Tag: web

  • ‘Censorship’ 2.0 : RoyalVDO.com – an organized User-DUPLICATED Content campaign

    ดูคำชักชวนและวิธีการ ใน RoyalVDO.com ที่เชิญชวนให้คนนำวีดิโอเกี่ยวกับในหลวงไปอัปโหลดตามที่ต่าง ๆ เยอะ ๆ เพื่อเป็นการ “ถวายงาน” แก่ในหลวงท่านแล้ว ก็เห็นว่าควรจะเขียนอะไรบางอย่าง ก่อนที่อะไร ๆ มันจะบิดเบี้ยวเลยเถิดไปหมดในสังคมนี้ … แม้แนวคิดโดยรวมของ RoyalVDO.com นั้น “เชื่อได้ว่า” คงจะมีเจตนาดี ผมพบว่ามัน “เกินพอดี” ไปหน่อย … จากหน้า เกี่ยวกับ ของเว็บไซต์ดังกล่าว : หากมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ช่วยกัน DownLoad คลิปวิดีโอ แล้วนำไป UpLoad เข้าใน YouTube หรือเว็บ อื่นๆ วันละตอน สองตอน หรือมากกว่า จนรวมกันได้มาก เป็นหมื่น เป็นแสน หากจะมีการสืบค้น โดยใช้คำ ว่า King Thai หรือ King of Thailand หรืออื่นๆ ก็จะพบเป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง…

  • Folk Doctor Foundation

    เว็บไซต์เพื่อการรักษาสุขภาพและหาความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ด้วยตัวเอง หมอชาวบ้าน http://doctor.or.th/ ตรวจสุขภาพด้วยต้วเอง, แพทย์ทางเลือก, โรคจากการทำงาน, แม่และเด็ก, … technorati tags: doctor, health, health care, Thai

  • History of TLWG and LTN, by Ott

    ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม Thai Linux Working Group (TLWG) และเว็บไซต์ Linux.Thai.Net (LTN) เขียนโดยพี่อ็อท ภัทระ เกียรติเสวี (Ott) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มจัดทำเว็บไซต์ดังกล่าว พี่อ็อทมีส่วนร่วมกับการพัฒนาลีนุกซ์ในเมืองไทยตั้งแต่ช่วงแรก ๆ คือ Linux-SIS เอกสารนี้คัดลอกมาจาก http://linux.thai.net/plone/about/history ซึ่งปัจจุบันส่วน Plone ซึ่งเป็น CMS ตัวเดิมของ Linux.Thai.Net นั้นเลิกใช้แล้ว ด้วยความกลัวว่าจะสูญหายไป จึงขออนุญาตคัดลอกมาไว้ ณ ที่นี้ครับ ตามบันทึกเอกสารนี้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 ลิงก์ต่าง ๆ ด้านล่างนี้ เป็นไปตามเอกสารต้นฉบับ ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ (บางลิงก์ก็ตายแล้ว เช่น http://linux.thai.net/old-proposal.html) รวมถึงตัวสะกดทุกอย่างก็คงไว้อย่างเดิมด้วย เพื่อเหตุผลในการอ้างอิง — สำหรับลิงก์ที่ผมคิดว่าน่าจะเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อประโยชน์ในค้นคว้าเพิ่มเติม จะรวบรวมเอาไว้ด้านท้ายเอกสารทั้งหมดครับ (หลังคำว่า [จบเอกสาร]) [เริ่มเอกสาร] History of TLWG…

  • CiteULike serious-crash course

    ในชั้นเรียนเมื่อวันพุธแรกของวิชา อาจารย์แนะนำให้ใช้ EndNote สำหรับเก็บเอกสารอ้างอิง และช่วยเขียนอ้างอิง citation ทำบรรณานุกรม ผมเองซึ่งใช้ EndNote (ของบริษัท Thompson Reuters) ไม่ได้ เพราะมันรันได้เฉพาะบน Windows และ Mac OS X ไม่มีลีนุกซ์ ก็เลยเสนอไปว่า มันมีทางเลือกอย่าง CiteULike (www.citeulike.org) อยู่นะ ซึ่งก็มีความสามารถพวกนั้นเหมือนกัน อาจจะสะดวกไม่เท่าในแง่การผนวกกับ Microsoft Word แต่ก็โอเคนะ (มานั่งนึก ๆ ทีหลัง บางทีทางเลือกนี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่า EndNote … ถ้าพูดในแง่ราคา ตราบใดที่ยังเป็นนักศึกษาหรือทำงานในมหาวิทยาลัย เขาก็มีสัญญาอนุญาตของมหาวิทยาลัยให้ใช้อยู่แล้ว … ถ้าพูดในแง่ความสะดวกที่อยู่บนเว็บ เดี๋ยวนี้มันก็มี EndNoteWeb ให้ใช้ … แต่ถ้าคิดถึงเรื่องว่า สักวันหนึ่งเราก็คงไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยต่อไป แล้วอยากจะใช้ข้อมูลเก่า ๆ ที่เราเก็บไว้ล่ะ คิดว่าคุ้มไหมที่จะซื้อ EndNote ในตอนนั้น หรือว่าใช้ CiteULike…

  • hidden text in Kapook again

    รู้จาก duocore.tv และตามไปอ่านในบล็อก mormmam และ pittaya เรื่องเดิม ๆ ครับ คล้าย ๆ กับที่เคยเป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ กับการทำ search engine “optimization” Big blackhat SEO in thailand again (รูปภาพ นิกกี้ เพลย์บอย หนุ่มหล่อ ถ่ายแฟชั่น ยั่วน้ำลาย ชาวเกย์) Hidden text again (รูปภาพ Wonder Girls 5 สาวสวย ดาราเกาหลี) เท่าที่ดู คราวนี้นี่ไม่ได้เป็น spam เพราะว่าเนื้อหาก็ออกมาทำนองคำค้นพวกนั้น (ไม่เหมือนครั้งก่อน) แต่อย่างไรก็ตาม hidden text นี่มันก็ถือว่าเอาเปรียบเว็บไซต์อื่น ๆ เขา ในแง่ว่าไปดันอันดับคนอื่นในเสิร์ชเอนจิน (ไม่ได้ใช้ clear text เหมือนกันหมด แฟร์…

  • design @ KMUTT, BKK, WEB

    REDEK – Research and Design Service Center KMUTT คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี designXTENSION – หลักสูตรพิเศษด้านการออกแบบ เลือกเรียนได้ตามอัธยาศัย มีทั้งหลักสูตร 1 ปี 2 ปี หรือเลือกเรียนเฉพาะวิชาได้ เรียนที่อาคาร Bangkok CODE ถนนสาทรใต้ — ที่น่าสนใจเช่นโมดูล human centered design และวิชา interface design (ดูรายชื่อวิชาที่เว็บ Bangkok CODE จะอัพเดทกว่า) อีกทีที่มีสอนการออกแบบให้ลงเรียนได้ตามชอบใจคือ ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพ (Alliance Française de Bangkok) แถม (พักนี้แถมเยอะ) : TCDCCONNECT ทีซีดีซีคอนเน็ค เชื่อมคนทำงานสร้างสรรค์เข้าด้วยกัน มีบทความ มีลิงก์น่าสนใจ และแนะนำบล็อกด้านออกแบบหรือไอเดียใหม่ ๆ อยู่เรื่อย…

  • xxx.kapook.com

    This news in English: Blackhat SEO on Kapook.com, at Quando Omni Flunkus Moritati blog In Japanese 日本語: kapook祭り, タイだ。 เสาร์ 22 มีนา บ่ายโมง – Kapook ชวนคุยเรื่องนี้ @ บ้านไร่กาแฟ เอกมัย (BTS เอกมัย) pittaya เจ้าเก่าของเรา คุ้ยแคะแกะเว็บเอาเปรียบชาวบ้าน มาให้เราดูกันอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นเว็บยอดฮิตซะด้วย… xxx.kapook.com จะเป็นยังไง ลองไปอ่านที่ pittaya เขียนไว้ดู ได้รู้ได้เห็นทั้งหมดแล้วก็ เฮ่อ… อีกแล้วหนอ… “คลิป sex xxx หนังโป๊ เรื่องเสียว” เหล่านี้ล้วนเป็นคำที่ติดอันดับการค้นหาสูงอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย และมันก็ยั่วยวนเหลือเกิน ที่จะนำคำเหล่านี้มาใส่ไว้ในเว็บของตัว เพื่อหวังทำอันดับการค้นหาให้สูงขึ้น…

  • codepad + pastebin

    เจ๋งอ่ะ codepad เวลาอยากจะแชร์โค้ดอะไรเล็ก ๆ กับเพื่อน แปะลง IM มันก็เละ ๆ ดูยาก จะเปิดเมลส่ง ก็ดูลำบาก หรือ บางทีจะลองโค้ดอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ เช็คว่ามันใช่อย่างที่คิดรึเปล่า แต่ไม่มีคอมไพเลอร์ใกล้มือ codepad ช่วยได้! ลองเล่นดู แปะโค้ดอะไรก็ได้ลงไป แล้วจะลองรันด้วยก็ได้ หรือจะแค่แปะเฉย ๆ ก็ได้ จากนั้นเราจะได้ url มาอันนึง (ทำนองเดียวกะพวก tinyurl) ไว้ส่งไปให้เพื่อนได้ ทีนี้เพื่อนก็สามารถเข้าไปที่ url ที่ว่า เพื่อดูโค้ดเมื่อไหร่ก็ได้ (พร้อม syntax highlight ด้วย) ชอบ ๆ วันก่อน คุณชาญวิทย์ Groovy/Grails แนะนำ pastebin ในอีเมลกลุ่ม ตอนนั้นคิดว่าเจ๋งแล้ว เจอ codepad เข้าไป เราว่าเจ๋งกว่าอ่ะ ในแง่โค้ดนะ…

  • my del.icio.us

    my online bookmarks: http://del.icio.us/arthit if you found it relevant, add me to your network, and start sharing! — thx 😉 my most recent one: First Monday: Critical Perspectives on Web 2.0 technorati tags: bookmark

  • politicalbase.in.th

    เปิดแล้ว: ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th “แต่การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยเพียงเฉพาะในเลือกตั้งอย่าง เดียวยังไม่เพียงพอ การตรวจสอบการทำงานของพรรคการเมืองทั้งก่อนและหลังจากช่วงการเลือกตั้งยัง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเริ่มโครงการ politicalbase.in.th ก็เกิดมาจากการตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เพื่อลดภาระและต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลของนักการเมือง และพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบนโยบายและความเชื่อมโยงทางการเมือง” ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาชนผู้มีสิทธิ์มีเสียง โดยการช่วยกันเพิ่มข้อมูล ทีละเล็กละน้อย ค่อย ๆ สะสมเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะทั้งหมด – ตัวเว็บไซต์เป็นลักษณะวิกิที่เปิดให้ทุกคนเพิ่มและแก้ไขข้อมูลได้ โดยมีกองบรรณาธิการตรวจสอบที่มาของข้อมูลในเบื้องต้น ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th – โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (เยอรมนี), สถาบันทีอาร์เอ็น (ไทย), และ สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต แนะนำมูลนิธิฟรีดิชเนามันสั้น ๆ — มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (Friedrich-Naumann-Stiftung) เป็นมูลนิธิของประเทศเยอรมนีเพื่อสนับสนุนการเมืองแบบเสรีนิยม (มีความเกี่ยวพันกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ของเยอรมนี) โดยสนับสนุนเสรีภาพของปัจเจกและแนวคิดเสรีนิยม มูลนิธิดำเนินงานตามแนวคิดอุดมคติของ ฟรีดิช เนามัน ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองมีการศึกษาและได้รับข่าวสารทางการเมืองอย่างเพียงพอ ซึ่งตามแนวคิดนี้ การศึกษาการบ้านการเมือง (civic education) เป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และสำหรับประชาธิปไตย…