จริยธรรมในการรับทุนวิจัย


เนื่องจากไม่เคยทำงานอยู่ในแวดวงวิจัย (ในระดับบริหาร) ผมเลยไม่ทราบว่า สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาที่ทำงานวิจัย โดยเฉพาะในบ้านเรานั้น มีนโนบายเรื่องการรับทุนวิจัยยังไงบ้าง

เช่น ถ้าเกิดว่าโครงการวิจัยนั้นจะนำไปสู่การสร้างอาวุธสงคราม หรือวัตถุอันตรายที่พิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีประโยชน์ในทางอื่นเลย นอกจากการทำลายล้้าง หรือผู้ให้ทุนเกี่ยวข้องกับกิจการเหล่านั้น หรือมีประวัติไม่ดีด้านจริยธรรม สิทธิมนุษยชน ไม่รับผิดชอบต่อสังคม มีสถาบันไหนปฏิเสธที่จะรับทุนวิจัยจากผู้ให้ทุนเหล่านั้นรึเปล่า ?

หรือมีนโยบายหรือไม่ว่า การให้ทุนนั้นเป็นไปในลักษณะไหน มีผลกระทบต่อแนวทางการทำวิจัยของสถาบันหรือไม่ ?

อย่างถ้าสมมติกรณีสอบสอนเรื่องกล้ายาง เรื่องปุ๋ยปลอม อะไรพวกนี้ ผลออกมาว่า ผิดจริง มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย จะพิจารณาไม่รับโครงการ/ทุนจากบริษัทเหล่านั้นมั๊ย ?

หน้าที่หนึ่งของสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากการถ่ายทอดแนะแนวความรู้สู่สังคมแล้ว ก็คือการสร้างความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสังคม การสร้างความรู้เพื่อสังคมนั้น สมควรที่จะรับทุนจากผู้ที่ทำผิดต่อสังคมหรือไม่ ? ถ้าเห็นสมควรว่าทำได้ มีนโยบายอย่างไร ที่จะรับประกันว่า ผู้ให้ทุนจะไม่สามารถมามีอิทธิพลเหนือแนวทางการสร้างความรู้นั้นได้ ? (ซึ่งอันตรายต่อการที่ความรู้นั้นจะไม่ได้มีเพื่อสังคม)

พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าอยากจะรับเงินจากคนไม่ดี จะระวังตนยังไง ให้เราเอาเงินนั้นไปใช้ในทางที่ดีได้ เช่น ถ้ารู้แน่ชัดว่าสุดท้ายแล้วผลวิจัยจะถูกเอาไปใช้ในเรื่องไม่ดี (หรือคิดแล้วว่า ไม่ว่ายังไงก็ใช้ให้ดีไม่ได้) ยังจะรับทำมั๊ย ? หรือถือว่าเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยวกัน คนสร้างความรู้ก็สร้างไป คนจะเอาไปใช้ยังไงก็อีกเรื่อง ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกัน .. หรือคิดว่า ถึงเราไม่รับ คนอื่นก็รับอยู่ดี งั้นเราก็รับไว้ละกัน ไม่เห็นจะเป็นอะไร

ลองไล่ ๆ หาตามเว็บไซต์มหาลัยไทยคร่าว ๆ แล้ว ก็เหมือนจะไม่มีแจ้งนโยบายอะไรไว้

มีพบ “จรรยาบรรณของนักวิชาการ” ที่เว็บ กิจการวิจัย จุฬา “เน้นการรักษาข้อห้ามสำคัญ 2 ข้อ คือ ห้ามลักทรัพย์ และห้ามกล่าวเท็จ” แต่อันนั้นก็ไม่ได้พูดถึงจริยธรรมของการดำเนินงานวิจัย/รับทุนวิจัย

ใครมีความรู้ตรงนี้ ช่วยหน่อยครับ 🙂

ความคิดเห็นอื่นที่ bact.gotoknow.org


6 responses to “จริยธรรมในการรับทุนวิจัย”

  1. ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา แต่อยากบอกว่า bact' กับ choke กำลังเดินสวนทางกันอย่างไม่มีทางกลับมาเจอ อิ อิถามข้อดี ข้อเสีย หน่อย กับการมี blog หลายๆ ที่ อันหนึ่งที่สงสัยคือการบริหารเวลาของ bact' ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย เพราะ bact' ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใน net แทบทุกวันวันละหลายๆ เรื่อง รวมทั้งทำงานเพื่อสังคม ในหลายรูปแบบ (เพื่อน wiki OO etc) นอกจากนั้นยังทำงานในมหาวิทยาลัยอีกมีการแบ่งเวลาไงครับ แล้วงานที่ได้รับมอบหมายเยอะไหมดูแลเรื่องสุขภาพอย่างไร ระวังประกันไม่จ่ายเน้อพี่จอย

  2. งานนี่ ผมทำครึ่งเวลาอ่ะ 3 วันต่ออาทิตย์เอง เหอะ ๆ :P(ลูกเมียก็ไม่มี ไม่ต้องห่วงอะไร 555 พ่อแม่ก็ยังแข็งแรงสบายดี สรุป อยู่คนเดียว จะทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ ถ้าอยากทำ)จริง ๆ ควรจะเอาเวลาไปอ่านหนังสือเรียนภาษาเยอรมัน -_-"อย่ามาถามเรื่องแบ่งเวลากะผมเลยครับ ทำได้ห่วยอย่างยิ่ง (คือ เรื่องไหนสนใจตอนไหนก็ทำมันตอนนั้น ไอ้เรื่องอื่น ๆ น่ะรอไปเห้อะ -_-")เป็นคนกว่าจะเริ่มทำอะไรเนี่ย นานมาก โอ้เอ้ไปเหอะแต่ถ้าได้ลงมือทำแล้ว ก็มักจะทำจนเสร็จไปเลย(ไม่มีความสามารถเรื่อง multi-tasking อย่างสิ้นเชิง)ซึ่งมันไม่ค่อยดีนะ ถ้ามีอะไรมาแทรกปุ๊บเนี่ย พังเลย ต่อไม่ค่อยติด -_-"—-ไม่ได้ตั้งใจจะมีบล็อกหลาย ๆ ที่อ่ะแต่เห็นว่าใน gotoknow.org น่าจะมีคนที่ผมอยากคุยด้วยอยู่เยอะเหมือนกันอาจารย์ คนที่สนใจด้านการศึกษา/การเรียนรู้/การจัดการความรู้ นักศึกษา ที่ผมเขียน ๆ อะไรไป ก็เพราะอยากฟังจากคนอื่น ๆ มั่งป.ล. เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกะ OOo เลยนะ(นาน ๆ ตอบเมลที เวลามีคนเขียนมาถาม แต่ไม่ค่อยเยอะหรอก)

Leave a ReplyCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version