โจทย์ปฏิรูปการเมือง — การเมืองไทยยังไม่บรรลุโจทย์เดิม
วันที่ 29 พ.ย. 2549 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 เรื่อง “โจทย์ปฏิรูปการเมือง 2550”
มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย, ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ผศ.สิริพรรณ นกสวน, ดำเนินรายการโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์ (ตามกำหนดการเดิม ระบุชื่อ นายพิภพ ธงไชย และนายสุริยะใส กตะศิลา แต่ทั้งสองได้ปฏิเสธที่จะร่วมอย่างกะทันหัน)
เพื่อให้ได้อรรถรสจากงานนี้เต็มที่ ประชาไท ขอสรุปประเด็นเพียงสั้นๆ พร้อมทั้งเปิดคลิปเสียงให้ฟังประกอบแบบเต็ม ๆ ดังนั้น การสรุปย่อนี้ จึงเป็นการสรุปประเด็นสั้นๆ ที่เรียงตามลำดับเวลา
รศ.ดร.นครินทร์ : ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีองค์กรที่มีบุคลาการจำนวนเกิน 3 สนคนอยู่หลายหน่วยงาน เช่น ตำรวจ ข้าราชการครู เกษตร ฯลฯ (แตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่องค์กรหนึ่ง ๆ มีบุคลาการไม่เกินห้าหมื่นคน)
แล้วเราก็ปล่อยให้องค์กรในรัฐ มีขนาดใหญ่ ซับซ้อน รวมศูนย์ เทอะทะ ไม่มีประสิทธิภาพ
เรื่องใหญ่อีกเรื่อง คือ ทัศนคติของคน รัฐธรรมนูญปี 2540 ให้รัฐทำงานเยอะมาก หลาย ๆ กรณี คาดหวังจากรัฐ แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร?
รศ.ดร.สุวินัย : เดิมการเมืองไทยเป็นการเมืองเชิงสถานที่ จากนี้จะเปลี่ยนไปสู่การเมืองเชิงพื้นที่ โดยกล่าวเชื่อมโยงกับเรื่อง ‘ระดับจิต’ ของคนที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่ก็อาจจะอยู่ในพื้นที่ทางการเมืองที่แตกต่างกันได้
การเมืองแห่งการเล่าเรื่อง เป็นวิถีหลักแห่งการสร้างความรู้สึกร่วมและสร้างวาทกรรม มันสร้างขุมพลังที่เรียกว่า “พวกเรา” ที่รวมตัวกันเป็นพันธมิตรได้ก็ด้วยการเล่าเรื่อง หากไม่เชื่อ พลังก็ไม่เกิด
…
มีอีกเยอะแยะเลย ประเด็นน่าสนใจ พร้อมลิงก์ไปยังบทความ/บทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจ