต ก็คือ เราใช้มันบอกความเป็นตัวเราได้ บางทีก็อย่างอ้อมในดีไซน์ ทางทีก็อย่างตรง ๆ ในข้อความ (หนังสือรวมเสื้อยืดของสนพ. a book ที่ออกมาไม่นานนี้ ก็น่าสนใจ)

pittaya ก็เอาเสื้อมาโชว์เหมือนกัน เขากินเม็ดสีแดง

ดูเสื้อยืด “ชนชั้นกลาง” โดยน้อง ๆ ลาดกระบังและอีกหลาย ๆ ที่ (เขาบอกเป็นเพื่อนกันสมัยมัธยมชายล้วน) ที่เอามาขายที่ถนนข้าวสารเมื่อเดือนก่อน

T-Shirts

technorati tags:
,
,


3 responses to “myself, my Twitter-shirts”

  1. T_T ป๋มขอโต๊ดด ก๊าบ แต่ว่าเท่และดู Geek

  2. อืม แปลกดี มีตัวเดียวจริง ๆ(ทำครั้งหน้า tool tip มันก็จะไม่ได้อยู่ตำแหน่งนั้นเป๊ะ :P)

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.