Tag: traffic

  • ยังไงก็ตาม “รถติดเป็นเรื่องถูก-ถูก” (อีกที)

    เมื่อมีนาคม 2549 ผมเขียนบล็อกหนึ่งไว้: รถติดเป็นเรื่องถูก-ถูก สนับสนุนการชุมนุม-ปิดถนน ซึ่งตอนนั้นเป็นการชุมนุมของพันธมิตร ขับไล่นายกทักษิณ ก่อนรัฐประหาร วันนี้ผมก็ยังคิดเหมือนเดิม คือยอมรับสิทธิในการชุมนุมและไม่คิดว่ารถติดเป็นเรื่องใหญ่ (และจริง ๆ ช่วงสี่ห้าวันนี้มันก็ไม่ได้ติดเสียเท่าไหร่ด้วย) ดังนี้แล้ว ผมย่อมต้องสนับสนุนการชุมนุมของคนเสื้อแดง วันนี้ @kengggg ถอดเสียงจานพิดเด็กแนว พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (มิถุนา 2551) เรื่องชุมนุม-รถติด และทำไมต้องมากรุงเทพ ไปที่อื่นไม่ได้หรือไง: เหตุผลที่มาประท้วงถามว่ารถติดไหม — รถติด — สิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจคือต้องเข้าใจเขาก่อน คืออย่าเพิ่งคิดว่าเราดี เราต้องเข้าใจเข้าก่อนว่าเขามองเราอย่างนั้นจริงๆ และมันการรถติดจริงไหม — จริง — และเรามาทำไม — เรามาทำให้รถติด — ใช่ — แต่มันไม่ได้จบแค่นั้น ผมคิดว่าสิ่งสำคัญของเราคือว่า เราต้อง — ภาษาอังกฤษเขาเรียก confront — คือว่าเราต้องเผชิญหน้ากับอคติที่เขามีกับเรา เราตอบเขาบนอคติอันนั้นเลย ไม่ใช่ว่าไปทำเรื่องแง่งามอื่นๆ ในม็อบ ผมมาทำให้คุณรถติด —…

  • Putting Pedestrian First

    ปรับปรุง: 2009.08.22 @poakpong ได้ไปแจ้งที่ป้อมแล้ว (ซึ่งคราวนี้มีเจ้าหน้าที่อยู่) และทางเจ้าหน้าที่รับไปดำเนินการต่อแล้ว …แต่ก็ยังมีประเด็น บ่ายวันพฤหัสที่ผ่านมา รอข้ามถนนตรงแยกบางลำพู และพบว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ที่จะรอ อดไม่ไหว ขอถ่ายเก็บมาดูหน่อย โกรธ ระหว่างถ่าย ก็ได้โอกาสเก็บภาพรถราที่ไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่น้อย วิ่งฝ่าทางม้าลายตลอดเวลา แม้ไฟคนข้ามจะเขียวอยู่ แม้จะมีคนกำลังข้ามอยู่ เมืองเป็นที่อยู่ของคน คนก่อน รถทีหลัง คืนถนนให้คนเดินเท้า! Putting Pedestrians First technorati tags: traffic light, pedestrain rights, Bangkok

  • Jaime Lerner: Sing a song of sustainable cities

    TED Talk – Jaime Lerner: Sing a song of sustainable cities ชอบไอเดียเรื่องเอาระบบขึ้นลงรถไฟฟ้า มาใช้กับรถเมล์ (ทำป้ายรถเมล์ให้คล้าย ๆ ที่รอรถไฟฟ้า ทำประตูรถเมล์ให้มีหลาย ๆ ประตูแบบรถไฟฟ้า) แล้วเชื่อมทั้งรถไฟฟ้าและรถเมล์เข้าด้วยกัน — “ระบบเดียวกัน ต่างกันแค่พาหนะ” technorati tags: city, Brazil, traffic system, TED

  • ที่ ๆ เราอยู่ร่วมกัน

    มองออกไปนอกหน้าต่างรถเมล์ หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ตอนเย็น ๆ รถติดไฟแดง รถเก๋งคันหนึ่งลักไก่วิ่งย้อนศร หวังมาแทรกเข้าข้างหน้า “โชคไม่ดี” ไฟจราจรปล่อยรถอีกด้านมาแล้ว รถกระบะคันหนึ่งวิ่งมาตามเลนของตัว และเจอกับรถเก๋งคนนั้น ไม่ใครก็ใครต้องถอย ไม่มีที่หลบ ไม่มีรถอื่นตามรถเก๋งมา เช่นเดียวกัน ไม่มีรถอื่นตามรถกระบะมา ดูตามพื้นที่แล้ว รถกระบะน่าจะถอยง่ายกว่า เพราะเพิ่งเข้ามาในเลนได้นิดเดียว ยังมีที่ให้ถอยไปได้เพื่อให้รถเก๋งเข้ามาหลบในเลนซ้ายได้ ดูเหมือน “แล้งน้ำใจ” ? รถกระบะบีบแตรทันที และขยับรถเดินหน้าเข้าใกล้รถเก๋ง ดูท่าทางเอาจริง เสียงแตรถี่ขึ้น ภาพสุดท้ายที่เห็นคือ รถเก๋งถอยยาว มีรถกระบะรุกไล่ไปตลอดจนลับตา ถ้าคุณเป็นรถกระบะ คุณจะทำเช่นนี้ไหม ? ถ้าคุณเป็นรถเก๋ง คุณจะลักไก่วิ่งย้อนศรไหม ? และถ้าทำ คุณจะทำอย่างไร เมื่อเจอรถกระบะ ? เมืองที่เราอยู่ร่วมกัน ถนนที่เราใช้ด้วยกัน ถนนที่เราเป็นเจ้าของร่วมกัน แปลว่า ในขณะที่เราเป็นเจ้าของ คนอื่น ๆ ก็เป็นเจ้าของมันด้วย สังคมที่เราอยู่ร่วมกัน กติกาบางอย่างที่เราตกลงกัน เราปฏิบัติตามนั้น ด้วยความคาดหวังว่าคนอื่นจะทำตามกติกาด้วย เพื่อเราจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสะดวก ไม่ต้องมาทำความเข้าใจตกลงอะไรกันใหม่ไปทุกเรื่องทุกครั้ง ต่างคนต่างรู้ว่าใครจะซ้ายจะขวา…

  • Safe is Unsafe

    “We reject every form of legislation” “เราปฏิเสธการออกกฎหมายทุกรูปแบบ” — Mikhail Bakunin บิดาแห่งลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่ ไม่มีป้าย ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีถนน ไม่มีทางเท้า และไม่มีกฎ — ผู้ใช้เส้นทางเคารพซึ่งกันและกัน เมือง 7 เมืองในยุโรป ปลดป้ายจราจรทิ้ง “กฎหลายอย่างได้ฉวยเอาสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งไปจากเรา: ความสามารถในการ คิดถึงความคิดของผู้อื่น. เราได้สูญเสียความสมรรถภาพในการมี พฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม” ฮานส์ มอนเดอร์มาน ผู้เชี่ยวชาญการจราจรชาวดัตช์, หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ, กล่าว “จำนวนคำสั่งที่ยิ่งมาก ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตัวเองของผู้คนยิ่งหดลง” ผลลัพธ์ก็คือ ผู้ขับขี่พบว่าตัวพวกเขานั้นถูกล้อมรอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ที่บีบรัด, ดังนั้นพวกเขาจึงได้พัฒนา “สายตาแบบท่อ” [tunnel vision – อาการพิการทางสายตา มองไม่เห็นสิ่งรอบข้าง]: พวกเขาจะค้นหาช่องทางที่จะได้เปรียบอยู่เสมอ และความประพฤติที่ดีก็จะไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา แนวคิดเรื่องไม่มีป้ายจราจรนี้ เคยอ่านเจอเมื่อสองสามปีก่อน ในหนังสือชื่อ Emergence: The Connected Lives of…