Thammasat as a research university … still a long way to go ?


ร้อยละของจำนวนวิทยานิพนธ์ (ป.โท/ป.เอก) ที่ตีพิมพ์ในระดับประเทศ (N ; ตัวชี้วัดที่ 30.1) และระดับนานาชาติ (I ; ตัวชี้วัดที่ 30.2) ต่อจำนวนนศ.ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมายเหตุ: จำนวนนศ.ของคณะแพทยศาสตร์ ไม่นับรวมวุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทาง
หน่วยงาน นศ. N/ท N/อ N/รวม N/% I/ท I/อ I/รวม I/% N+I/รวม N+I/%
นิติ 802 1 1 0.12 1 0.12
พาณิชย์ 2031 1 1 0.05 1 0.05
รัฐศาสตร์ 849
เศรษฐ์ 458
สังคมสงเคราะห์ 991 4 4 0.4 4 0.40
ศิลปศาสตร์ 588
วารสาร 770
สังคม & มานุษย์ 66
วิทย์ & เทคโน 222 10 10 4.5 2 2 0.9 12 5.41
วิศวะ 244 10 10 4.1 5 5 2.05 15 6.15
แพทย์ 8
สหเวช 37 1 1 2.7 3 3 8.11 4 10.81
ทันตะ 9
สถาปัตย์ & ผังเมือง 111
สถาบันภาษา 357
บัณฑิตอาสา 163
สหวิทยาการ 52 2 2 3.85 2 2 3.85 4 7.69
นวัตกรรม 460
SIIT 76 5 5 10 13.16 16 36 52 68.42 62 81.58
รวม 8294 31 7 38 0.46 26 39 65 0.78 103 1.24

ตัวตารางเอามาจาก รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (กพร.) (รอบ 12 เดือน) ของมธ.
โดยเอาตัวชี้วัดที่ 30.1 และ 30.2 มารวมกัน

โดยภาพรวมแล้ว ผมว่าน่าเกลียด – -“

ดูจากหน่วยงานที่มีนศ.เกิน 100 คนแล้ว คณะรัฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, ศิลปศาสตร์, วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, สถาบันภาษา, สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, และ วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา … ไม่มีผลงานตีพิมพ์เลย
หรือเป็นเพราะกลุ่มฐานข้อมูลที่สำรวจไม่หลากหลายพอ? ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน

ดูแล้วก็สมควรดี ที่อันดับวิจัย(ของสกอ. ซึ่งวัดจากผลงานตีพิมพ์) ของธรรมศาสตร์นั้นออกมาแบบ … หักอกกองเชียร์
ถึงแม้ว่า บางฝ่ายจะบอกว่าตัวการจัดอันดับนั้นมันจะดูแย่ ๆ และบ้างก็ว่าไม่น่าเชื่อถือ/ข้อมูลไม่ครบถ้วน ก็ตามเถอะ … แต่อันดับที่ออกมามันก็ เกินไปมั้ง – -” (หมายถึง มธ.ที่ทำได้แค่นี้, ไม่ใช่ว่าสกอ.ที่จัดมาให้ได้แค่นี้)

คือผมเชื่อว่าหน่วยงานเหล่านั้นมีคุณภาพน่ะ แต่ในกรณีของตัวชี้วัดสองอันนี้ ผลที่ได้มา มันไม่ดี ก็คือไม่ดีน่ะ — ส่วนเรื่องที่ว่าตัวชี้วัดที่ใช้มันเหมาะสมมั๊ย ก็อีกเรื่องนึง

ผมเห็นด้วยว่า ควรจะมีตัวชี้วัดอื่นมาเสริม/แทน ในบางกรณี เพื่อให้เข้ากับจุดประสงค์ของหน่วยงานหน่อย เช่นบางหน่วย/หลักสูตรนั้น ก็เน้นการเรียนการสอนเป็นสายอาชีพมากกว่าวิจัย เช่น สถาบันภาษา หรือ วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา หรือบางหน่วยอาจจะเน้นการให้บริการสังคมมากกว่า เช่น สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร (เดาเอานะ)

ยังไงดี คือแบบ ต้องยอมรับก่อนไง ว่าถ้าวัดแบบนี้นะ เรายังไม่ดี
ก็ถามกัน ว่าวัดแบบนี้มันเหมาะมั๊ย ถ้าเหมาะ ก็คุยกันต่อไปว่าจะทำยังไงดี ให้มันพัฒนาขึ้น
หรือถ้าไม่เหมาะ ไอ้ที่เหมาะนี่แบบไหน จะได้ประเมินได้ซะที

แบบว่าเชียร์ล่ะนะ แต่เชียร์ยังไม่ขึ้น 🙁

tags:
|
|
|
|


6 responses to “Thammasat as a research university … still a long way to go ?”

  1. เป็นกำลังใจให้เด็ก มธ. คนนี้ว่ะ

  2. เด็กบัญชีมีเยอะขนาดนี้เลยรึเนี่ย!

  3. mk: เพื่อนที่เรียนบัญชี (การเงิน) บอกว่า ป.ตรีน่าจะเยอะกว่านี้อีกพ่อหมา: หมายถึงเด็กใส่เสื้อทีมชาติที่อยู่ข้าง ๆ นั่นน่ะเหรอครับ ? 😛

  4. Whenever it concerns with SIIT, it's interesting. But it's not readable except "SIIT"

  5. you mean you can't read any Thai text ?does it ?so the left-most column is the faculty name, from top-bottom:Law,Commerce n Accountancy,Political sci,Econ,Social admin,Liberal arts,Journalism n Mass comm,Sociology n Anthropology,Sci n Tech,Engr,Med,Allied med sci,Dent,Arch n Urban planning,Language institute,Graduate volunteer,PhD Interdisciplinary,College of Innovative Education,SIIT

Leave a Reply to AnonymousCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.