-
Quick notes on Thailand’s new cybercrime law amendment (26 Apr 2016 rev)
Look at Section 14 (1) [online defamation], 14 (2) [“public safety”], 15 para. 3 [burden of proof to the intermediary], 17/1 [Settlement Commission], 18 (7) [investigative power to access encrypted data-at-rest], 20 (4) [Computer Data Screening Committee can block content that is totally legal], and 20 para. 5 [will be used to circumvent data-in-transit encryption].
-
Sunset Provision – กำหนดวันหมดอายุให้กฎหมาย
ว่าด้วยแนวคิด “Sunset” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเขียนกฎหมายอย่างหนึ่ง เพื่อกำหนดให้กฎหมายมีสภาวะ “ชั่วคราว” และหมดอายุลงเมื่อถึงเวลาที่ระบุ และถ้าอยากจะใช้ต่อก็ต้องออกกฎหมายมาต่ออายุ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการทบทวนแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์จากประสบการณ์การบังคับใช้กฎหมายในช่วงที่ผ่านมา ในที่นี้ยกตัวอย่าง USA PATRIOT Act ซึ่งมาตราที่เกี่ยวกับการดักฟัง-ความเป็นส่วนตัว ถูกเขียนให้เป็น sunset provision
-
subject: #GT200 and #sniffer
ต่อจากประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เราก็มีคณิตศาสตร์แบบไทย ๆ : 13/20 = 100% ผมเห็นว่า GT200 (เครื่องตรวจระเบิด, เขาอ้างว่าเป็น) และ sniffer (เครื่องดักฟังข้อมูลบนเครือข่าย) นั้นมีส่วนคล้ายกันในหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่เรื่องพื้น ๆ อย่างการจัดซื้ออุปกรณ์ราคาแพง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเอื้อประโยชน์ตอบแทน ซึ่งเรื่องนี้กระทบรายจ่ายของประเทศ-ของเรา แต่อาจจะไม่ได้กระทบกับชีวิตเราตรง ๆ เรื่องอุปกรณ์ไม่มีประสิทธิภาพตามอ้าง ซึ่งเรื่องนี้อาจจะกระทบชีวิต-ความปลอดภัย-ของเราได้ตรง ๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้ระเบิดเล็ดรอด ไปตูมตามได้ ไปจนถึงการเรื่องที่กระทบชีวิต-สิทธิเสรีภาพ-ของเราอย่างที่เราอาจจะคาดไม่ถึง คือ การใช้อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ เหล่านี้ ในการสร้างความชอบธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการควบคุมหรือตรวจค้นเป้าหมาย (ที่อาจถูกหมายหัวเอาไว้ก่อนหน้าแล้ว) โดยไม่ต้องขอหมายค้นหรือคำสั่งศาล โดยอ้างว่า มีเหตุอันเชื่อได้ว่า เราทำผิดอะไรซักอย่าง ตามแต่เครื่องมือนั่นจะบ่งชี้ … อย่างดีก็แค่รบกวนการดำเนินชีวิต อย่างชั่วก็ยัดข้อหา (โดยมนุษย์หรือโดยอุปกรณ์) อย่างชั่ว ๆ ดี ๆ ก็อาจจะต่อรองกันได้ เป็นช่องทางหากิน ……
-
New German Data Retention Act
เชกูวาราเขียน เยอรมันสอดแนม ที่ BioLawCom.de เป็นเรื่อง กฎหมายใหม่ของเยอรมนี ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเก็บข้อมูลจราจรของผู้ใช้บริการ เป็นเวลา 6 เดือน (คุ้น ๆ เหมือนพ.ร.บ.คอมฯ ของบ้านเรามั๊ยครับ ?) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2007 รัฐสภาเยอรมันผ่านกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่าง ๆ เพื่อควบคุมตรวจสอบการติดต่อสื่อสาร และเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนความผิด มาฉบับหนึ่งครับ ท่ามกลางเสียงประท้วงจากคนเยอรมันนับพันนับหมื่นคน เพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าว มีบทบัญญัติใหม่ ที่กระทบสิทธิพวกเขาอย่างมากบรรจุอยู่ด้วย “Vorratsdatenspeicherung” (Data-Retention) เป็นคำเรียกรวม ๆ ที่หมายถึง การกำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้บริการการโทรคมนาคม ต้องเก็บสำรอง “ข้อมูลจราจรทางการติดต่อสื่อสาร” (Traffic Data) ของประชาชนผู้ใช้บริการทุกคนเอาไว้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนการกระทำความผิด …ก็คือข้อกำหนดเจ้าปัญหาที่ว่า ข่าวจาก European Digital Rights และ Deutsche Welle: German Parliament adopted the data…
-
Jacks the Giant Killer – Prachatai Night
ประชาไทไนท์ ตอน แจ็คผู้ฆ่ายักษ์(เขียวตาเดียว) พฤหัส 2 สิงหา 17:30 @ โรงละครมะขามป้อม BTS สะพานควาย ขอเชิญเหล่า “แจ็ค” ตัวเล็ก ๆ ร่วมปันไอเดียมัน ๆ ในสไตล์ 20×20 จะทำยังไงกับ “เจ้ายักษ์” ดี จะอยู่ร่วมกัน จะสนุกกับมัน จะหลบหลีกมัน จะจัดการมันเสีย หรือจะอะไรยังไงดี ? ในปาร์ตี้สบาย ๆ สไตล์ชาวบ้าน ๆ แสนเอกขเนก คงมีแต่ “ชาวบ้าน” อย่างแจ็คเท่านั้นที่จะช่วยเหล่าชาวบ้านด้วยกันเองได้ … ก็ “ยักษ์” อื่น ๆ ที่ไหนจะมาสนใจ ? [ ลิงก์ ประชาไท ] technorati tags: events, Bangkok, censorship
-
The Fifth Horseman Is Fear
คนป่วยแนะหนัง The Fifth Horseman Is Fear “ความกลัวคือเครื่องมือ” นอกจากภาพ หนังยังเต็มไปด้วยเสียงรบกวนตลอดเวลา ทั้งนาฬิกาปลุก โทรศัพท์ กริ่งประตูบ้าน เสียงเด็กทารก ในหนังเรื่องนี้แทบไม่มีใครได้ทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่สำเร็จเสร็จสิ้น เพราะพวกเขาล้วนถูกรบกวนจากเสียงเหล่านี้ เสียงเตือน เสียงร้องหา เสียงที่เป็นเสมือนอำนาจรัฐจับตาทุกการกระทำของทุกตัวละคร ชื่อหนังขยายความมาจากตอนหนึ่งในพระคัมภีร์ [ไบเบิ้ล] ที่พูดถึง มนุษย์บนหลังม้าสี่คน ที่หมายถึงสี่ประการที่จะทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้ชายลง สิ่งนั้นประกอบด้วย ม้าสีขาวคือ โรคระบาด ม้าสีแดงคือ สงคราม ม้าสีดำคือ สตรี และม้าสีเทาคือ ความตาย และหนังเรื่องนี้ยั่วล้อถึงม้าตัวที่ห้า นั่นคือ – ความกลัว – ความกลัวนี้เองที่ทำให้คนตกเป็นเครื่องมือของอำนาจรัฐ เพื่อนกลายเป็นศัตรู คนที่เคยช่วยเหลือกันกระทั่งศพก็ยังไม่เหลียวมอง และเป็นความกลัวนี้เองที่ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายมนุษย์ และแม้ว่าในเวลาปัจจุบัน นาซีได้ล่มสลายไปยาวนานแล้ว แต่เผด็จการยังคงเกิดใหม่ทุกวัน หนังคือภาพร่างคร่าวของประชาชนที่ตกอยู่ภายใต้ความกลัวอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐใช้เสมอมา ความกลัวถึงสถานะที่ไม่มั่นคง ความกลัวที่จะไม่ได้เลือกตั้ง ความกลัวที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญ ความกลัวคือเครื่องมือเสมอ ฉากสุดท้ายของหนังพาเราย้อนกลับมาที่ป้ายประกาศนั้นอีกครั้ง ตัวหนังสือบนป้ายเขียนว่า เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนหากเห็นสิ่งไม่ชอบมาพากลให้โทรแจ้ง เบอร์ 44811 เพื่อรัฐ…
-
BEHAVE! – Big Brother Is Watching You!
รายงาน จับตา ไอซีที : ออก กม.ลูก บังคับเก็บประวัติคนเล่นเน็ต เลข 13 หลัก เลขบัญชี เลขบัตรเครดิต (ประชาไท) ประกาศกฎกระทรวง เกี่ยวกับข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (เพื่อประกอบใช้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) ข้อ 6 ผู้ให้บริการ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้ (1) ข้อมูลที่สามารถระบุและติดตามถึงแหล่งกำเนิด ต้นทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (2) ข้อมูลที่สามารถระบุปลายทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (3) ข้อมูลที่สามารถระบุพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น วันที่ เวลา ปริมาณการติดต่อ และระยะเวลาของการติดต่อสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ให้บริการเก็บเพียงเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการของตน พี่ใหญ่เค้าอยากจะรู้ทุกอย่าง ดูข่าวเพิ่มเติม ฐาน, blognone, ประชาไท หลักพื้นฐานทั่วไปอันหนึ่ง ที่น่าจะใช้เป็นแนวทางพิจารณาตรวจสอบขอบเขตอำนาจกฏกระทรวงอันนี้ได้ ว่าล้ำเส้นเกินไปหรือไม่ คือ หลักการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ OECD ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (อ้าง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ…
-
Big Brother State
ข้อความจาก คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) แผนการดำเนินงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ที่ควรเร่งผลักดัน คณะอนุกรรมการฯ มีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นลำดับ โดยการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความพระราชบัญญัติฯ แล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. …. รวมถึงการพิจารณายกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน่วยงานธุรการและผู้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการ และการร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. …. จากข้อมูลในหน้าเว็บนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย สำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ…
-
personal is personal
ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา เป็นของเรา เราต้องการ พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. เดินเข้าร้านกาแฟ ต้องลงเวลาเข้าออก เดินเข้าโรงหนัง บันทึกว่าดูเรื่องอะไร เดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ขอดูบัตรประชาชน จะเก็บนั่นเก็บนี่ ตรวจตราสอดส่อง(แส่)ไปทุกเรื่อง – แล้วคุ้มครองป้องกันอะไรให้เราไหม ? มีหลักประกันอะไรให้เราไหม ? ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เป็นของคุณ technorati tags: privacy