Tag: urban planning

  • Live+Work Bazaar 2550 B.E.

    ห้องแถว 2550 – “เครื่องมือ” สู้ทุนข้ามชาติในรูปแบบ “อาคาร” โดย คุณยรรยง บุญ-หลง ออกแบบมาสำหรับเมืองที่มีความหนาแน่นสูง กระจายพื้นที่สาธารณะ-พื้นที่แลกเปลี่ยนค้าขาย โดยเพิ่มและดึงพื้นที่เหล่านั้นเข้าใกล้พื้นที่ส่วนตัว สําหรับนักลงทุนที่ต้องการกําไรจากที่ดิน และกําลังคิดที่จะสร้างห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาเก็ต (อย่างโลตัส ) สิ่งที่ควรไตร่ตรองให้ดีก็คือ ระบบรวมศูนย์และระบบมาตรฐานเิชิงเดี่ยว (standardization) นั้นจะนําไปสู่การจัดการในลักษณะ “สังคมนิยม” มากขึ้นๆ ความเป็นปัจเจกนั้นจะน้อยลงเมื่อกิจการขยายใหญ่ขึ้น ผลผลิตจะไม่หลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์ (ซึ่งต้องการความเป็นปัจเจกชน) ก็จะน้อยลง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ร้านหนังสือ และห้างใหญ่ๆ กําลังประสบปัญหาขาดทุนเพราะไม่สามารถแข่งกับพ่อค้ารายย่อยทาง eBay ได้ eBay นั้นมีหลักการง่ายๆ ก็คือ สร้างพื้นที่สาธารณะขึ้นมาให้ผู้คนแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง โดยเก็บเพียงค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วม ผลปรากฎว่า eBayได้กําไรมหาศาลเพราะเขา ไม่ต้องลงทุนหาสินค้าเองเลย หากเพียงแค่เปิดพื้นที่ให้คนมาใช้เท่านั้นก็พอ ห้องแถว 2550 ก็อาจมีลักษณะคล้ายๆ กับ eBay คือ เปิดพื้นที่สาธารณะใหม่ขึ้นมาให้คนได้ใช้ โดยเก็บค่าเช่า(สําหรับห้องแถว) และค่าธรรมเนียม(สําหรับแพงลอย) ในราคาถูกแต่เก็บมากรายขึ้น ยิ่งคนมาขายเยอะก็ยิ่งเก็บได้เยอะและเก็บได้ถูกลง เป็นผลให้คนมาขายมากขึ้นอีก ดูไปดูมา…

  • Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective

    จากรีวิวที่ I am what I am แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม “การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่” อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ) รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ…

  • Sarasatr

    The 10th Sarasatr Symposium on SITUATIONIST SPACES สาระศาสตร์ 10 :“สถานการณ์สานสาระ” การประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยการออกแบบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรม และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง วันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2549 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ทางความคิดของศาสตร์ทางการออกแบบ และสถาปัตยกรรมจะเป็นอย่างไร เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบันนั้นซับซ้อน มีเงื่อนไข และเกิดเป็นสถานการณ์เฉพาะที่ เฉพาะเวลา เฉพาะกลุ่ม อย่างหลากหลายมากขึ้น ขอเชิญชวนสถาปนิก นักออกแบบ นักผังเมือง ศิลปิน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา รวมทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศวัย ร่วมส่งบทความ เสนอผลงาน และเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการที่ขยายพื้นที่ทางความคิดแบบสถานการณ์นิยมตามมุมมองของท่านอย่างอิสระและสร้างสรรค์ รายละเอียดที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน | เว็บไซต์: sarasatr.info Wikipedia: situationist tags: Sarasatr, Symposium, conference, design,…

  • SOCIAL decentralised distributed network clusters

    social decentralised distributed network clusters สี่คำหลัง ไม่รวมศูนย์ กระจาย เครือข่าย กลุ่มก้อน เหมือนเป็นศัพท์คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ กราฟ ระบบอะไรสักอย่าง เพิ่มคำหน้าเข้าไป สังคม คราวนี้มันก็เป็นเรื่องสังคมศาสตร์ละ เอ้อ ง่ายดี 😛 การศึกษาด้านสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน มีการอธิบายสังคมสัตว์และสังคมมนุษย์ รวมถึงพฤติกรรมในสังคมหลายอย่าง เช่น การขึ้นลงของราคาสินค้าในตลาด การเลือกเส้นทางไปหาน้ำหวานของผึ้ง การบินของฝูงนก เหล่านี้อธิบายได้ด้วยสี่คำหลังข้างบน bottom-up, self-organized system อะไรทำนองนั้น ในความเหมือนจะไร้ระเบียบ มีระเบียบซ่อนอยู่ อ่านเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยเก็ทหรอก 😛 มีหนังสือแนวนี้กองอยู่บ้านสองสามเล่ม อ่านข้ามไปข้ามมา ไม่จบซักกะเล่ม — เป็นเรื่องปกติ ไปดูผังเมืองปักกิ่งกัน ปักกิ่ง – ผังเมืองฉบับสาธารณะ คืนถนนให้คน จิตสำนึกร่วม ที่เปลี่ยนไป ระบบแบบไม่รวมศูนย์ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

Exit mobile version