Tag: Thailand

  • The Root of All Evil ?

    “ เพราะ อะไรน่ะหรือ พูดกันแบบตรงไปตรงมาก็ต้องบอกว่า เพราะรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลจากคณะทหาร ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นคณะที่ยืนอยู่ในฝักฝ่าย และไม่มีทางที่จะสร้างการยอมรับให้กับอีกฝ่าย นับประสาอะไรที่จะสร้างการยอมรับให้กับผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ที่จะอยู่ร่วมด้วยกับคนอีก 73 จังหวัดที่เหลือ ” ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข : ระเบิดที่ฟ้องว่า ‘คณะรัฐประหารคือปัญหา’ technorati tags: politics, coup, Thailand

  • Opinions

    ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 2,374 คน ซึ่งเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 87.9% เห็นว่า ควรมีการลงประชามติก่อนนำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปใช้จริง 70.6% เห็นว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 เป็นต้นแบบในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 63.4% เชื่อมั่นว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยทำให้การเมืองไทยดีขึ้น 63.2% ต้องการ นายกรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถและมีจริยธรรม 60.3% เห็นว่า นักการเมืองไม่ควรเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการองค์การอิสระต่าง ๆ 59.8% เห็นว่า สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง 58.3% เห็นว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จะเห็นว่า ผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่ ยังพอใจกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 เพียงแต่ต้องการให้แก้ไขจุดบกพร่องบางมาตราเท่านั้น และมุ่งเน้นไปที่คุณธรรมกับความรู้ ความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด [ผ่าน ประชาไท] technorati tags: opinions, politics

  • Harvard to Investigate Net Censorship in Thailand

    ข่าวสำหรับตีพิมพ์ จาก กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะสืบสวน การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (In English: Harvard University to Investigate Internet Censorship in Thailand) สำหรับเผยแพร่ทันที — 2 มกราคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจะสืบสวนการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ดร. บอนนี่ โดเฮอตี้ อาจารย์ผู้ดูแลประจำแผนงานสิทธิมนุษยชน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเป็นผู้นำทีมคณะนักวิจัยมายังประเทศไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม ร่วมกันกับ ศูนย์เบิร์กมานเพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม (Berkman Center for Internet and Society) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโครงการโอเพนเน็ตอินิชิเอทีฟ (OpenNet Initiative) ทีมงานจะทำการสืบสวนประเด็นการแสดงออกอย่างเสรีในประเทศไทย ทีมงานจะพิจารณาการปิดกั้นและคัดกรองเว็บในปัจจุบัน ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ทีมงานจะสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างเสรี และจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในบริบทที่กว้างกว่า เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทั้งหมดนั้น…

  • no new year countdown (again)

    กลับมาเมืองไทยสองรอบ ไม่ได้เคานท์ดาวน์ทั้งสองรอบ เค้ายกเลิก รอบที่แล้ว ภัยธรรมชาติ สึนามิ, รอบนี้ ภัยมนุษย์ ระเบิด ปลายปีหน้าคงต้องไปอยู่นอกประเทศเสียหน่อย เพื่อชาติ update: เพิ่งนึกขึ้นได้ ว่าตอนที่อยู่เอดินบะระ เค้าก็ยกเลิกงาน ฮอกมาเน่ ปีนั้น สาเหตุเพราะ “ลมแรงเกินไป” ไร้ดวงจริง ๆ เรา technorati tags: Thailand, countdown, cancellation

  • see improvement ?

    ความเห็นหนึ่ง ที่มีผู้สัญจรไปหย่อนไว้ในบล็ิอก นิติรัฐ : ตุ้มเม้ง said… โอเค เรามาคุยเหตุผลกันนะ ไม่ต้องหยาบไม่ต้องอารมณ์ ไม่ต้องคุยเรื่อง ประชาธิปไตยก็ได้ เพราะ ความต้องการของเราคงไม่เหมือนกัน เพราะประชาธิปไตย คือ ประชาธิปไตย ไม่มีแบบ ไทยๆ แบบพม่าๆ ต่อท้ายเพื่อเอาไว้แก้ขัดแก้เขินแก้อาย แต่เรามาพูดถึงคำว่า “สิทธิเสรี” คุณบอกยุคทักษิณ 300 ไม่มีความเสรี? ไอ้ที่ใส่เสื้อเหลือง พิมพ์หน้าอก กู้ชาิตินั่นอะไร? ไอ้ที่ไฮปาร์คด่าหยาบๆนั่นคืออะไร? การออกข่าวแบบเพ้อเจ้อๆขาดหลักฐานนั่น ไม่เสรี? โดนปิดกั้น? มาถึงยุค รัฐบาล F2 (เปลี่ยนแค่ชื่อโครงการ แต่คงไว้ทั้งหมด) การจะออกไปประท้วงแสดงความไม่เห็นด้วยกับทหาร ก็โดนตราหน้าว่า ลิ่วล้อบ้างล่ะ โดนจ้างบ้างล่ะ ทางอีสาน ทางเหนือ โดนบล๊อคถนน ไม่ได้ขบวนมาในกทม แบบนี้เสรีจัง โดนขึ้นบัญชีดำ บ้างล่ะ เพราะโดนสงสัยว่าคลื่นใต้น้ำ แบบนี้เสรีมาก? เอาคนอีสาน และ คนทางเหนือที่พร้อมจะลุกฮือขับไล่เผด็จการเข้าบัญชีดำ แต่สั่งให้ทำลายบัญชีดำโจรใต้ พร้อมกันนั้นยังไปกราบตีน…

  • Thailand, FOSS, and Community

    (ขอรวมมันที่เดียวเลยละกัน ไปตามแก้โพสต์ก่อน ๆ แล้วงง – -“) รายงาน TLUG รายงาน มัลติมีเดีย และรวมลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ Blognone TLUG Resurrection รายงานประเด็นต่าง ๆ ในงานเสวนา โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ รายงาน : เสวนาโอเพนซอร์ส “อนาคตโอเพนซอร์สไทย” รายงาน และสัมภาษณ์พิเศษคุณเทพพิทักษ์ พร้อมมัลติมีเดีย และลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ที่เว็บ พลวัต Thailand FOSS Retrospects ย้อนมองวงการซอฟต์แวร์เสรีเมืองไทย บทความวิเคราะห์ โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ รวมบทความ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซอฟต์แวร์เสรี และโอเพนซอร์ส สำรวจและทำความเข้าใจกับ วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวัฒนธรรมซอฟต์แวร์เสรี และกระบวนโอเพนซอร์ส มีบทความเด่น เช่น มหาวิหารกับตลาดสด วีดิโอของงาน TLUG อนาคตโอเพนซอร์สไทย ตัดมาเฉพาะตอนที่เกี่ยวกับชุมชน ดูวีดิโอทั้งหมดได้ที่…

  • Legalised It!

    หากใครลองเปิดเทประหว่าง สนช. และ รมต. ฟังอีกรอบ คงจะหูผึ่ง!!! “ควรมีบทควบคุมไปถึงผู้ที่บรรจุข้อมูลในเซิบเวอร์จากต่างประเทศที่เผยแพร่ในไทย โดยเฉพาะข้อความที่หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเราต้องบล็อกข้อมูลลักษณะนี้ให้ได้ แต่จากที่ดูมาตรา 16 ทั้ง 8 อนุมาตรา ไม่มีตรงไหนสามารถบล็อกได้ จึงเป็นช่องว่างช่องโหว่ในการดำเนินการดังกล่าว” สนช. ท่านหนึ่งอภิปราย ฝ่ายรัฐมนตรีไอซีทีตอบว่า “ที่ผ่านมามีข้อความลงในเว็บไซด์ที่หมิ่นพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ จึงขอพิจารณากฎหมายของกระทรวงไอซีที 4 ฉบับ และนำเสนอเข้า ครม. อาจเป็นเพราะตนเป็นคนใจร้อน จึงขอให้ ครม. พิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน” อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ว่า ร่างของรัฐบาลที่ส่งมาเขียนไม่ชัดเจนหรือไม่ได้เขียน เมื่อเข้ามาในสภาก็ดีแล้ว กูจะเขียนให้ชัดแจ่มแจ๋วกว่าเดิมว่า รัฐสามารถ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้ สนช. ผู้เปิดประเด็นนามว่า “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” หัวใจสำคัญในการแก้ไขร่างฉบับนี้จึงไม่ใช่การแก้ไขปรับปรุงมาตราใดมาตราหนึ่ง แต่อยู่ที่จะยินยอมเปิดทางให้อำนาจรัฐ “บล๊อกเว็บไซต์” ได้หรือไม่!!! หรืออาจกล่าวได้อีกทางว่า หลังปฏิวัติ 19 กันยา รัฐบาลทหารใช้อำนาจ “สีเทา ๆ ” ไล่ปิดไล่บล๊อกเว็บอุดตลุด ณ…

  • Thailand’s Political Reform++

    โจทย์ปฏิรูปการเมือง — การเมืองไทยยังไม่บรรลุโจทย์เดิม วันที่ 29 พ.ย. 2549 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 เรื่อง “โจทย์ปฏิรูปการเมือง 2550” มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย, ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ผศ.สิริพรรณ นกสวน, ดำเนินรายการโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์ (ตามกำหนดการเดิม ระบุชื่อ นายพิภพ ธงไชย และนายสุริยะใส กตะศิลา แต่ทั้งสองได้ปฏิเสธที่จะร่วมอย่างกะทันหัน) เพื่อให้ได้อรรถรสจากงานนี้เต็มที่ ประชาไท ขอสรุปประเด็นเพียงสั้นๆ พร้อมทั้งเปิดคลิปเสียงให้ฟังประกอบแบบเต็ม ๆ ดังนั้น การสรุปย่อนี้ จึงเป็นการสรุปประเด็นสั้นๆ ที่เรียงตามลำดับเวลา รศ.ดร.นครินทร์ : ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีองค์กรที่มีบุคลาการจำนวนเกิน 3 สนคนอยู่หลายหน่วยงาน เช่น ตำรวจ…

  • ridiculous 13

    แย่แล้วครับ ! พี่น้อง ! ดูนี่ ๆ (จาก ร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ … (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน … แปลว่า เราจะ.. อัพ/ดาวน์โหลด การ์ตูน หนัง นิยาย ฯลฯ ไม่ได้แล้ว … ก็มันเป็นเรื่องแต่งหมดอ่ะ — เป็นเท็จ! หนังผี เรื่องผี ยิ่งแล้วใหญ่ … ห้าม — ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน! แล้ว แผ่นดินไหว เนี่ย … ทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เปล่าหว่า? girl friday: “มีเพลงรัก (น้ำเน่า) ในครอบครอง ก็มีความผิด เพราะทำให้หวั่นไหว เป็นภัยต่อความมั่นคง!” ไปสัมมนาแล้วเครียด…

  • 20 things on Future+Opensource+Thai

    วีดิโอมาแล้ว กิ้ว~ อนาคต+โอเพนซอร์ส+ไทย 20 อย่างที่พอนึกออก (ดูจบก็รู้สึกว่าตัวเองผมยาวไปแล้ว — ใครดูแล้วช่วยเข้าไป tag หน่อย อยากรู้ว่ามันจะออกมาเป็นยังไง ผมลองแท็กเล่น ๆ จนมันไม่ยอมให้ผมแท็กแล้ว :P) ในวีดิโออาจจะอ่านสไลด์ไม่ออก เอาสไลด์ไปดูประกอบเอง 😛 — PDF หรือ OpenDocument ขอบคุณ อ.สุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง (ผู้บันทึก) กับ คุณ sugree (คนแปลง+อัพ) ครับ ดูวีดิโอของท่านอื่น ๆ + เสวนาตอนท้าย ได้ที่ รายงาน TLUG ที่ Blognone update: 2006.12.03 อ่าน Thailand FOSS Retrospects โดย พี่เทพ ด้วย เพื่อภาพที่ครบถ้วนขึ้น ในนั้นพูดถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่อาจจะไม่เอื้อต่อโอเพนซอร์สในไทย และอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมา tags: TLUG…

Exit mobile version